สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติหารืออธิบดีกรมปศุสัตว์คนใหม่ รับทราบแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมสุกรไทย ปี 2566

ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา หลังการประกาศพบการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร(ASF)ในเมืองไทยโดยกรมปศุสัตว์ ทำให้ผู้เลี้ยงสุกรทั้งระบบต่างให้ความสำคัญกับการปรับปรุงระบบความปลอดภัยทางชีวภาพของฟาร์ม จนทำให้ปัจจุบันปัญหาการระบาดของ ASF เริ่มที่จะเบาบางลง 

สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ในฐานะตัวแทนของผู้เลี้ยงสุกรทั้งประเทศ เข้าหารือ นายสัตวแพทย์ สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์เพื่อเป็นแนวทางที่จะร่วมกันทำงานในปี 2566 ใน 5 ประเด็นสำคัญคือ 

1.ปัญหาการลักลอบนำเข้าเนื้อสุกรจากต่างประเทศ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรมปศุสัตว์ เป็นจำนวนมากเป็นอุปสรรคต่อการบริหารจัดการอุปทานผลผลิตสุกร ซึ่งกระทบกับอาชีพการเลี้ยงสุกรในปัจจุบัน และทำให้เกษตรกรขาดความเชื่อมั่นในการกลับเข้ามาเลี้ยงใหม่ หลังได้รับความเสียหายจากโรคระบาด

2.หลังการระบาดของ ASF สมาคมฯ มีความกังวลประเด็น ปริมาณผลผลิตสุกรอาจจะไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคในอนาคต   ถึงแม้ว่าในปี 2565 กรมปศุสัตว์ได้ทำการประเมินปริมาณผลผลิตสุกรยังอยู่ในระดับที่เพียงพอต่อการบริโภคในประเทศก็ตาม 

3.การจัดตั้งกองทุนพัฒนาอุตสาหกรรมสุกรไทย ที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ มีความเกี่ยวโยงกับระเบียบที่ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย โดยในระหว่างดำเนินการนั้น สมาคมฯ ได้มีมติเห็นชอบการจัดตั้งกองทุนคู่ขนานกันไป โดยผู้เลี้ยงสุกร และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง 

4.ปัญหาการเป็นพื้นที่ระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) ที่ยังคงเป็นอุปสรรค ทั้งในด้านการค้าระหว่างประเทศ และการจัดการด้านสุขภาพ เป็นอีกหนึ่งข้อกังวลของสินค้าสุกรในการขยายตลาดต่างประเทศ 

5.ผู้ประกอบการค้าสุกรมีชีวิต (โบรกเกอร์) เป็นคู่ค้าที่ต้องติดต่อค้าขาย เป็นห่วงโซ่ที่สำคัญในด้านการจัดการอุปทานสุกร และเนื้อสุกรในอุตสาหกรรม เพื่อเป็นการสานประโยชน์ให้เกิดความเป็นธรรม

ทั้งนี้อธิบดีกรมปศุสัตว์ได้ให้ความมั่นใจกับสมาคมผู้เลี้ยงสุกรในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสุกรอย่างเต็มกำลัง

97D1FEE2 2B15 4A79 A595 533ABFDE5E92

994A86D4 6B60 4435 81AF 81A04F7CC45C