“ปศุสัตว์”คว้ารางวัลผลงานการรักษาโรคลัมปีสกินด้วยการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน

ปศุสัตว์ปลุกไฟวงการวิจัยกรม คว้ารางวัล BRONZE AWARD งาน Thailand Research Expo 2022 ด้วยผลงานการรักษาโรคลัมปี สกิน ด้วยการกระตุ้นภูมิคุ้มกันระบบแลคโตเพอร์ออกซิเดส

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า กรมปศุสัตว์มุ่งพัฒนานวัตกรรมและงานวิจัยเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ต่อยอดในด้านช่วยเหลือเกษตรกรมาโดยตลอด ล่าสุดวันที่ 5 สิงหาคม 2565 ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 (Thailand Research Expo 2022) ซึ่งจัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มอบรางวัล Thailand Research Expo 2022 Award 

F4D50446 7AA4 4C5F 97C3 F8272653E7F2

กรมปศุสัตว์ได้นำเสนอผลงานและได้รับรางวัล Bronze Award ในผลงาน“การรักษาโรคลัมปีสกินด้วยการกระตุ้นภูมิคุ้มกันระบบ แลคโตเพอร์ออกซิเดส” ซึ่งถือเป็นข่าวดีทั้งแก่วงการวิจัยกรมปศุสัตว์และพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบือ จะได้นำไปขยายผลในการควบคุม ป้องกันและรักษาโรคลัมปี สกินต่อไป

46FF3E26 CDB3 416A 82EC C0DE138BC330

งานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ (Thailand Research Expo 2022) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-5 สิงหาคม 2565 ณ เวที Highlight Stage ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ราชประสงค์ กรุงเทพฯ กรมปศุสัตว์ ได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัย โดยร่วมจัดแสดงผลงานวิจัยในกลุ่มเรื่อง งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อใช้ประโยชน์เชิงการพัฒนาพื้นที่ จำนวน 6 ผลงาน และได้ส่งผลงานเข้าประกวด จำนวน 2 ผลงาน ประกอบด้วย ผลงานที่ 1 การรักษาโรคลัมปี สกิน ด้วยการกระตุ้นภูมิคุ้มกันระบบแลคโตเพอร์ออกซิเดส โดย นายสัตวแพทย์วงศ์อนันต์ ณรงค์วาณิชการ และผลงานที่ 2 การผลิตวัคซีนต้นแบบสำหรับป้องกันโรคลัมปี สกิน โดย สพ.ญ.สาริศา เวียงชนก ซึ่งในปีนี้ วช. ได้พิจารณาคัดเลือกผลงานที่มีกระบวนการนำเสนอที่มีความโดดเด่นในรูปแบบที่หลากหลายและสามารถเชื่อมโยงส่งต่องานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ต่อไปได้ 

โดยคัดเลือกให้กรมปศุสัตว์ได้รับรางวัล Bronze award ในผลงาน “การรักษาโรคลัมปี สกิน ด้วยการกระตุ้นภูมิคุ้มกันระบบแลคโตเพอร์ออกซิเดส” เป็นประโยชน์อย่างมากแก่พี่น้องเกษตรกรเลี้ยงโค-กระบือ แก้ปัญหาการป่วยจากโรคลัมปี สกิน โดยสารกระตุ้นภูมินี้มีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อโรคที่อยู่ในสารคัดหลั่ง เช่น น้ำนม น้ำลาย น้ำตา เยื่อเมือกต่างๆ ในร่างกาย สามารถนำไปใช้ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันรักษาโรคปากและเท้าเปื่อย โรคเต้านมอักเสบ และโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ลดความรุนแรง ลดการอักเสบ และลดความสูญเสียจากผลกระทบของโรคได้เป็นอย่างมาก

43BA01A8 6381 43B1 8F49 D0C944E191DA

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่าต้องขอแสดงความยินดีแก่ผลงานที่ได้รับรางวัล และขอให้นักวิจัยกรมปศุสัตว์ร่วมกันเผยแพร่องค์ความรู้และส่งต่อผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณภาพ เพื่อขยายผลสู่การใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาประเทศไทยในมิติต่างๆ เชื่อมั่นว่าพลังแห่งการขับเคลื่อนผลงานวิจัยด้วยกลไกการเผยแพร่และขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากการวิจัย มีส่วนผลักดันให้เกิดการขยายผลองค์ความรู้ต่อยอดงานวิจัย เพื่อการพัฒนาวงการปศุสัตว์ เศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนต่อไปได้ในอนาคต 

43F2F2D0 4B10 45FA A2B6 7A3C0BB8C703

ทั้งนี้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมค้นหาได้ที่ www.dld.go.th หรือสายด่วนกรมปศุสัตว์ 063-225 -6888 หรือ application DLD 4.0 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง