อธิบดีกรมปศุสัตว์ ลุยพื้นที่เมืองหอยหลอด ยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์ในพื้นที่
นายสัตวแพทย์ สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานตรวจติดตามงานด้านปศุสัตว์ในพื้นที่เขต 7 โดยมีนาย ผดุงศักดิ์ แดงด้อมยุทธ์ รักษาการปศุสัตว์จังหวัดสมุทรสงคราม ,น.ส.เยาวนิตย์ บุรีรักษา เลขานุการกรม,นางเย็นจิต ทองยงค์ ผอ.กองคลัง,ผู้แทน กกจ.,และเจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์ จังหวัดสมุทรสงคราม เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้
ด้านอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า การลงพื้นตรวจติดตามงานด้านปศุสัตว์ในครั้งนี้เพื่อขับเคลื่อนงานตามนโยบายของกรมปศุสัตว์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 เพื่อให้เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ดำเนินงานด้านปศุสัตว์ให้เป็นไปตามแผนงานและนโยบายของกรม ที่ตั้งไว้ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดโดยยึดประโยชน์ของเกษตรกรในพื้นที่เป็นสำคัญเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและเกิดการพัฒนางานในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน
อธิบดีกรมปศุสัตว์และคณะ ยังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ด้านปศุสัตว์)ตำบลท้ายหาด กลุ่มเลี้ยงไก่ไข่ พร้อมมอบรางวัลอาสาปศุสัตว์ดีเด่นระดับจังหวัดและระดับเขต7 ปี 2565 อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม และมอบรางวัลเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ระดับที่3
โดยอธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้ให้คำแนะนำเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการทฤษฎีใหม่ปี 2565ในการเพิ่มจำนวนไก่ไข่ เพื่อเพิ่มผลผลิตไข่ไก่ให้เพียงพอต่อการบริโภคและจำหน่ายเป็นรายได้ ประกอบกับลดต้นทุนด้านอาหาร โดยเพาะแหนแดง และใช้วัตถุดิบอาหารที่มีในท้องถิ่น นำมาเลี้ยงไก่ไข่ ให้ผลผลิตไข่ดีเป็นที่น่าพอใจ เกษตรกรมีความพึงพอใจ พร้อมนี้ได้ให้คำแนะนำการป้องกันโรคสัตว์ปีก และส่งเสริมการรวมกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ไข่ ในพื้นที่ด้วย
นอกจากนี้ยังได้ตรวจเยี่ยมฟาร์มผึ้งอินทรีย์”ไทยริชชี่บีฟาร์ม”ของนาย สาธิต เอี่ยมแสงสินเลขที่ 53 หมู่ 7 ตำบลบางสะแก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
โดยอธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวว่ากรมปศุสัตว์เน้นการส่งเสริมให้เกษตรกรมีการเลี้ยงผึ้งเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตของประเทศไทยสามารถส่งเสริมและพัฒนาการผลิตได้อีก หลายเท่าตัว เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจต่างๆ ทั้งบริโภคภายในประเทศและการ ส่งออกท่ีสร้างรายได้และเป็นประโยชน์อย่างมากมาย
กรมปศุสัตว์มีแนวทางที่จะพัฒนาเทคโนโลยีสินค้าแมลงเศรษฐกิจให้ปลอดภัย และได้มาตรฐานทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเกษตรกรและผู้ประกอบการส่งผลให้เกิดความมั่นคงกับอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าแมลงเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงให้เกษตรกรได้ตรวจสอบการเลี้ยงผึ้งของตนเองว่าได้ปฏิบัติถูกต้องตามหลักมาตรฐานฟาร์มผึ้ง ตามที่กรมปศุสัตว์ได้จัดทำแนวทางการตรวจสอบ ตามคําแนะนําปฏิบัติตามข้อกําหนดและแนวทางปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสําหรับฟาร์มผึ้ง เพื่อให้เกษตรกรทราบปัญหาในแต่ละประเด็นที่ต้องปฏิบัติสามารถจะปรับปรุงให้กับการเลี้ยงผึ้งให้ถูกต้อง ซึ่งจะทําให้ผลผลิตผึ้งที่ได้รับมีมาตรฐานและปลอดภัยต่อผู้บริโภค ต่อไป