
มาดูกันครับสิ่งไหนควรปฏิบัติ สิ่งไหนไม่ควรปฏิบัติในเรื่องของการจัดการความต้านทานต่อสารฆ่าแมลงที่ถูกต้องและเหมาะสม
❌ ไม่ทำการพ่นสารฆ่าแมลงโดยไม่จำเป็น ควรมีการสำรวจแมลงก่อนตัดสินใจพ่นเสมอ(ตามหลักวิชาการคือพ่นเมื่อปริมาณการระบาดของแมลงถึงระดับเศรษฐกิจหรือ Economic Threshold (ET)
⭕ ควรมีการป้องกันกำจัดแมลงหลาย ๆ วิธีร่วมกันแบบผสมผสานหรือ IPM ทั้งวิธีกล ชีววิธี และเขตกรรมเป็นต้น
❌ ไม่ทำการพ่นสารฆ่าแมลงกลุ่มเดียวกันบ่อยๆ อย่างต่อเนื่องถึงแม้ว่าสารนั้นยังมีประสิทธิภาพก็ตามครับ
⭕ ควรพ่นสารฆ่าแมลงในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม เช่นช่วงแมลงอ่อนแอ เช่นหนอนระยะวัย1วัย2
❌ ไม่เพิ่มหรือลดอัตราสารฆ่าแมลงจากคำแนะนำเพราะจะเป็นการเพิ่มการพัฒนาความต้านทานของแมลงได้
⭕ ควรเลือกใช้สารฆ่าแมลงกลุ่มที่มีประสิทธิภาพต่อแมลงศัตรูพืชแต่ละชนิดตามคำแนะนำของนักวิจัย
❌ ไม่ใช้สารฆ่าแมลงที่ออกฤทธิ์กว้างโดยเลือกใช้สารที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงในกรณีแมลงศัตรูพืชนั้นมีรายงานความต้านทาน
⭕ ควรมีการใช้สารแบบหมุนเวียนกลุ่มกลไกการออกฤทธิ์(IRACปัจจุบันมี37กลุ่ม)
❌ ไม่สลับกลุ่มสารทุกครั้งที่พ่นสาร ควรดูจากรอบวงจรชีวิตของแมลงศัตรูพืชแต่ละชนิด
⭕ หากต้องการใช้สารแบบผสมเพื่อให้สามารถฆ่าแมลงที่ต้านทานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ควรผสมสารกลุ่มที่มีกลไกการออกฤทธิ์แตกต่างกัน (สารผสมที่ใช้แต่ละชนิดจะต้องใช้ในอัตราที่แนะนำโดยห้ามลดอัตราต่ำกว่าอัตราแนะนำครับ)
ที่มา กลุ่มงานวิจัยการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช กรมวิชาการเกษตร