“สังคโลกสุโขทัย” GI จากภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษกว่า 700 ปี

1625731451 656f89d07a66de833753

“สังคโลกสุโขทัย” (Sangkhalok Sukhothai) หมายถึง เครื่องปั้นดินเผาเนื้อดินหรือเนื้อแกร่งประเภทเคลือบและไม่เคลือบ มีลักษณะแตกลายงา ผลิตตามกรรมวิธีที่เป็นภูมิปัญญาสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ มีการนำใช้ดินเหนียวจากจังหวัดสุโขทัย ดินดำจากอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ และ ดินขาว โดยนำดินมาผสมนวด ปั้นขึ้นรูป และตกแต่งลวดลายที่วิจิตรบรรจง ด้วยการกดประทับด้วยแม่พิมพ์ไม้ มีสีตามลักษณะการเคลือบแต่ละประเภท เช่น สีขาว สีน้ำตาลสีเขียว เป็นต้น สามารถผลิตได้ตลอดทั้งปีศิลปะการปั้นเครื่องสังคโลกของจังหวัดสุโขทัยเป็นเอกลักษณ์ที่ได้มีการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษมาเป็นเวลากว่า 700 ปี และมีการพัฒนาจนมาเป็นเครื่องใช้ที่ทันสมัยทำให้เกิดคุณค่าที่เป็นเอกลักษณ์ให้กับสังคโลกสุโขทัย นับเป็นอาชีพหลักอย่างหนึ่งที่สร้างรายได้ให้กับชาวสุโขทัยในเขตพื้นที่อำเภอเมืองและอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ทั้งนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ” สังคโลกสุโขทัย” เมื่อ7 พ.ค. 2561

นน

กระบวนการผลิต

วัตถุดิบ

(1) ดินเหนียวจาก จังหวัดสุโขทัย

(2) ดินดำจากอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

(3) ดินขาว (Compound Clay)

การเตรียมดิน

(1) นำดินที่ผสมแล้วมาแช่น้ำไว้ในถังประมาณ 3 วัน แล้วใช้ไม้กวน

(2) ใช้เครื่องปั่นดินเพื่อผสมดินให้เป็นเนื้อเดียวกัน

(3) นำดินที่ปั่นเสร็จแล้ว มาเทใส่ผ้าเพื่อตากให้น้ำไหลออกจากตัวดิน

(4) นวดดิน เพื่อให้ดินเหนียวพร้อมสำหรับการปั้น

การปั้น

(1) การปั้นขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน ให้นำดินที่เตรียมไว้วางบนแป้น แล้วหมุนเพื่อขึ้นรูป เมื่อได้รูปทรงที่ต้องการแล้ว เอาออกจากแป้นหมุน

(2) การปั้นขึ้นรูปด้วยแม่พิมพ์ โดยทำต้นแบบจากแม่พิมพ์ให้มีรูปร่างตามที่ต้องการ แล้วนำดินอัดเข้าไปในแม่พิมพ์ ทุบดินให้แน่น เพื่อให้ผิวเรียบและมีความสม่ำเสมอ

(3) การปั้นขึ้นรูปด้วยมือ เพื่อให้มีรูปร่างตามที่ต้องการ

363315าาา

การตกแต่งลวดลาย

วิธีการตกแต่งลวดลาย ดังนี้

(1) การกดประทับด้วยแม่พิมพ์ไม้แกะสลักลวดลายต่างๆ หรือไม้พันเชือก เพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ เช่น ลายเส้นคลื่น ลายฟันปลาซี่เล็กๆ และลายจุดไข่ปลา เป็นดัน

(2) การขูดขีดด้วยไม้หรือโลหะปลายแหลม เพื่อให้เกิดลวดลาย

(3) การขุดด้วยไม้หรือโลหะปลายมน โดยตักเนื้อดินออกเป็นร่อง

( 4 )การแต่งเติมดิน โดยการนำดินที่ปั้นเป็นลวดลายแล้วเอาไว้มาติดเข้ากับภาชนะในตำแหน่งที่ต้องการ

น้ำเคลือบและการเคลือบ

(1) ประเภทเคลือบ ไม่ตกแต่งลวดลาย หลังจากเผาสังคโลกให้สุกก่อนหนึ่งครั้ง แล้วนำไปชุบน้ำยาเคลือบ ดังนี้

(1.1) ประเภทเคลือบสีขาว นำสังคโลกไปชุบน้ำเคลือบใสซึ่งมีส่วนประกอบของหินฟันม้า น้ำดิน ขี้เถ้าไม้และซิลิกา หรือน้ำเคลือบสีขาวขุ่นซึ่งมีส่วนประกอบของน้ำเคลือบใสและเซอร์โคเนียม หรือนำสังคโลกทารองพื้นด้วยน้ำดินสีขาวแล้วจึงเคลือบด้วยเคลือบใสหรือสีขาวขุ่น

(1.2) ประเภทเคลือบสีน้ำตาล นำสังคโลกไปชุบน้ำเคลือบ มีส่วนประกอบของน้ำเคลือบใสและเฟอร์ริกออกไซด์

(1.3) ประเภทเคลือบสีเขียว นำสังคโลกไปชุบน้ำเคลือบมีส่วนประกอบของน้ำเคลือบใสและโครมิกออกไซด์ผสมกับเฟอร์ริกออกไซด์

(2) ประเภทเคลือบ ตกแต่งลวดลาย

2.1) ประเภทเคลือบสองสี คือ การเขียนลวดลายโดยใช้น้ำเคลือบสีขาวและสีน้ำตาล ตกแต่งเป็นลวดลายต่างๆ

2.2) การเขียนสีใต้เคลือบ คือการเขียนลวดลายหลังจากการเผาดิบ แล้วจึงนำไปเผาเคลือบต่อไป

2.3) การเขียนสืบนเคลือบ คือการเขียนลวดลายภายหลังจากเผาเคลือบภาชนะเรียบร้อยแล้ว

การเผา

สังคโลกสุโขทัย มีการเผา 2 ครั้ง โดยใช้เตาแก๊ส ดังนี้

(1) เผาดิบ หรือเผา Biscult ใช้เวลาในการเผา 15 – 18 ชั่วโมง อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียสเพื่อให้ดินแข็ง โดยค่อยๆ ปรับเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้นทีละน้อย ชั่วโมงละ 100 องศาเซลเซียส เพื่อให้ดินสามารถปรับตัวได้ ไม่แตกร้าว ภายหลังจากการเผา สีของสังคโลกสุโขทัยในเตาจะเปลี่ยนจากสีดำเป็นสีน้ำตาลแดงหรือสีขาวนวล จากนั้นปล่อยให้อุณหภูมิในเตาเผาค่อยๆเย็นลงจนถึงอุณหภูมิประมาณ 190 องศาเซลเซียส จึงจะสามารถเปิดเตาเผา และนำเครื่องเคลือบไปเขียนลวดลายต่อไป

(2) เผาจริงหรือเผาเคลือบ ใช้เวลาในการเผา13 – 14 ชั่วโมงอุณหภูมิ 1,250 – 1,290 องศาเซลเซียส เป็นการเผาผลิตภัณฑ์ภายหลังจากที่นำไปเผาดิบและนำไปชุบน้ำยาเคลือบจึงนำมาเผาอีกครั้ง เพื่อให้น้ำเคลือบที่ชุบบนผลิตภัณฑ์ละลายเป็นชั้นบนผิวมีความมันแวววาว


ลักษณะภูมิประเทศ

จังหวัดสุโขทัยตั้งอยู่ภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม โดยตอนเหนือเป็นที่ราบสูงมีภูเขายาวมาทางทิศตะวันตก พื้นที่ตอนกลางเป็นที่ราบและตอนใต้เป็นที่ราบสูง มีแม่น้ำไหลผ่านจากเหนือลงใต้ โดยผ่านพื้นที่อำเภอครีสัชนาลัย อำเภอสวรรรคโลก อำเภอศรีสำโรง อำเภอเมืองสุโขทัย และอำเภอกงไกรลาศ สภาพของพื้นที่มีลักษณะเป็นดินเหนียวเนื้อละเอียด มีคุณภาพดี มีความเหนียว สีของดินก่อนเผา มีสีเทา สีเทาอมเหลืองถึงสีดำ เนื้อดินจับกันเป็นก้อนแน่นไม่ร่วนซุย ไม่มีกรวดทราย เมื่อนำเนื้อดินผสมน้ำจะมีความนุ่มและเหนียวเหมาะแก่การปั้น ในเนื้อดินมีธาดุเหล็กผสมอยู่เล็กน้อย ทำให้มีลักษณะเฉพาะและเป็นเอกลักษณ์ของสังคโลกสุโขทัย

ประวัติความเป็นมา

จังหวัดสุโขทัยเป็นแหล่งอารยธรรมมีความเจริญทั้งทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมมานานนับพันปี เครื่องปั้นดินเผาที่มีชื่อเสียงของสุโขทัย คือ เครื่องสังคโลก มีจุดเริ่มต้นที่บริเวณเมืองเก่าสวรรคโลก (อุทยานประวัติศาสดร์ศรีสัชนาลัยในปัจจุบัน) หรือบริเวณน้ำโจน เมืองเก่าสุโขทัย(อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยในปัจจุบัน)โดยเฉพาะบริเวณบ้านเกาะน้อย นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีสันนิษฐานว่า ชาวจีนคงเข้ามาทำเครื่องปั้นดินเผามาก่อน แล้วถ่ายทอดให้กับคนไทย เพราะสังเกตได้จากลวดลาย สีสัน เป็นแบบศิลปะจีนตอนปลายราชวงษ์ซ้อง

แต่บางหลักฐานก็กล่าวว่าว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้นำช่างเผาถ้วยจีนเข้ามาสุโขทัยจำนวนมาก งานเครื่องปั้นดินเผาในสมัยสุโขทัยจึงเจริญอย่างมากในสมัยนั้น จากสภาพของ “เครื่องสังคโลก” ที่มีความโดดเด่นเป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัวของ
เมืองสุโขทัย ทำให้การผลิตเครื่องสังคโลก กลายสภาพจากฝีมือภูมิปัญญาเป็นกิจการธุรกิจของครอบครัวและชุมชนที่สร้างรายได้อย่างมากมายให้กับชาวบ้าน

คำว่า “สังคโลก” มีผู้สันนิษฐานไว้ต่างกัน บ้างว่ามาจากคำว่า “ซ้องโกรก” แปลว่า เตาแผ่นดินซ้อง บ้างว่ามาจากภาษาญี่ปุ่นคำว่า “ซันโกโรกุ” หรือ “ซังโกโรกู” ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า “สวรรคโลก” อันเป็นชื่อเดิมของเมืองเชลียงหรือเมืองศรีสัชนาลัย ปัจจุบันคือชื่ออำเภอในจังหวัดสุโขทัย

นอกจากนี้จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เครื่องปั้นดินเผาสังคโลกที่ผลิตขึ้นในแหล่งภูมิศาสตร์นี้มีลักษณะที่แตกต่างจากเครื่องปั้นดินเผาสังคโลกที่ผลิตจากที่อื่น ศิลปะการปั้นเครื่องสังคโลกของจังหวัดสุโขทัยที่เป็นเอกลักษณ์ได้มีการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษมาเป็นเวลากว่า 700 ปี และมีการพัฒนาจนมาเป็นเครื่องใช้ที่ทันสมัย ทำให้เกิดคุณค่าที่เป็นเอกลักษณ์ให้กับสังคโลกสุโขทัย จึงนับเป็นอาชีพหลักอย่างหนึ่งที่สร้างรายได้ให้กับชาวสุโขทัย

Sorcho61100106 page 0007