“นิลเมืองกาญจน์”GI คุณภาพสูงอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของจังหวัด

“นิลเมืองกาญจน์” คือ แร่อัญมณีสีดำสนิท เนื้อเนียนแน่น มีน้ำหนัก มี 3 ชนิด คือ นิลตะโกหรือนิลตัน นิลเสี้ยนและนิลติดเหล็ก มีค่าความแข็งระดับ 6-8 ตามสเกลความแข็งของโมส์ (Mohs Scale) ทนทานต่อการขูดขีด ขุดพบในอำเภอบ่อพลอย ด้วยกระบวนการผลิตตามกรรมวิธีเฉพาะผสานภูมิปัญญาในเขตพื้นที่กาญจนบุรี ทั้งนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI) “นิลเมืองกาญจน์” เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2561

459991617 833249258996884 111856แอ

กระบวนการผลิต

ขั้นตอนการขุดนิล

  • สำรวจพื้นที่ที่มีหินแร่ในสำเภอบ่อบ่อพลอย ขุดและคัดแยกนิล ล้างน้ำให้สะอาด
  • ขั้นตอนการเจียระไน/ การเจียเงา
  1. คัดเลือกนิลที่มีความสมบูรณ์ ไม่มีรอยแตกร้าว และมีขนาดเหมาะสมที่จะใช้เจียระไน
  2. ตัดก้อนนิลให้เป็นรูปแบบต่างๆ ตามที่ออกแบบไว้
  3. ตัดแต่งนิลให้เป็นรูปร่าง เพื่อให้ได้ขนาดที่ต้องการมากที่สุด
  4. บล็อกนิลเพื่อให้ได้ขนาดของนิลทุกเม็ดสม่ำเสมอกัน
  5. ตกแต่งให้เรียบแล้วนำมาใส่เหลี่ยม
  6. เจียระไน นำชิ้นงานที่ผ่านการแต่งเหลี่ยมเรียบร้อยแล้วมาขัดกับผงเพชร เพื่อให้มีความมันวาวตามเหลี่ยมมุมที่แต่งไว้
  7. การขัดเงา (ใช้สำหรับนิลที่ไม่มีเหลี่ยม) เมื่อเสร็จตามขั้นตอนที่ 4 (การบล็อก) แล้วจะนำมาขัดน้ำยาด้วยสักหลาดเพื่อให้ขึ้นเงา
  8. นำนิลที่ผ่านการเจียระไนหรือการเจียเงาแล้ว ไปเข้าตัวเรือนหรือไปประกอบขึ้นรูปตามที่ได้ออกแบบไว้

IMG 8179 1024x576 1

ลักษณะภูมิประเทศ

จังหวัดกาญจนบุรี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศไทย ลักษณะทางภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่าเขาที่อดมสมบูรณ์ มีทั้งป่าดงดิบ ป่าโปร่ง ภูเขา น้ำตก และแม่น้ำสำคัญ 2 สายคือแม่น้ำแควใหญ่และแม่น้ำแควน้อย ซึ่งไหลมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำแม่กลอง มีพื้นที่ทั้งหมด 19,463 ตารางกิโลเมตร มีชายแดนติดต่อกับสาธาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาเป็นระยะทางประมาณ 370 กิโลเมตร

อำเภอบ่อพลอย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดกาญจนบุรีห่างจากจังหวัดประมาณ 40กิโลเมตร มีจำนวนพื้นที่รวมทั้งสิ้น 967 ตารารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศเป็นป่าเขา ที่ราบเชิงเขา สลับกันกับเนินเขาเตี้ยๆ ภูเขาหินและมีปล่องภูเขาไฟซึ่งพื้นที่เป็นแอ่งกระทะ มีแนวภูเขาอยู่รอบนอก ทำให้พื้นที่มีลักษณะเฉพาะ ขุดพบแร่รัตนชาติต่างๆ โดยเฉพาะนิลที่มีคุณภาพสูงอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของจังหวัดกาญจนบุรี

ประวัติความเป็นมา

การขุดพลอยเริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยนักล่าสัตว์และคนหาของป่ารวมทั้งชาวบ้าน ขุดพบพลอยและหินสีต่างๆ เป็นจำนวนมาก ดามลำห้วยและตามลาดเนินผา ต่อมาได้มีชนต่างถิ่นได้แก่ กุหล่า พม่า มอญ กะเหรี่ยง จีน และไททรงดำ ทราบกิดติศัพท์การพบพลอยจึงได้พากันอพยพมาขุดพลอยกันมากมาย จนเป็นที่มาของชื่ออำเภอบ่อพลอย โดยในอดีตการขุดพลอยจะใช้ภูมิปัญญาของชาวบ้านโดยขุดหลุมกลมๆ ลึก 5 – 10 เมตร แต่ละหลุมห่างกันประมาณ 2 – 3 เมตร ปากหลุมกว้าง 1.5 เมตร ใช้ไม้กระล่อมขัดวนๆ รอบหลุม เพื่อกันไม่ให้ดินพัง และใช้ไม้ไผ่ป่าตัดแขนงให้ยาวพอเหยียบได้ ซึ่งเรียกว่า “พะอง”สำหรับไต่ลงไปแล้วจึงชอนใต้ดินลงไปเป็นอุโมงค์ วิธีการแทงเอาแร่ขึ้นมาจากดินเรียกว่า”โจง” และนำแร่นิลหรือพลอยที่ได้สาวหรือโพงขึ้นมา

แร่ที่ได้มาจะนำมาทุบด้วยไม้รวกดุ้นๆ หลังจากนั้นก็มาร่อนกับน้ำโดยใส่ตะแกรงแกว่งเพื่อทำการคัดเลือกพลอย ในอดีตการขุดหินสีเป็นไปด้วยความยากลำบาก ต่อมาในปี พ.ศ.ศ.2530 เริ่มมีการใช้เครื่องจักรเช่นเดียวกับการทำเหมืองแร่ทั่วไปในการขุดหาพลอยและนิลแต่ส่วนมากไม่พบพลอยพบแต่หินสีดำหรือที่เรียกว่านิลซึ่งชาวบ้านไม่เห็นค่า ทำให้นิลที่อำเภอบ่อพลอยมีจำนวนเพิ่มขึ้น ชาวบ้านจึงนำนิล ไปถมถนนเพื่อทำเป็นทางเข้าหมู่บ้าน หรือนำนิลไปผสมปูนเพื่อทำการก่อสร้างต่างๆ

ต่อมามีการทดลองนำนิลไปเจียระในให้เหมือนกับพลอย ปรากฏว่าเหลี่ยมของนิลไม่ต่างจากพลอยจึงเห็นถึงคุณสมบัติและคุณค่าของหินสีดำหรือนิลมากขึ้น หลังจากนั้นจึงนำนิล มาทำเป็นเครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อยคอ สร้อยข้อมือ ต่างหู เป็นต้น แหล่งแร่บ่อพลอยเคยมีประทานบัดรทำการผลิดมากกว่า 41 แปลง ทำการผลิตแร่พลอยและนิลโดยการขุดลอกหน้าตินออก ผลผลิตส่วนใหญ่ของเหมืองเป็นนิล แต่ในปัจจุบันพื้นที่ประทานบัตรทั้งหมดได้สิ้นอายุแล้ว และไม่มีการขุดพลอยและนิลอีก เนื่องจากแร่เหลือน้อยและมีปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม

สำหรับขอบเขตพื้นที่การผลิต นิลเมืองกาญจน์ ครอบคลุมพื้นที่แหล่งวัตถุดิบจากอำเภอบ่อพลอย และมีกระบวนการผลิตในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี

GI61100115 page 0005 แกง