กรมปศุสัตว์ยกระดับการควบคุมป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทั้งระบบ บูรณาการภาคีภาครัฐ – เอกชน เตรียมพร้อมรณรงค์ฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า มีนาคม – เมษายน 2567 นี้ พร้อมกันทั้งประเทศ

915160
นายสัตวแพทย์บุญญกฤช ปิ่นประสงค์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์

นายสัตวแพทย์บุญญกฤช ปิ่นประสงค์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานการประชุมหารือการป้องกันการขาดแคลนวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสำหรับสัตว์ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับรณรงค์ฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า ระหว่างเดือนมีนาคม – เมษายน 2567 พร้อมกันทั้งประเทศ ตามโครงการความร่วมมือการรณรงค์ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ภายใต้โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธาน ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โดยมีนายสัตวแพทย์ณรงค์ เลี้ยงเจริญ ผู้อำนวยการสำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมควบคุมโรค กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรุงเทพมหานคร สำนักงานปศุสัตว์เขต 1-9 และผู้แทนจากบริษัทผู้นำเข้าวัคซีนในประเทศไทยทั้ง 7 บริษัทเข้าร่วมประชุมฯ ผ่านระบบ Zoom Meeting ณ ห้องประชุมพระพิรุณ ตึกอำนวยการ กรมปศุสัตว์ พญาไท

920771
กรมปศุสัตว์ยกระดับการควบคุมป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

จากการรายงานสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2566 (ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2566 ) พบรายงานโรค 321 ตัวอย่าง ในพื้นที่ 35 จังหวัด (254 ตำบล (จุด)) โดยเป็นจุดควบคุมโรค 22 ตำบล (25 ตัวอย่าง) จุดเฝ้าระวังโรค 94 ตำบล (118 ตัวอย่าง) และจุดที่โรคสงบไปแล้ว 138 ตำบล (178 ตัวอย่าง) และพบผู้เสียชีวิต 6 ราย (ชลบุรี 2 ราย, สุรินทร์ 2 ราย, ระยอง 1 ราย และสงขลา 1 ราย)

920827
กรมปศุสัตว์ยกระดับการควบคุมป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

นายสัตวแพทย์บุญญกฤช ปิ่นประสงค์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า จากสถานการณ์การเกิดโรคในปี พ.ศ. 2566 กรมปศุสัตว์มีความจำเป็นต้องยกระดับการควบคุมป้องกันโรคทั้งระบบและทุกระดับ โดยเฉพาะจังหวัดที่มีการเกิดโรคอย่างต่อเนื่อง การดำเนินการดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า โดยสุนัขและแมวร้อยละ 80 จากประชากรสัตว์ทั้งประเทศ จะต้องได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อให้สัตว์มีภูมิคุ้มกันระดับฝูง (Herd Immunity) ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันโรคดังกล่าวได้ โดยจะมีการดำเนินการตาม Timeline ดังนี้

920828
กรมปศุสัตว์ยกระดับการควบคุมป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

เดือนธันวาคม 2566 – มีนาคม 2567 บูรณาการเตรียมความพร้อมด้านอาสาสมัครที่จะปฏิบัติงานฉีดวัคซีนอย่างน้อยหมู่บ้านหรือชุมชนละ 1 คน ภายใต้ MOU ระหว่างกรมปศุสัตว์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และกรมควบคุมโรค

920829
กรมปศุสัตว์ยกระดับการควบคุมป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

เดือนมกราคม – มีนาคม 2567 บูรณาการเตรียมความพร้อมด้านการจัดซื้อวัคซีน วัสดุอุปกรณ์ และเวชภัณฑ์ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และบริษัทผู้นำเข้าวัคซีนในประเทศไทยทั้ง 7 บริษัท

920840
กรมปศุสัตว์ยกระดับการควบคุมป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

เดือนมีนาคม – เมษายน 2567 บูรณาการฉีดวัคซีนพร้อมกันทั้งประเทศ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมปศุสัตว์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และกรมควบคุมโรค

920841
กรมปศุสัตว์ยกระดับการควบคุมป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

 กิจกรรมดังกล่าว กรมประชาสัมพันธ์จะดำเนินการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ ให้กับประชาชนเจ้าของสัตว์เลี้ยงอย่างต่อเนื่อง

รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากหน่วยงานที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาสังคมในระดับพื้นที่ทุกระดับ ทั้งภาครัฐ เอกชน สถานพยาบาลสัตว์ เครือข่ายคนรักสัตว์ องค์กรจัดสวัสดิภาพสัตว์ มูลนิธิ และองค์กรอิสระ (NGOs) ร่วมดำเนินการด้วยจึงจะทำให้การยกระดับการควบคุมและป้องกันโรคให้มีประสิทธิภาพต่อไป

920842
กรมปศุสัตว์ยกระดับการควบคุมป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

สำหรับสถานการณ์การนำเข้าวัคซีนปี พ.ศ. 2566 รวมทุกบริษัทมีจำนวนมากกว่า 13 ล้านโด๊ส และคาดการณ์ปริมาณวัคซีนที่จะมีการนำเข้าปี พ.ศ. 2567 มีปริมาณเท่าปีที่ผ่านมาหรือมากกว่า ซึ่งจำนวนสุนัขและแมวที่สำรวจ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีจำนวนประมาณ  11 ล้านตัว จึงคาดว่ามีวัคซีนเพียงพอที่จะจำหน่ายให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อจัดซื้อและฉีดในช่วงการรณรงค์ฉีดวัคซีนพร้อมกันได้ในปี พ.ศ. 2567

หากมีข้อซักถามหรือต้องการข้อมูลรายละเอียดอื่นๆ เพิ่มเติม เกี่ยวกับการดำเนินโครงการความร่วมมือการรณรงค์ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ภายใต้โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธาน ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี สามารถสอบถามได้ที่ DLD Call Center เบอร์โทรศัพท์ 06-3225-6888 ตลอด 24 ชั่วโมง