“เสื่อจันทบูร ” GI ผ่านกระบวนการทอด้วยมือผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมากว่า 100 ปี

“เสื่อจันทบูร” หมายถึง เสื่อกก และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเสื่อกก ซึ่งทอด้วยกก และปอกระเจา ในเขตพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองจันทบุรี อำเภอแหลมสิงห์ อำเภอขลุง อำเภอท่าใหม่ และอำเภอนายายอาม ของจังหวัดจันทบุรี โดยนำมาผ่านกระบวนการทอเสื่อด้วยมือผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมากว่า 100 ปี ทั้งนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI ) ” เสื่อจันทบูร ” เมื่อ 13 มิถุนายน 2561

1521

ขั้นตอนการทอเสื่อ

(1) เสื่อจันทบูร จะต้องทอด้วยเส้นกกที่ผ่าเป็นซีกขนาดเล็กๆ และขูดเอาเยื่อแกนกลางออกแล้ว ขนาดเส้นกกแต่ละเส้นไม่เกิน 5 มิลลิเมตร เมื่อตากแห้งแล้ว กกจะม้วนตัวเป็นเส้นๆ จะมองเห็นแค่ผิวกกด้านนอกที่มีความมันวาว ขนาดเส้นกกที่ตากแห้งแล้วจะเหลือเพียง 2 – 4 มิลลิเมตร

(2) การทอเสื่อ คนทอจะนั่งบนม้ารองนั่งเป็นผู้ทำหน้าที่คลำฟืม – หงายฟืมเพื่อให้ช่องวางระหว่างเส้นยืน และคนพุ่งใช้ไม้พุ่งเส้นกกทีละเส้นผ่านช่องระหว่างเส้นยืน แล้วชักไม้พุ่งออก คนทอจะกระทบฟืมให้เส้นกกแน่นเสมอกัน ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนแล้วเสร็จเป็นผืนเสื่อ

(3) เสื่อบุฟองน้ำ คือ เสื่อกกที่ผ่านกระบวนการทอเป็นผืนและนำฟองน้ำมาบุทั้งผืนแล้วเย็บขอบให้เรียบร้อย

(4) เสื่อพับ คือ เสือกกที่ผ่านกระบวนการทอเป็นผืนแล้ว และนำมาตัดเป็น 2 – 3 ส่วน หรือตามแต่ความต้องการ และเย็บต่อกันให้เป็นผืนด้วยผ้าหรือวัสดุอื่น

(5) ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเสื่อกก คือ การนำเสื่อผืนไปใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ต่างๆ เช่น กระเป๋า หมอน ที่รองจาน กล่องใส่ทิชชู หมวก เป็นตัน

20241213114956

ลักษณะพิเศษหรือเอกลักษณ์ มีดังนี้

1. เอกลักษณ์ด้านตัวเสื่อ เสื่อจันทบูร ทำมาจากต้นกกที่ขึ้นบริเวณน้ำกร่อย ทำให้มีเส้นใยที่เหนียว แข็งแรง มีความคงทน มันวาว และสวยงาม เมื่อนำมาทอเป็นเสื่อจะทำให้เสื่อมีความทนทาน แข็งแรง ให้สัมผัสที่นุ่มนวล และมีความมันเงา ประกอบกับใช้เส้นปอเป็นเส้นยืน จึงทำให้มีความทนทานกว่าเสื่อกกอื่น

2. เอกลักษณ์ด้านลวดลาย ลวดลายของเสื่อจันทบูรจะเป็นลายที่อ้างอิงตามธรรมชาติ อาทิ ลายดำแดงซึ่งเป็นลายดั้งเดิม แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาลายอื่น ๆ มากมาย อาทิ ลายดอกพิกุล ลายถั่วพู ลายรังผึ้ง ลายลูกโซ่ เป็นต้น

3. เอกลักษณ์ด้านของสีสัน ในสมัยก่อนการย้อมสีกก จะใช้สีจากธรรมชาติซึ่งมี 3 สี คือ สีแดง สีดำ และสีเหลือง ต่อมามีการพัฒนาการย้อมสีจึงทำให้มีสีสันสวยงามมากขึ้น

20241213115308 p670719 111 resize scaled

“เสื่อจันทบูร”มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับแหล่งภูมิศาสตร์ถึงปัจจัยทางธรรมชาติ และภูมิปัญญาของมนุษย์ในจังหวัดจันทบุรี ดังนี้

ต้นกกและปอกระเจา ซึ่งวัตถุดิบหลักที่นำมาใช้ในการทอเสื่อจันทบูรต้องปลูกในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำและชายฝั่งทะเลของจังหวัดจันทบุรีเฉพาะในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองจันทบุรี อำเภอแภอแหลมสิงห์อำเภอขลุง อำเภอท่าใหม่ และอำเภอนายายอาม ซึ่งลักษณะของดินในพื้นที่ดังกล่าวจะมีลักษณะเป็นดินเค็ม มีปฏิกิริยาเป็นกรด และสภาพน้ำเป็นน้ำกร่อย ส่งผลให้ต้นกกและปอกระเจาที่ปลูกในบริเวณดังกล่าว มีความเหนียว ผิวเป็นมันวาว นุ่ม สามารถนำไปจัก (ผ่า) เป็นเส้นเล็กๆ ได้ดี และเมื่อนำมาผลิตเป็นเสื้อจันทบูรแล้วจะไม่ขึ้นราง่าย

พื้นที่ปลูกกกและปอกระเจา อยู่ใน 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอแหลมสิงห์ อำเภอขลุง อำเภอท่าใหม่ และอำเภอนายายอาม ของจังหวัดจันทบุรี ซึ่งมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำและชายฝั่งทะเลโดยพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำคลองโตนด ที่ราบลุ่มแม่น้ำพังราด ที่ราบลุ่มแม่น้ำจันทบุรี และที่ราบลุ่มแม่น้ำเวฬุ เป็นต้น สำหรับพื้นที่ชายฝั่งทะเลมักมีลักษณะ เป็นที่ราบชายฝั่งทะเลแคบ ๆ มีการทับถมของตะกอนทราย ที่ราบชายฝั่งทะเลบางแห่งอยู่ใกล้ปากแม่น้ำส่งผลให้บริเวณนั้นมีดินโคลนผสมด้วย

คุณสมบัติทางธรณีวิทยาของดินในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำและพื้นที่ชายฝั่งทะเลใน 5 อำเภอของจังหวัดจันทบุรี ได้แก่ อำเภอเมืองจันทบุรี อำเภอแหลมสิงห์ อำเภอขลุง อำเภอท่าใหม่ และอำเภอนายายอาม มีลักษณะเป็นดินเค็ม ทำให้ดินส่วนใหญ่มีปฏิกิริยาเป็นกรดจัดมากถึงกรดปานกลาง (ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง pH4.5 – 6.5) ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้กกที่ปลูกในบริเวณดังกล่าว มีความเหนียว ผิวเป็นมันวาว มีลำต้นยาวและแข็งแรง เหมาะแก่การนำมาใช้ทอเสื่อจันทบูร กกน้ำกร่อยหรือบางที่นิยมเรียกว่ากกสองน้ำ บริเวณปลูกกกหรือการทำนากกจะอยู่แถบชายทะเล ทำให้ดินแถบนั้นมีปฏิกิริยาเป็นกรดและสภาพของน้ำเป็นน้ำกร่อย ส่งผลทำให้เส้นใยกกเหนียว นุ่ม ผิวกกเป็นมัน มีความคงทน

ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปจังหวัดจันทบุรี ตั้งอยู่ในเขตมรสุมเขตร้อน โดยได้รับฝนจากอิทธิพลของลมมุรสมตะวันตกเฉียงใต้ มีฝนตกชุกติดต่อกันประมาณ 6 เดือนต่อปี โดยเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคมเป็นเดือนที่มีปริมาณน้ำฝนสูงที่สุด ซึ่งอาจมีปริมาณน้ำฝนสูงถึง 500 มิลลิเมตรต่อเดือน มีอุณหภูมิเฉลี่ย23 – 31 องศาเซลเซียสในแต่ละปี จังหวัดจันทบุรีมี 3 ฤดูกาล คือ

-ฤดูฝน (พฤษภาคม-ตุลาคม) มีอุณหภูมิระหว่าง 24 – 30 องศาเซลเซียส

-ฤดูหนาว (ตุลาคม-มกราคม) มีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 22 – 31 องศาเซลเซียส โดยที่ฤดูหนาวจะมีอากาศหนาวเย็นช้ากว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือของประเทศ

-ฤดูร้อน (กุมภาพันธ์-เษายน) มีอุณหภูมิระหว่าง 23 – 33 องศาเซลเซียส

ประวัติความเป็นมา

ชาวจันทบุรี หรือ คนจันทบูร รู้จักการทอเสื่อกกมาไม่ต่ำกว่า 100 ปีมาแล้ว โดยผู้ที่ริเริ่มทอเสื่อกกกลุ่มแรก คือ ชาวญวน (เวียดนาม) ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในจังหวัดจันทบุรี ในพื้นที่บริเวณหลังวัดโรมันคาทอลิก ตำบลจันทนิมิด อำเภอเมือง หรือที่เรียกว่าหมู่บ้านญวน

มีหลักฐานชัดเจนว่าชาวญวน ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในจันทบุรีตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย จากประวัติวัดคาทอลิกจันทบุรี ระบุว่าพระสังฆราชซังปีออง เดอ ชิเซ ให้บาทหลวงเฮิ้ตเดินทางมาจากญวน (เวียดนาม) เพื่อดูแลชาวญวนที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกซึ่งอพยพหนีภัยการบีบคั้นทางศาสนาในญวนเข้ามาอยู่ในจันทบุรีหลายสิบปีก่อนที่บาทหลวงเฮิ้ตเดินทาง
มาถึงในปี พ.ศ.2254 ขณะนั้นพบว่ามีชาวญวนได้เข้ามาอาศัยอยู่ที่จันทบุรีก่อนหน้านั้นแล้ว ราว 130 คน

เสื่อจันทบูร ได้สืบทอดจนเป็นเอกลักษณ์เชิดหน้าชูตาให้แก่จังหวัดจันทบุรีได้ก็เพราะพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ที่ทรงเล็งเห็นความสำคัญและทรงนำมาประยุกต์พัฒนาให้ได้ประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น ทำให้เสื่อจันทบูรคงอยู่และตกทอดมาจนปัจจุบันนี้

เสื่อจันทบูร เป็นเสื่อที่ทอโดยใช้กกจันทบูรและปอกระเจา ซึ่งการทอเสื่อดังกล่าวเกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวญวณที่อาศัยอยู่ในตำบลบ้านบางสระเก้า นับแต่อดีดจนถึงปัจจุบันก็มีการทอเสื่อสืบเนื่องต่อกันมาจนกลายเป็นวัฒนธรรมและเป็นสิ่งมีชื่อเสียงทั้งในตำบลบ้านบางสระเก้า และในจังหวัดจันทบุรี

ทั้งนี้พื้นที่ผลิดเสื่อจันทบูร ครอบคลุมเขตพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองจันทบุรี อำเภอแหลมสิงห์ อำเภอขลุง อำเภอท่าใหม่ อำเภอนายายอาม และอำเภอมะขาม ของจังหวัดวัดจันทบุรี


GI61100108 page 0008 rotated