‘รมช.อิทธิ’ หนุนกรมปศุสัตว์ใช้พื้นที่ 5,500 ไร่ เพาะปลูกอาหารสัตว์ต้นทุนต่ำ คุณภาพสูงเพื่อเกษตรกรรายย่อย เพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต สร้างความมั่นคงและยั่งยืนทางอาหารสัตว์

93387

นายอิทธิ ศิริลัทยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงาน kick off โครงการผลิตอาหารหยาบคุณภาพสูง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์รายย่อย โดยมี นายภูผา ลิกค์ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายวุฒิพงศ์ เนียมหอม ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ ผู้บริหารสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายปรัชญา เปปะตัง รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เข้าร่วม ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาโคเนื้อ อำเภอลำสนธิ จ.ลพบุรี ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมปศุสัตว์ มุ่งดำเนินโครงการผลิตอาหารหยาบคุณภาพสูง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์รายย่อย ตามนโยบายตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ ของรัฐบาล โดยบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน สนับสนุนการผลิตพืชอาหารสัตว์ (ข้าวโพด) คุณภาพสูง ผ่านการใช้นวัตกรรมการเพาะปลูกและแปรรูปด้วยวิธีการหมักบนพื้นที่ของศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์ จำนวน 11 แห่ง เนื้อที่ขนาด 5,500 ไร่ เพื่อเป็นต้นแบบการผลิตและจำหน่ายให้แก่เกษตรกรรายย่อยในราคาย่อมเยา ซึ่งอาหารสัตว์ดังกล่าว จะช่วยให้ผลผลิตจากสัตว์มีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงเป็นการจัดการแปลงพืชอาหารสัตว์สู่ความมั่นคงด้านอาหารสัตว์และอาชีพปศุสัตว์อย่างยั่งยืน 

    

93393

สำหรับกิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย 1) การมอบเสบียงอาหารสัตว์ 2) การมอบโฉนดเพื่อการเกษตรให้กับเกษตรกร จำนวน 50 ราย 3) การจัดนิทรรศการเพิ่มผลผลิตข้าวโพดอย่างมีคุณภาพและปลอดภัย 4) การจัดเตรียมพืชอาหารสัตว์แบบครบวงจร 5) การสาธิตการเก็บสำรองเสบียงสัตว์ด้วยเครื่องม้วนก้อนหญ้าด้วยพลาสติก 6) ถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิชาการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้านการผลิตอาหารหยาบคุณภาพสูงให้แก่เกษตรกร เพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และ 7) การเปิดระบบน้ำอัจฉริยะเพื่อการจัดการแปลงพืชอาหารสัตว์สู่ความมั่นคงด้านอาหารสัตว์ และการผลิต Corn Silage ด้วยเครื่องอัดก้อนพืชอาหารสัตว์พร้อมห่อพลาสติก

    

93396

กระทรวงเกษตรฯ จึงขอเชิญชวนเกษตรกรที่สนใจโครงการผลิตอาหารหยาบคุณภาพสูงเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์รายย่อย สามารถติดต่อรับบริการได้ที่ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ ในพื้นที่ จำนวน 11 ศูนย์ ที่มีโครงการหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2501-3142 ต่อ 111-112

93405
93411
93414
93426