เกษตรกรปลื้ม หลังใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ของกรมประมงทำให้สัตว์น้ำแข็งแรง อัตราการรอดสูง ลดต้นทุนการผลิตได้ดี

กรมประมงพัฒนาและส่งเสริมการใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในการแก้ปัญหาด้านคุณภาพน้ำและการจัดการด้านโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังได้สร้างทักษะและส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตร กิจกรรมขยายฐานการผลิตจุลินทรีย์แก่กลุ่มเกษตรกร ภายใต้โครงการไทยนิยมยั่งยืน ตามนโยบายพัฒนาประเทศ เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพผลผลิตให้มีความปลอดภัย ได้มาตรฐาน และเพิ่มศักยภาพการเลี้ยงให้กับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งทะเลในวงกว้าง

%E0%B8%AD%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B5
นายประพันธ์ ลีปายะคุณ รองอธิบดีกรมประมง

นายประพันธ์ ลีปายะคุณ รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่ากรมประมงได้มีการพัฒนาและส่งเสริมให้เกษตรกรใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ตั้งแต่ปี 2551 โดยได้ผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ ปม.1 สูตรแรกขึ้นมา เป็นการเร่งด่วน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงที่ต้องประสบปัญหาการแพร่ระบาดของโรคตายด่วน (EMS) และใช้แก้ไขปัญหาด้านคุณภาพน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเชื้อก่อโรคยังคงทวีความรุนแรงมากขึ้น การใช้จุลินทรีย์ ปม.1 เพียงอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอที่จะลดปัญหาการก่อโรค กรมประมงจึงได้มีการพัฒนาหัวเชื้อจุลินทรีย์ ปม.2 ในปี 2564 โดยมีคุณสมบัติเป็นโพรไบโอติก (probiotic) ช่วยควบคุมแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร และผลิตเอนไซม์ช่วยในการย่อยอาหาร ทำให้กุ้งดูดซึมสารอาหารได้ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้กุ้งมีความแข็งแรง และเจริญเติบโตได้ดี ลดปัญหาโรคตายด่วนจากเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7
หัวเชื้อจุลินทรีย์

ปัจจุบันกรมประมง ยังคงส่งเสริมให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ของกรมประมงทั้ง ปม.1 และ ปม.2 อย่างต่อเนื่อง ซึ่งตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา กรมประมงยังได้ดำเนินโครงการสร้างทักษะและส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตร กิจกรรมขยายฐานการผลิตจุลินทรีย์ โดยได้จัดตั้งหน่วยผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ของกลุ่มเกษตรกรที่มีความพร้อม จำนวน 20 หน่วย ปัจจุบันมีกลุ่มที่ยังดำเนินการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ จำนวน 18 หน่วย ครอบคลุมพื้นที่ 17 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตราด จันทบุรี ระยอง นครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ระนอง ภูเก็ต ตรัง พังงา กระบี่ นครศรีธรรมราช พัทลุง และปัตตานี และในปี 2566 เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งหน่วยผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ของกลุ่มเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ คือชมรมผู้เลี้ยงกุ้งฉะเชิงเทราที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากผู้ว่าราชการจังหวัด ในการจัดตั้งศูนย์ผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ และมีหน่วยงานของกรมประมงในพื้นที่ติดตามกำกับดูแลและให้การสนับสนุนด้านวิชาการ มีเป้าหมายมุ่งเน้นให้เกษตรกรเกิดการรวมกลุ่มและสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยในปีงบประมาณ 2566 กรมประมงตั้งเป้าหมายผลิตจุลินทรีย์ ปม.2 จำนวน 100,000 ซอง/ขวด เพื่อนำไปแจกจ่ายให้เกษตรกรได้นำไปใช้ในการจัดการระบบการเลี้ยงสัตว์น้ำต่อไป

993847 0 1
%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B8%B5 1
%E0%B8%9A%E0%B8%B5 3
%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%87 1
กุ้ง
%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B5

ด้านคุณชาลี จิตประสงค์ ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งฉะเชิงเทรา เจ้าของกิจการสาริกาฟาร์ม จังหวัดฉะเชิงเทรา ผู้มีประสบการณ์ในการเพาะเลี้ยงกุ้ง มากว่า 30 ปี กล่าวว่า…ย้อนกลับไป เมื่อประมาณ 2 – 3 ปี ที่แล้ว สาริกาฟาร์มเป็นหนึ่งในฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรค โดยเฉพาะโรคขี้ขาว ทางฟาร์มได้พยายามใช้ยาต่าง ๆ เข้ามาช่วยแต่ก็ยังไม่เห็นผล ทำให้ยังคงประสบปัญหากุ้งตายและปัญหาขาดทุน จนกระทั่งกรมประมงได้ลงพื้นที่เพื่อแนะนำและทดลองให้ใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ของกรมประมง โดยช่วงแรกได้ใช้สูตร ปม.1 ซึ่งจากการทดลองใช้พบว่าช่วยเพิ่มอัตราการรอดของกุ้งได้ และต่อมาไม่นานเมื่อกรมประมงได้มีการพัฒนาหัวเชื้อจุลินทรีย์ ปม.2 และแนะนำการใช้จุลินทรีย์ โดยฟาร์มได้ทดลองใช้สูตรใหม่นี้ ผลปรากฏว่า กุ้งมีความแข็งแรงมากขึ้น ทนต่อความเครียดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศได้ดี ที่สำคัญพบสารอินทรีย์ตกค้าง ในพื้นบ่อที่เพาะเลี้ยงน้อยลง ทำให้คุณภาพน้ำดีมากขึ้น ปัจจุบันทางฟาร์มได้มีการจัดตั้งศูนย์ผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ขึ้นมาภายใต้การดำเนินการในรูปแบบของวิสาหกิจชุมชนฉะเชิงเทรา เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ได้สามารถนำไปปรับใช้กับฟาร์มของตนเองได้อย่างเหมาะสม โดยมีเจ้าหน้าที่จากกรมประมงให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด

%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C

ทางด้านคุณอภิรักษ์ ช้างทรัพย์ รองประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า…ทางฟาร์มมีพื้นที่กว่า 1,000 ไร่ และได้ใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ของกรมประมงในการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมมาตลอดตั้งแต่ปี 2561 เนื่องจากประสบปัญหาในเรื่องของโรค สภาพอากาศที่แปรปรวน คุณภาพอาหาร คุณภาพน้ำ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้กุ้งตายง่าย ทางฟาร์มจึงได้หันมาให้ความสนใจกับการจัดระบบการเลี้ยงมากยิ่งขึ้น โดยได้มีการใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ของกรมประมง ทั้ง ปม.1 และ ปม.2 มาใช้อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งจากการสอบถามสมาชิกในชมรมผู้เลี้ยงกุ้งสุราษฎร์ธานีต่างตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า หัวเชื้อจุลินทรีย์ของกรมประมงนั้น ช่วยทำให้กุ้งแข็งแรงมากขึ้น สามารถบรรเทาความเดือดร้อนและลดต้นทุน การผลิตให้แก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งทะเลได้เป็นอย่างดี

%E0%B8%88%E0%B8%9A
%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%88%E0%B8%B8
%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%A5 1

คุณวิมลมาศ เปี่ยมสมบูรณ์ เจ้าของวิมลมาศฟาร์มและประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งคุณภาพจังหวัดราชบุรี กล่าวว่าในอดีตทางฟาร์มประสบปัญหาในเรื่องของการที่พื้นบ่อไม่สะอาดอยู่บ่อยครั้งทั้งจากปัญหาเศษอาหารตกค้างและทำให้กุ้งเกิดโรค ผลผลิตลดน้อยลง จึงได้ปรึกษากับทางกรมประมงและได้ทดลองใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ ของกรมประมง ในทุกกระบวนการเลี้ยงอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งหลังจากการทดลองใช้ พบว่าพื้นบ่อมีความสะอาดขึ้น กุ้งแข็งแรง ส่งผลให้มีผลผลิตเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมให้สมาชิกในชมรมทดลองใช้ พบว่าเกษตรกรมีความพึงพอใจ เพราะหัวเชื้อจุลินทรีย์ของกรมประมงสามารถทำให้ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตได้ดี ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ชีวิตความเป็นอยู่ดีมากขึ้นตามลำดับ

%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3
%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C


ในปัจจุบันเกษตรกรสนใจการใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ของกรมประมงเป็นจำนวนมาก เนื่องจากหลังใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ของกรมประมง ทำให้สัตว์น้ำแข็งแรง อัตราการรอดสูง ลดต้นทุนการผลิตได้ดี ซึ่งเกษตรกรสามารถใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ผลิตโดยกรมประมง และที่ผลิตโดยหน่วยผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ของกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โดยเกษตรกรและผู้ที่สนใจหัวเชื้อจุลินทรีย์ของกรมประมง สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กรมประมง โทรศัพท์ 0 2561 3997  หรือสำนักงานประมงจังหวัดทุกแห่งทั่วประเทศ รองอธิบดีกรมประมง กล่าวทิ้งท้าย