
“ผ้าหมักโคลนหนองสูง” (Nong Sung’s Fermented mud cloth) หมายถึง ผ้าไหมหรือผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ และหมักโคลนตามภูมิปัญญาของชาวผู้ไทเมืองหนองสูง ผ้าหมักโคลนมีสีเข้ม เนื้อผ้านุ่ม มีความมันวาว สีไม่ตก ไม่ซีดจาง มีกลิ่นหอมละมุนของดิน ซึ่งผลิตใน 7 อำเภอ ของจังหวัดมุกดาหาร ทั้งนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI ) “ผ้าหมักโคลนหนองสูง”เมื่อ 17 มีนาคม 2560
กระบวนการผลิต
วัตถุดิบ
(1) เนื้อโคลน เป็นโคลนดินเหนียวและเนื้อโคลนละเอียด ไม่มีเม็ดดินและเม็ดทรายปะปน จากแหล่งน้ำในพื้นที่อำเภอหนองสูง
(2) เส้นใย
(2.1) เส้นไหมแท้ ที่ผลิตในท้องถิ่น หรือจากภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
(2.2) เส้นใยธรรมชาติ ที่ผลิตในท้องถิ่น หรือจากภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ
(2.3) เส้นใยประดิษฐ์ เช่น พอลิเอสเตอร์ ไนลอน อะคริลิก แอซีเทด เรยอน เป็นต้น
(3 ) สีย้อมผ้า เป็นสีธรรมชาติจากพืชและแมลงชนิดต่างๆ ที่หาได้จากพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร โดยพืชแต่ละชนิดจะให้สีที่แตกต่างกัน เช่น ต้นเพกา ใช้เปลือกแก่นและราก ให้สีเขียวอ่อน เขียวแก่ สีกากี , ต้นแข ใช้เนื้อไม้ ให้สีเหลืองทอง สีน้ำตาล และสีม่วง ,ต้นขนุน ใช้แก่น ให้สีเหลือง เหลืองอมน้ำตาล เหลืองอมเขียว ,ต้นประดู่ ใช้เปลือก ให้สีชมพูอมแดง หรือ แดงอมน้ำตาล ,ต้นไข่นุ่น ใช้เปลือก ให้สีน้ำตาล ,ต้นหว้า ใช้เปลือกและผล ให้สีเทา ,ต้นมะม่วง ใช้เปลือก ลำต้น และใบ
ให้สีเขียวและเขียวขี้ม้า ,ต้นคนทา ใช้ผล ให้สีเทาอมม่วง สีเทาเงิน สีเทาควันบุหรี่ ,ครั่ง ใช้รัง ให้สีแดง และสีม่วง,เปล้าใหญ่ ใช้เปลือก ให้สีชมพู ,คราม ใช้กิ่งและใบ ให้สีคราม หรือสีน้ำเงินเข้ม
วิธีการผลิต
(1) การเตรียมสีย้อม
(1.1) นำพืชพรรณไม้ที่ใช้เป็นวัตถุดิบมาทำความสะอาด
(1.2) ต้มสกัดสี ต้องควบคุมความร้อนให้คงที่
(1.3) ใส่สารช่วยติด เช่น เกลือ จุนสี สนิมเหล็ก น้ำด่าง น้ำปูนใส สารส้ม เป็นสัม
(1.4) คนให้เข้ากัน
(2) การเตรียมเนื้อโคลน
(2) การเตรียมเนื้อโคลน
นำโคลนที่ได้จากแหล่งน้ำในพื้นที่อำเภอหนองสูง และหรืออำเภอที่มีลักษณะชุดดินเดียวกันมากรองด้วยผ้าบางเพื่อคัดกรองเอาเม็ดดินเม็ดทรายออกให้เหลือแต่เนื้อโคลนละเอียด
(3) การย้อมสี มีขั้นตอน ดังนี้
(3.1) นำเส้นไหมแท้ และเส้นใยธรรมชาติไปทำความสะอาด
-เส้นไหม นำไปฟอกกาว
-เส้นใยธรรมชาติ นำไปต้มทำความสะอาดกำจัดไขมัน
(3.2) นำเส้นใยธรรมชาติ/ไหมไปแช่น้ำเพื่อให้เกิดการอิ่มตัวและคลายตัว
(3.3) กระตุกเส้นใยธรรมชาติ/ไหม เพื่อให้เส้นไยกระจาย ไม่พันกัน
พรรณไม้ธรรมชาติที่หาได้จากท้องถิ่น ผ้าทอมือจึงนับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชนเผ่าเดิม
เนื่องจากสภาพพื้นที่สิ่งแวดล้อมทั่วไปของอำเภอหนองสูง มีภูเขาล้อมรอบ ป่าไม้ ลำห้วยที่อุดมสมบูรณ์ ในน้ำมีปลาในนามีข้าว เข้าป่ามีต้นไม้นานาพันธุ์ โคลนที่หนองสูงและบริเวณใกล้เคียงเป็นโคลนที่มีเนื้อละเอียด ชาวผู้ไทในอำเภอหนองสูงจึงทดลองนำเส้นใยผ้าที่ผ่านการย้อมสีด้วยพืชพรรณไม้ธรรรมชาติในท้องถิ่น นำไปหมักเนื้อโคลนก่อนนำไปทอ พบว่า เกิดโทนสีที่นุ่มนวลและสดใส สีติดทนนาน เมื่อนำผ้าไปทอทำให้ผ้ามีความงามแปลกตาขึ้น แตกต่างไปจากผ้าที่ทอจากเส้นใยที่ไม่ได้ผ่านการหมักโคลน ชาวผู้ไทอำเภอหนองสูง จึงนิยมทอผ้าเป็นผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ เพื่อใช้ในการเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย และเนื่องจากผ้าหมักโคลนมีคุณสมบัตินวลเป็นพิเศษ ให้ความรู้สึกนิ่มนวลเมื่อมีการสัมผัสซับเหงื่อได้ดี ผ้าหมักโคลหนองสูงจึงเกิดแนวคิดการผสมผสานเอกลักษณ์การทอผ้าด้วยมือ การใช้สีย้อมจากธรรมชาติ และการหมักด้วยโคลนทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์พิเศษ และมีคุณลักษณะพิเศษที่สัมผัสได้
อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหารเป็นพื้นที่ที่ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอให้เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางการเกษตรของโลก (Globally Important Agricultural Heritage Systems: GIAHS) ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ด้วยหลักเกณฑ์เฉพาะพื้นที่มีศักยภาพในการสนับสนุนความมั่นคงอาหาร ความเป็นอยู่ มีความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ มีการอนุรักษ์ภูมิปัญญา มีการถ่ายทอดภูมิ
ปัญญาจากบรรพบุรุษและมีการพัฒนาภูมิปัญญาเพื่อความยั่งยืน