พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญประจำปี พ.ศ.2565 ในวันนี้ (13 พฤษภาคม 2565) เวลา 08.00น. นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้นำคณะเข้าร่วมพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญประจำปี พ.ศ. 2565 พร้อมด้วย น.สพ.โสภัชย์ ชวาลกุลน.สพ.ชัยวัฒน์ โยธคลรองอธิบดีกรมปศุสัตว์ น.สพส.ณรงค์ เลี้ยงเจริญ ผอ.สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ และเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์เข้าร่วมในพิธีในครั้งนี้
ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้กรมปศุสัตว์เป็นหน่วยงานดำเนินการคัดเลือกโคเพื่อใช้ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ โดยศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพราชบุรี สังกัดสำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์
กรมปศุสัตว์จะดำเนินการคัดเลือกโคเพื่อเป็นพระโคตามหลักเกณฑ์ กล่าวคือ จะต้องเป็นโคที่มีลักษณะดี รูปร่างสมบูรณ์ มีความสูงไม่น้อยกว่า 150 เซนติเมตร ความยาวลำตัวไม่น้อยกว่า 120เซนติเมตร ความสมบูรณ์รอบอกไม่น้อยกว่า 180เซนติเมตร โคทั้งคู่จะต้องมีสีเดียวกัน ผิวสวย ขนเป็นมัน กิริยามารยาทเรียบร้อย ฝึกง่าย สอนง่ายไม่ดุร้าย เขาลักษณะโค้งสวยงามเท่ากัน ตาแจ่มใส หูไม่มีตำหนิ หางยาวสวยงามดี มีขวัญหน้า ขวัญทัดดอกไม้ซ้ายขวา และขวัญหลังถูกต้อง มีขาและกีบข้อเท้าแข็งแรง มองดูด้านข้างลำตัวจะเป็นสี่เหลี่ยมในปี 2565 กรมปศุสัตว์ ได้ทำการคัดเลือกพระโคเพื่อใช้ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จำนวน 2 คู่ คือพระโคแรกนาขวัญ 1 คู่ ได้แก่ พระโคพอ พระโคเพียงพระโคสำรอง1 คู่ ได้แก่ พระโคเพิ่ม พระโคพูล
เมื่อเวลา 09.30 น. สำหรับผลการพยากรณ์ถึงความสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารของประเทศ นายสมชวน รัตนมังคลานนท์รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่ถวายรายงานการพยากรณ์ ผลการเสี่ยงทายผ้านุ่งแต่งกายและพระโคกินเลี้ยงในปี พ.ศ.2565 นี้
“พระยาแรกนาได้ตั้งสัตยาธิษฐาน หยิบได้ผ้านุ่ง 4 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำจะมากสักหน่อย นาในที่ดอนจะได้ผลบริบูรณ์ดี นาในที่ลุ่มอาจจะเสียหายบ้าง ได้ผลไม่เต็มที่“
“ผลการเสี่ยงทายของกิน 7 สิ่ง ที่ตั้งเลี้ยงพระโคพระโคกินน้ำ หญ้า ถั่ว และเหล้า ซึ่งผลเสี่ยงทายกล่าวว่าพระโคกินน้ำหรือหญ้า พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหารจะอุดมสมบูรณ์ดี พระโคกินถั่ว พยากรณ์ว่า ผลาหาร ภักษาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี และพระโคกินเหล้าพยากรณ์ว่า การคมนาคมสะดวกขึ้น การค้าขายกับต่างประเทศดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง”
ทั้งนี้จุดมุ่งหมายของพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่พืชผลและบำรุงขวัญเกษตรกรให้มีใจมั่นในการเพาะปลูก และคณะรัฐมนตรีได้กำหนดให้นับเป็น “วันเกษตรกร” ประจำปีด้วย เพื่อให้เกษตรกรได้ระลึกถึงความสำคัญของอาชีพการเกษตรเป็นสิริมงคลแก่อาชีพของตนเอง รวมทั้งก่อให้เกิดประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศชาติ ต่อไป