จาก“ซุปค้างคาว”สร้างคอนเทนท์ กรมอุทยานฯจ่อดำเนินคดีครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองกับสาวที่อัดคลิปแชร์ หวั่นเป็นพาหะนำโรค เพราะค้างคาวถือเป็นแหล่งรังโรครุนแรงหลายชนิด…!!!
นายรัชฎา สุริยกุล ณ อยุธยา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เปิดเผยว่า ขณะนี้มอบหมายให้สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า และเจ้าหน้าที่จากสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 (อุดรธานี) เข้าตรวจสอบข้อเท็จจริง”สาวกินซุปค้างคาว”เพื่อสร้างคอนเทนท์ในโลกออนไลน์ จนเกิดกระแสวิจารณ์วงกว้าง โดยยืนยันจะเอาผิดตามกฎหมายอย่างถึงที่สุด เพราะนอกจากเป็นกระแสวิจารณ์ในโลกออนไลน์แล้ว ยังมีผู้ร้องเรียนมายังสายด่วนกรมอุทยานฯ 1362 ด้วย
เบื้องต้นพบว่า ค้างคาวที่กินโชว์ เป็นค้างคาวเพดานเล็ก ซึ่งอยู่ในบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครอง ถ้าพิสูจน์ชัดเจนผู้โพสต์คลิปกินซุปค้างคาวจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562
สำหรับค้างคาวเพดานเล็ก (Scotophilus kuhlii) อยู่ในบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองลำดับที่ 47 ในไทยเจอได้ทั่วประเทศ จัดว่าเป็นค้างคาวขนาดกลาง-ค่อนข้างใหญ่ ขนสั้น สีน้ำตาล แต่จุดเด่นคือที่ท้องสีจะออกเหลืองจาง ๆ ชอบเกาะนอนได้ทั้งตามโพรงไม้ ทะลายปาล์ม ใบตาลหรือใบมะพร้าวแห้ง ซอกหิน ใต้หลังคา
ข้อมูลจากกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า ที่มีการศึกษาการคาดการณ์ไวรัสจากสัตว์ป่า เพื่อการเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่จากสัตว์ป่าสู่คนในอนาคต โดยเฉพาะค้างคาวเป็นแหล่งรังโรคของไวรัสโคโรน่า ซารส์ และเมอร์ส
ประเทศไทยมีรายงานการตรวจพบไวรัสสายพันธุ์ (lineage) เดียวกับ SARS-CoV ในค้างคาวหน้ายักษ์สามหลืบ (Hipposideros larvatus) และสายพันธุ์ MERS-CoV จากมูลค้างคาวไม่ทราบชนิด และยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยค้างคาวอย่างน้อย 139 สปีชีส์ทั่วประเทศ ซึ่งรวมทั้งค้าวคาวไผ่ ค้างคาวลูกหนู และค้างคาวปีกถุง ที่มีรายงานการพบไวรัสสายพันธุ์เดียวกับ MERS-CoV ในต่างประเทศ
คณะผู้วิจัย ได้มีการศึกษาในค้างคาว 645 ตัวรวม 33 สปีชีส์ที่เก็บตัวอย่างระหว่างปี พ.ศ.2554-2558 ในพื้นที่ 10 จังหวัด (13 แหล่ง) โดยใช้ตัวอย่างมูลค้างคาวที่เก็บโดยวิธี rectal swab นำมาสกัดสารพันธุกรรมและตรวจด้วยวิธี PCR ในตำแหน่งยีน RNA-dependent RNA polymerase
รวมทั้งพบไวรัสสายพันธุ์ MERS-CoV ซึ่งอยู่ในกลุ่ม betaCoV lineage C จำนวน 8 ตัวอย่าง จากค้างคาวไผ่หัวแบน (Tylonycteris robustula) จำนวน 2 ตัวอย่าง ซึ่งเป็นค้างคาว genus เดียวกับที่พบเชื้อไวรัสนี้ในประเทศจีน และค้างคาวปากย่น (Chaerephon plicata) จำนวน 6 ตัวอย่าง ซึ่งยังไม่มีการรายงานมาก่อน
การตรวจพบไวรัสสายพันธุ์ MERS-CoV และ SARS-CoV จากตัวอย่างค้าง คาวในไทย เป็นสัญญาณเตือนให้มีการเฝ้าระวังการแพร่เชื้อไวรัสข้ามสายพันธุ์ไปยังสัตว์อื่น ที่อาจกลายพันธุ์ติดต่อสู่คนได้ในอนาคต
นอกจากนี้ ยังพบไวรัสสายพันธุ์ SARS-CoV จากค้างคาวมงกุฎมลายู (Rhinolophus malayanus) จำนวน 2 ตัวอย่าง ซึ่งเป็นค้างคาว genus เดียวกับที่พบเชื้อไวรัสนี้ในประเทศจีน
รวมทั้งการติดต่อสู่คนได้โดยตรง นอกเหนือไปจากความเสี่ยงจากการติดเชื้อจากผู้ป่วย MERS-CoV ซึ่งปัจจุบันพบผู้ป่วยในไทยแล้ว 2 คน จากผู้ป่วยชาวโอมาน ซึ่งผลการถอดรหัสพันธุกรรม whole genome พบว่า จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับไวรัสที่พบการระบาดที่ประเทศเกาหลีในปี พ.ศ.2558
“ค้างคาว”เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในอันดับ Chiroptera และยังเป็นพาหะนำโรคร้ายแรงหลายชนิดนี้ทำไมตัวมันถึงไม่เป็นอะไร แล้วอะไรที่เป็นสาเหตุ หรือปัจจัยที่ทำให้ ค้างคาวนั้นสามารถต้านทานการเจ็บป่วยจากเชื้อโรคหลายๆชนิดได้
ทีมนักวิจัยจาก Duke-NUS Medical school ประเทศสิงคโปร์ ได้ทำการวิจัยและตีพิมพ์ ในวารสารวิชาการ ของ Nature Microbiology บอกถึงสาเหตุที่ทำให้ค้างคาวไม่มีอาการเจ็บป่วยจากการติดเชื้อไวรัสต่าง ๆ ว่าจุดสำคัญที่ทำให้ค้างคาวไม่เป็นอะไรเลย คือ ค้างคาวไม่มีการอักเสบหลังจากการติดเชื้อไวรัส เหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น ๆ ซึ่งทำให้ค้างคาวนั้นไม่เกิดอาการเจ็บป่วยนั่นเอง
และทางทีมวิจัยได้กล่าวเสริมต่ออีกว่า มีโปรตีนชนิดหนึ่ง ชื่อว่า NLRP3 ซึ่งปกติจะเป็นโปรตีนที่กระตุ้นการอักเสบในร่างกาย ซึ่งพบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทางทีมวิจัยได้ลองทดสอบการกระตุ้นโปรตีนตัวนี้ด้วยการทดลองเปรียบเทียบกัน ระหว่าง ค้างคาว หนู และคน
โดยพบว่าค้างคาว มีโปรตีน NLRP3 ที่เป็นแบบเฉพาะไม่เหมือนกับสัตว์ชนิดอื่น ๆ และเมื่อเกิดการติดเชื้อไวรัส จะเกิดการกระตุ้นโปรตีนชนิดนี้น้อยมากในค้างคาว เมื่อเทียบกับหนูหรือคน (ในการทดลองนี้ใช้ไวรัส 3 ชนิด คือ Influenza A virus, MERS corona virus, Melaka virus) ซึ่งการกระตุ้นโปรตีนชนิดนี้น้อยกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น ๆ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ค้างคาวเป็นสัตว์ที่ไม่ป่วยจากไวรัสต่างๆ
แต่แน่นอนว่ากลไกต่างๆที่ทำให้ค้างคาวไม่ป่วยจากเชื้อไวรัสก็ยังเป็นเรื่องที่ซับซ้อน และยังคงต้อง ศึกษาวิจัยเพิ่มเติม ถึงสาเหตุอื่นๆอีกด้วย เผื่อไม่แน่ในอนาคต เราอาจจะนำความสามารถเหล่านี้ในค้างคาวมาพัฒนา เป็นเครื่องมือในการป้องกันการเกิดโรคระบาดในอนาคตได้
“ค้างคาว”เป็นแหล่งรังโรค และเป็นสัตว์ที่สะสมเชื้อโรคจำนวนมาก มีรายงานการพบไวรัสมากกว่า 60 ชนิดในค้างคาว ซึ่งบางชนิดก็ก่อโรคในคนได้ และยังแพร่ระบาดไม่หายถึงทุกวันนี้ เช่น ไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า, ไวรัสอีโบล่า, ไวรัสซาร์ส, ไวรัสเมอร์ส, ไวรัสนิปาห์ ที่ทำให้เกิดโรคสมองอักเสบ และไวรัสโคโรนาที่ก่อโรคโควิด-19 จนทำให้มีคนล้มตายจำนวนมากและเศรษฐกิจพังไปทั่วโลก
ค้างคาวเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในอันดับ Chiroptera[a] ค้างคาวเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดเดียวที่บินได้จริงและต่อเนื่องด้วยขาหน้าที่ปรับตัวกลายเป็นปีก ค้างคาวบินได้คล่องตัวกว่านก เนื่องด้วยขาที่ยื่นยาวออกมาและคลุมไปด้วยเยื่อบุผิวบาง ๆ หรือพาทาเจียม ค้างคาวขนาดเล็กที่สุด คือ ค้างคาวคุณกิตติ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดเล็กที่สุดด้วย ลำตัวยาว 29–34 มิลลิเมตร เมื่อกางปีกออกมีความยาว 15 เซนติเมตร และหนัก 2–2.9 กรัม ค้างคาวขนาดใหญ่ที่สุด คือ ค้างคาวในสกุลPteropus และ Acerodon jubatus ซึ่งหนักได้ถึง 1.6 กิโลกรัม และมีความยาวตลอดปีกที่ 1.7 เมตร
ค้างคาวเป็นอันดับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสอง รองจากอันดับสัตว์ฟันแทะ ค้าวคาวคิดเป็น 20% ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทั้งหมด โดยมีชนิดมากกว่า 1,400 ชนิด
ค้างคาวได้รับการจำแนกออกเป็นสองอันดับย่อยโดยดั้งเดิม ได้แก่ ค้างคาวผลไม้ที่เป็นส่วนใหญ่ และค้างคาวกินแมลงที่สามารถใช้เสียงสะท้อนระบุตำแหน่งที่ตั้งได้ แต่หลักฐานใหม่เมื่อไม่นานมานี้สนับสนุนการจำแนกอันดับออกเป็นอันดับย่อย Yinpterochiroptera และ Yangochiroptera โดยจัดค้างคาวผลไม้บางกลุ่มรวมกับค้างคาวกินแมลงหลายชนิดในอันดับย่อยแรก ค้างคาวจำนวนมากบริโภคแมลง และส่วนใหญ่ของค้างคาวที่เหลือบริโภคผลไม้ มีค้างคาวบางชนิดที่บริโภคสัตว์อื่นเป็นอาหารแทนแมลง เช่นค้างคาวแวมไพร์ที่บริโภคเลือด
ค้างคาว ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ออกหากินตอนกลางคืน และส่วนใหญ่ในจำนวนนี้ก็เกาะอาศัยอยู่ในถ้ำหรือที่พักอื่น ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าค้างคาวมีพฤติกรรมเช่นนี้เพื่อหลีกเลี่ยงจากผู้ล่าเหยื่อ ค้างคาวพบได้ทั่วโลกยกเว้นในบางบริเวณที่หนาวจัด ค้างคาวเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบนิเวศในการผสมเกสรดอกไม้และกระจายเมล็ดของดอกไม้ไปตามที่ต่าง ๆ พืชเขตร้อนจำนวนมากต้องพึ่งพาค้างคาวเหล่านี้ในการผสมเกสรและการกระจายเมล็ด
ค้างคาว ให้ประโยชน์บางอย่างแก่มนุษย์ แต่แลกมากับภัยคุกคามบางอย่าง มูลค้างคาวสามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยขี้นกได้ ค้างคาวยังบริโภคแมลงศัตรูพืช ลดความต้องการในสารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ บางครั้งค้างคาวก็มีจำนวนมากพอที่จะกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว และใช้บริโภคเป็นอาหารในทวีปเอเชียและขอบแปซิฟิก
ค้างคาว ยังเป็นพาหะธรรมชาติของจุลชีพก่อโรคหลายชนิด เช่น โรคพิษสุนัขบ้า และ ไวรัสโคโรนาเนื่องจากค้างคาวเคลื่อนไหวได้ง่ายมาก ชอบสมาคม และมีอายุยืน ค้างคาวจึงแพร่โรคได้อย่างรวดเร็ว
ในค้างคาวเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในอันดับ Chiroptera[a] ค้างคาวเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดเดียวที่บินได้จริงและต่อเนื่องด้วยขาหน้าที่ปรับตัวกลายเป็นปีก ค้างคาวบินได้คล่องตัวกว่านก เนื่องด้วยขาที่ยื่นยาวออกมาและคลุมไปด้วยเยื่อบุผิวบาง ๆ หรือพาทาเจียม
ค้างคาวขนาดเล็กที่สุด คือ ค้างคาวคุณกิตติ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดเล็กที่สุดด้วย ลำตัวยาว 29–34 มิลลิเมตร เมื่อกางปีกออกมีความยาว 15 เซนติเมตร และหนัก 2–2.9 กรัม ค้างคาวขนาดใหญ่ที่สุด คือ ค้างคาวในสกุล Pteropus และ Acerodon jubatus ซึ่งหนักได้ถึง 1.6 กิโลกรัม และมีความยาวตลอดปีกที่ 1.7 เมตร
ค้างคาวเป็นอันดับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองรองจากอันดับสัตว์ฟันแทะ ค้าวคาวคิดเป็น20%ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทั้งหมด โดยมีชนิดมากกว่า 1,400 ชนิด
ค้างคาวได้รับการจำแนกออกเป็นสองอันดับย่อยโดยดั้งเดิม ได้แก่ ค้างคาวผลไม้ที่เป็นส่วนใหญ่ และค้างคาวกินแมลงที่สามารถใช้เสียงสะท้อนระบุตำแหน่งที่ตั้งได้ แต่หลักฐานใหม่เมื่อไม่นานมานี้สนับสนุนการจำแนกอันดับออกเป็นอันดับย่อย Yinpterochiroptera และ Yangochiroptera โดยจัดค้างคาวผลไม้บางกลุ่ม รวมกับค้างคาวกินแมลงหลายชนิดในอันดับย่อยแรก ค้างคาวจำนวนมากบริโภคแมลง และส่วนใหญ่ของค้างคาวที่เหลือบริโภคผลไม้ มีค้างคาวบางชนิดที่บริโภคสัตว์อื่นเป็นอาหารแทนแมลง เช่นค้างคาวแวมไพร์ที่บริโภคเลือด
ค้างคาวส่วนใหญ่เป็นสัตว์ออกหากินตอนกลางคืน และส่วนใหญ่ในจำนวนนี้ก็เกาะอาศัยอยู่ในถ้ำหรือที่พักอื่น ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าค้างคาวมีพฤติกรรมเช่นนี้เพื่อหลีกเลี่ยงจากผู้ล่าเหยื่อ ค้างคาวพบได้ทั่วโลกยกเว้นในบางบริเวณที่หนาวจัด
ค้างคาวเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบนิเวศในการผสมเกสรดอกไม้และกระจายเมล็ดของดอกไม้ไปตามที่ต่าง ๆ พืชเขตร้อนจำนวนมากต้องพึ่งพาค้างคาวเหล่านี้ในการผสมเกสรและการกระจายเมล็ด
ค้างคาว ให้ประโยชน์บางอย่างแก่มนุษย์ แต่แลกมากับภัยคุกคามบางอย่าง มูลค้างคาวสามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยขี้นกได้ ค้างคาวยังบริโภคแมลงศัตรูพืช ลดความต้องการในสารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์อีกด้วย