นายสมพร ศรีเมือง ผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) กล่าวว่า เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลในฟาร์มโคนมและเตรียมพร้อมเป็นศูนย์กลางในการอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรที่สนใจการเลี้ยงโคนมแบบเกษตรกรแม่นยำต่อไป เมื่อเร็วๆ นี้ อ.ส.ค.ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ในโครงการความร่วมมือในการพัฒนาการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการฟาร์มโคร่วมกับบริษัท โอริออน แมชชีนเนอรี่ เอเซีย จำกัด ประเทศญี่ปุ่น บริษัท ซินเทลลิเจนท์ จำกัด บริษัท เอ็น พี อกริเทค (ประเทศไทย) จำกัด ปศุสัตว์อำเภอมวกเหล็ก ผู้แทนปศุสัตว์จังหวัดสระบุรี ตัวแทนสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมกลุ่มต้นแบบ ณ ศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงโคนม อ.ส.ค.
สำหรับการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลในฟาร์มโคนม ซึ่งเป็นโครงการที่ อ.ส.ค. ได้ร่วมมือกับบริษัท โอริออน แมชชีนเนอรี่ เอเซีย จำกัด ประเทศญี่ปุ่น ผู้นำเทคโนโลยีการจัดการฟาร์มโคนม และบริษัท ซินเทลลิเจนท์ จำกัด ผู้นำการใช้แอปพลิเคชัน “เซียนวัว” ในประเทศไทย เพื่อจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) ด้านการปศุสัตว์ โดยมีระยะเวลาความร่วมมือตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป และทาง อ.ส.ค. ได้จัดตั้งฟาร์มสาธิต 2 แห่ง ได้แก่ ฟาร์มต้นแบบภายในพื้นที่ของ อ.ส.ค. และฟาร์มเกษตรกรที่สังกัดสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมกลุ่มต้นแบบ
ด้านนายพีระ ไชยรุตม์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) กล่าวว่า การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลในฟาร์มโคนมเป็นโครงการที่ อ.ส.ค. ได้ร่วมมือกับบริษัท โอริออน แมชชีนเนอรี่ เอเซีย จำกัด ประเทศญี่ปุ่น ผู้นำเทคโนโลยีการจัดการฟาร์มโคนมและบริษัท ซิลเทลลิเจนท์ จำกัด ผู้นำการใช้แอปพลิเคชัน “เซียนวัว”ในประเทศไทยเพื่อจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ ( Big Data ) ด้านการปศุสัตว์โดยมีระยะเวลาความร่วมมือตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป และทาง อ.ส.ค. ได้จัดตั้งฟาร์มสาธิต 2 แห่ง ได้แก่ฟาร์มต้นแบบภายในพื้นที่ของ อ.ส.ค. และฟาร์มเกษตรกรที่สังกัดสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมกลุ่มต้นแบบ
ทั้งนี้ในการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ Naoya Sakagushi กรรมการผู้จัดการ บริษัทโอริออน แมชชีนเนอรี่ เอเซีย จำกัด และ ผศ.น.สพ.ดร.มนกานต์ อินทรกำแหง คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้เป็นวิทยากรถ่ายทอดเทคโนโลยีการบริหารจัดการฟาร์มโคนม โดยสาธิตอุปกรณ์ตรวจวัดพฤติกรรมและความพร้อมในการผสมพันธุ์โค ร่วมกับการใช้งานแอปพลิเคชัน “เซียนวัว” โดยคาดหวังว่าการพัฒนาด้านเกษตรแม่นยำจะทำให้ลดจำนวนวันท้องว่างในฝูงโคนม เพิ่มประสิทธิภาพฟาร์ม รวมทั้งทำให้มีการจัดการสุขภาพที่ดีขึ้น ซึ่งทาง อ.ส.ค. โอริออน และ “เซียนวัว”เตรียมพร้อมเป็นศูนย์กลางในการอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรที่สนใจการเลี้ยงโคนมแบบเกษตรกรแม่นยำต่อไป