อธิบดีกรมปศุสัตว์น้อมเกล้าฯถวาย พันธุ์สัตว์เนื่องในโอกาสสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯเสด็จพระราชดำเนินโครงการทหารพันธุ์ดี โรงเรียนทหารการสัตว์กรมการสัตว์ทหารบกจังหวัดนครนายก
วันที่ 3 กันยายน 2565 เวลา 15.00 น. กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินทรงติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน โครงการฝทหารพันธุ์ดี และโครงการเกษตรรวมใจอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พื้นที่ โรงเรียนทหารการสัตว์ กรมการสัตว์ทหารบก จังหวัดนครนายก
โดยนายสัตวแพทย์ สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ทูลเกล้าถวายรายงานผลการร่วมปฏิบัติงานโครงการเกษตรรวมใจ อันเนื่องมาจากพระราชดำริในปีงบประมาณ 2565 พร้อมด้วยนายบุญศักดิ์เกลียวกมลทัต (ที่ปรึกษาการดำเนินโครงการทหารพันธุ์ดีและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ) นายสุนทร รัตนจำรูญ ปศุสัตว์จังหวัดนครนายก,ผอ.กพก,และเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ร่วมเฝ้ารับเสด็จ
อธิบดีกรมปศุสัตว์ทูลเกล้าฯ ถวายรายงานผลการร่วมปฏิบัติงานโครงการเกษตรรวมใจ อันเนื่องมาจากพระราชดำริในปีงบประมาณ2565 แด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ โดยกรมปศสัตว์ได้สนับสนุนการดำเนินงานโครงการเกษตรรวมใจ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดังนี้
1. ไก่งวงพันธุ์อเมริกันบรอนช์ American Bronzeชื่อวิทยาศาสตร์ Meleagris gallopavo พันธุ์อเมริกันบรอนช์ (American Bornze)ลักษณะประจำพันธุ์จัดเป็นไก่งวงพันธุ์หนัก ขนสีบรอนซ์ปนน้ำตาล ดำ ปลายขนสีขาวเล็กน้อย แข้งและนิ้วเท้าสีเทาอ่อนปนชมพูอ่อน ตาสีน้ำตาล จะงอยปากสีเทาอ่อน มีนิสัยการฟักไข่และเลี้ยงลูก สามารถหาอาหารกินเองได้ตามธรรมชาติ เช่นเศษอาหาร หญ้าสด ปริมาณการไข่ ให้ผลผลิตไข่ประมาณ 70ฟอง/ตัว/ปี น้ำหนักมาตรฐานเพศผู้15 กิโลกรัมเพศเมีย7กิโลกรัม พันธุ์อเมริกันบรอนซ์ผลผลิตไข่70ฟอง/ปี น้ำหนักเมื่ออายุ 5 เดือนเพศผู้ประมาณ11 กิโลกรัมเพศเมียประมาณ 7 กิโลกรัมน้ำหนักเมื่อโตเต็มที่เพศผู้ ประมาณ 15 กิโลกรัม เพศเมียประมาณ 9 กิโลกรัม
2. ไก่งวง พันธุ์เบลท์สวิลล์ สมอลไวท์ Beltsvill Small White ชื่อวิทยาศาสตร์ Meleagris gallopavoพันธุ์เบลท์สวิลล์ สมอลไวท์ (Beltsvill Small White) ลักษณะประจำพันธุ์ พันธุ์เบลท์สวิลล์ สมอลไวท์ (Beltsvil Smal! White) มีขนาดลำตัวปานกลาง และขนาดเล็กขนสีขาว หนังสีขาว แข้งและนิ้วเท้าสีชมพูซีด ตาสีน้ำตาล จงอยปากสีเทา ปริมาณการไข่ ให้ผลผลิตไข่ประมาณ 80 ฟอง/ตัว/ปี น้ำหนักมาตรฐาน ไก่งวง เพศผู้ น้ำหนักประมาณ 7.7 กิโลกรัม ไก่งวง เพศเมีย น้ำหนักประมาณ 5 กิโลกรัมเพศผู้หนุ่ม น้ำหนักประมาณ 6.7 กิโลกรัม เพศเมียสาว น้ำหนัก ประมาณ 4 กิโลกรัม ข้อสังเกต ตัวผู้ จะมีขนคล้ายผมสีดำ แข็ง ติดอยู่ตรงบริเวณหน้าอกและตัวเมีย ก็มีโอกาสพบขนสีดำ ลักษณะทางเศรษฐกิจพันธุ์เบลท์สวิลล์ สมอลไวท์ ผลผลิตไข่ 80 ฟอง/ปี น้ำหนักเมื่ออายุ 5 เดือน เพศผู้ประมาณ 6.7 กิโลกรัมเพศเมียประมาณ 4 กิโลกรัม น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่เพศผู้ ประมาณ 7.7 กิโลกรัม เพศเมีย ประมาณ 5 กิโลกรัม
3. เป็ดเทศกบินทร์บุรี Kabinburi Muscovyเป็ดเทศกบินทร์บุรี (Kabinburi Muscovy) ชื่อวิทยาศาสตร์Cairina moschata เป็นเป็ดเทศที่กรมปศุสัตว์ได้ปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์มาจากเป็ดเทศพันธุ์บาร์บสรี(Barbary)ได้รับการสนับสนุนพันธุ์จากภาคเอกชนเมื่อปี 2534 จำนวน 80 ตัว ซึ่งนำเข้ามาจากประเทศฝรั่งเศส โดยสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์บางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ดำเนินการขยายพันธุ์ กัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ เพศผู้ จะมีขนาดใหญ่กว่าเพศเมียดวงตากลมสีลายฟ้าดำ ปากสีชมพูอ่อน มีผิวขรุขระเด่นชัดเต็มใบหน้า แข้งและเท้าสีเหลือง หัวมีจุดดำเพศเมีย มีลักษณะเหมือนเพศผู้ แต่ใบหน้าจะมีผิวขรุขระบ้างเล็กน้อย ลักษณะทางเศรษฐกิจ น้ำหนักแรกเกิด 52-54 กรัม เมื่อไข่ฟองแรก 6-7 เดือน น้ำหนักเมื่อไข่ฟองแรก 2.4-2.6 กรัม น้ำหนักไข่ฟองแรก 58 -60 กรัม ผลผลิตไข้ปีละ160-180 ฟอง น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ (12 เดือน) เพศผู้หนัก 4.5 – 5.1 กิโลกรัม เพศเมียหนัก 2.8-3.2 กิโลกรัม สามารถเลี้ยงขุนโดยใช้เวลา10 -12 สัปดาห์
นอกจากนี้อธิบดีกรมปศุสัตว์น้อมเกล้าฯถวายไก่งวง จำนวน 24 ตัว 1.ไก่งวงพันธุ์ อเมริกันบรอนซ์ พ่อพันธุ์ จำนวน 2 ตัว แม่พันธ์ุ จำนวน10 ตัว 2. พันธุ์เบลท์สวิลล์ สมอลไวท์ พ่อพันธ์ุ จำนวน 2 ตัวแม่พันธ์ุจำนวน 10 ตัว 3. เป็ดเทศกบินทร์บุรี พ่อพันธุ์ จำนวน 2 ตัว แม่พันธุ์ จำนวน 10 ตัว พร้อมด้วยเวชภัณฑ์จำนวน 2 ชุดเนื่องในโอกาสสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินโครงการทหารพันธุ์ดี โรงเรียนทหารการสัตว์กรมการสัตว์ทหารบก จังหวัดนครนายก
อธิบดีกรมปศุสัตว์ ทูลเกล้าฯเพิ่มเติมว่า กรมปศุสัตว์จะดำเนินงานด้านการปศุสัตว์ภายใต้โครงการพระราชดำริ เป็นการน้อมนำศาสตร์พระราชาไปสู่การปฏิบัติและประยุกต์ให้สอดคล้องเหมาะสมกับชุมชนและพื้นที่ ช่วยให้เกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์มากขึ้นบนพื้นฐานทรัพยากรของท้องถิ่นนั้น ๆกรมปศุสัตว์จะมุ่งสร้างอาชีพ สร้างความมั่นคงทางอาหาร ทำให้ชุมชนยั่งยืน กรมปศุสัตว์จะพัฒนางานด้านปศุสัตว์ให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรยิ่งขึ้นและภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสนองพระราชดำริต่อไป