“เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน ” GI สินค้าหัตถกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นโคราช รู้จักกันแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ

“เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน “(Dan Kwian Pottery) หมายถึง เครื่องปั้นดินเผาชนิดไม่เคลือบที่ทำการเผาด้วยอุณหภูมิสูง เมื่อเผาแล้วมีสีของดินตามธรรมชาติ มันเงา เนื้อดินมีความแข็งแกร่ง ทนนาน เมื่อเคาะจะมีเสียงดังกังวาน ไม่แตกร้าว หากเป็นภาชนะบรรจุน้ำไม่รั่วซึม ซึ่งผลิตตามกรรมวิธีการผลิต เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน ที่เป็นเอกลักษณ์สืบทอดต่อกันมาของชาวบ้าน ในเขตพื้นที่ดำบลด่านเกวียน ตำบลท่าจะหลุง ตำบลท่าอ่าง และตำบลละลมใหม่พัฒนา ของอำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ทั้งนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI ) เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2562

thumb 656ffc7b5b961

การทำเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนต้องอาศัยความพิถีพิถันมาตั้งแต่การเลือกสรรวัตถุดิบ ซึ่งต้องใช้ดินในพื้นที่เท่านั้น เพราะเป็นดินเหนียวเนื้อละเอียดคุณภาพดี มีสีแดงและสีน้ำตาลดำ โดยมักขุดขึ้นมาจากบริเวณที่เรียกว่า “กุด” ซึ่งเป็นบริเวณแนวกัดเซาะของริมฝั่งแม่น้ำ มีแร่ธาตุต่างๆ โดยเฉพาะแร่เหล็กสะสมอยู่ในเนื้อดินค่อนข้างมาก และด้วยความละเอียดของเนื้อดินจึงทำให้ง่ายต่อการปั้นขึ้นรูป ไม่บิดเบี้ยวและทนทานต่อการเผา

ในอุณหภูมิสูง เมื่อนำดินด่านเกวียนมาเผาในอุณหภูมิสูง พบว่าแร่เหล็กที่สะสมอยู่ในเนื้อดินจะเกิดการหลอมละลายแล้วมาเคลือบชั้นผิวจนทำให้เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนมีเอกลักษณ์พิเศษเป็นสีต่างๆ ทั้งสีดำ สีน้ำตาลแดง หรือสีสัมฤทธิ์ ที่มีความมันวาว และคงทนต่อการนำมาใช้งาน เมื่อเคาะจะมีเสียงดังกังวาน ทั้งนี้ การที่จะเผาผลิตภัณฑ์ให้ได้เป็นสีต่างๆ นั้น ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่ใช้ในการเผา โดยหากเผาที่อุณหภูมิ 900-1,100 องศาเซลเซียส เนื้อดินจะให้สีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีน้ำตาลเข้ม และถ้าใช้อุณหภูมิมากกว่า 1,200 องศาเซลเซียส ก็จะให้สีน้ำตาลแดงเข้มคล้ายกับเลือดปลาไหล ซึ่งการเผาด้วยอุณหภูมิที่สูงขึ้น จะยิ่งทำให้ผลิตภัณฑ์มีสีเข้ม มีความมันวาว และเนื้อผิวราบเรียบมากกว่าการเผาด้วยอุณหภูมิที่ต่ำกว่า

large 657010e59e804

ลักษณะภูมิประเทศ

อำเภอโชคชัย ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดนครราชสีมา มีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง ลักษณะลูกคลื่น มีความสูงประมาณ 175 – 271 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล บริเวณตอนใต้เป็นที่ราบสูง ลาดมาตอนกลางซึ่งเป็นที่ราบลุ่ม มีลำน้ำที่สำคัญไหลผ่าน2 สาย คือ ลำน้ำมูลเป็นแม่น้ำสายหลักไหลผ่านอำเภอโชคชัยเป็นระยะทางประมาณ 96 กิโลเมตร และลำพระเพลิงไหลผ่านตอนกลางของอำเภอ สภาพดินโดยส่วนใหญ่เป็นดินปนทราย ที่เกิดจากการสลายตัวของหินบะซอลด์ เนื้อดินเป็นดินเหนียว มีปริมาณธาตุโลหะหนัก ดินบนเป็นดินเหนียวปนทรายแป้งหรือดินเหนียวสีน้ำตาลปนแดงเข้มมาก ดินล่างเป็นดินเหนียวสีแดงหม่นหรือสีแดงหม่นเข้มมาก ปฏิกิริยาทางเคมีของดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลางที่ค่าpH 6.0 -7.0 ในดินบนเป็นกรดถึงเป็นกรดจัดมากมีค่า4.5 – 5.5 ด้วยสภาพภูมิประเทศดังกล่าวของอำเภอโชคชัย ที่มีแม่น้ำไหลผ่านทำให้บริเวณดังกล่าวมีการทับถมกันของชั้นดิน จนมีคุณสมบัติพิเศษที่ต่างจากที่อื่น คือ เป็นดินเหนียวเนื้อละเอียด มีแร่เหล็กและแร่ชนิดอื่นๆ ปะปนอยู่มาก ทำให้ทนทานต่อการเผาด้วยอุณหภูมิสูง ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นปั้นดินเผาด่านเกวียนจึงมีความแข็งแกร่ง ทนทาน ไม่บิดเบี้ยวและมีคุณภาพดี

ประวัติความเป็นมา

ตำบลค่านเกวียน เป็นชุมชนเก่าแก่แห่งหนึ่งของที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล ในจังหวัดนครราชสีมา อดีตเคยเป็นที่พักกองคาราวานเกวียนสินค้าที่ขึ้นล่องระหว่างโคราช- เขมร (กัมพูชา) ซึ่งมีพ่อค้าเดินทางมาติดต่อค้าขายสินค้ากันเป็นจำนวนมาก จนเรียกกันว่า”บ้านด่านเกวียน”ชนชาติ “ฃ่า” เป็นคนกลุ่มแรกที่ตั้งรกรากอยู่ที่ชุมชนด่านเกวียนจึงเป็นคนกลุ่มแรกที่ทำครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน โดยการนำเอาดินมาปั้นเป็นภาชนะใช้สอยในครัวเรือน หลังจากนั้นก็จะบรรทุกเกวียนนำไปจำหน่ายต่อหรือมีพ่อค้าจากหมู่บ้านใกล้เคียงมาซื้อเพื่อจำหน่าย โดยใช้เกวียนเป็นพาหนะบรรทุกคราวละประมาณ 50 – 100 เล่มเกวียน ได้เริ่มปรากฏชัดขึ้นเมื่อในครั้งสมัยสมเด็จพระนารายณ์ โดยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนนี้มีรูปปั้นโอ่ง อ่าง เพื่อการขายมากขึ้น เนื่องจากท้องที่นี้เป็นด่านที่จะเข้าสู่ตัวเมืองนครราชสีมา

ต่อมาประมาณปี 2500 อาจารย์ในคณะสถาปัตยกรรม วิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน )ได้ร่วมกันสำรวจศิลปะ และพบความแปลกใหม่ของวัสดุดิน จึงได้ร่วมมือกันออกแบบให้มีรูปทรงที่แปลก เช่น ม้ารองนั่ง ดะเกียงหิน แจกันลวดลายใช้ตกแต่งภายในวิทยาลัยฯ และช่วยกันเผยแพร่เรื่องราวของดินด่านเกวียนไปในหมู่สถาปนิก ต่อมามีผู้สนใจออกแบบให้มีรูปร่างต่างๆ และนำไปใช้ในงานตกแต่งภายใน ภายนอกและงานทางด้านสถาปัตยกรรมมากขึ้น ทำให้ชื่อเสียงของดินด่านเกวียนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป จึงนับได้ว่าเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนเป็นสินค้าหัตถกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นโคราช เป็นสินค้าที่รู้จักกันแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ

ขอบเขตพื้นที่การผลิตเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลด่านเกวียน ตำบลท่าจะหลุง ตำบลท่าอ่าง และตำบลละลมใหม่พัฒนา อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา

Sorchor62100125 page 0006