“ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง ” GI ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ไม่เคยจางหายจากชาวศรีสะเกษ

“ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง” (Pha Mai Kep Ban Mueangluang) หมายถึง ผ้าไหมทอมือด้วยกี่ทอ ผ้าแบบพื้นบ้านให้เกิดลวดลายจากผ้า เรียกว่าลายลูกแก้ว ย้อมสีดำด้วยผลมะเกลือ อบด้วยสมุนไพรทำให้ผ้าไหมมีกลิ่นหอม และมีการปักลวดลายด้วยเส้นไหมสีสันต่างๆ หรือการปักแซวให้มีความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์ ที่ผลิตในพื้นที่ตำบลเมืองหลวง อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ทั้งนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์( GI ) “ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง ” เมื่อ 16 กันยายน 2562

281867444 5853369504678463 5211382998493535043 n

กระบวนการผลิต

วัตถุดิบ

(1) เส้นไหมกรณีผลิตเองในพื้นที่ ต้องเป็นเส้นไหมที่ผลิตในพื้นที่ตำบลเมืองหลวง อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ

(1.1) การปลูกหม่อน การดูแลรักษา และการเก็บใบหม่อน ให้ปฏิบัติตามหลักวิชาการที่กรมหม่อนไหมให้คำแนะนำ

(1.2) การเลี้ยงไหม พันธุ์ไหมที่เลี้ยง เช่น พันธุ์ไทยพื้นบ้าน หรือพันธุ์ไทยปรับปรุง ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เป็นต้น โดยให้ใบหม่อนเป็นอาหารและเลี้ยงตามหลักวิชาการเลี้ยงไหมที่ถูกต้องและมีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่

(1.3) การลอกกาวไหม ใช้วัสดุธรรมชาติที่อยู่ในพื้นที่ตำบลเมืองหลวง อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ เช่น ต้นผักโขมหนาม เปลือกนุ่น ต้นกล้วย เดือยตาล ฟางข้าว ทะลายมะพร้าว เป็นต้น โดยนำไปเผาให้เหลือแต่เถ้า แล้วนำไปกรองผ่านผ้าขาวบางก่อนนำน้ำด่างไปลอกกาวไหม หรือใช้สารเคมีช่วยในการลอกกาวเส้นไหม ตามวิธีการที่กรมหม่อนไหมแนะนำ

(2) เส้นไหมกรณีซื้อนอกพื้นที่ ต้องเป็นเส้นไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้าน พันธุ์ไทยลูกผสม ที่ผลิตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย หรือเส้นไหมอุตสาหกรรมที่ผลิตในประเทศไทยเท่านั้น

428598353 881688273761681 5947547254861690066 n

การทอผ้าไหม

(1) การทอผ้าไหม ใช้กี่ทอผ้าแบบพื้นบ้านโดยใช้ฟืม 4 – 5 ตะกอกำหนดลวดลายผ้านตะกอ โดยเส้นพุ่งจะเป็นเส้นไหมพันธ์ุไทยพื้นบ้านหรือเส้นไหมพันธุ์ลูกผสมที่ผลิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เส้นยืนจะเป็นเส้นไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้าน พันธุ์ลูกผสม หรือเส้นไหมอุตสาหกรรม ใช้เชือกดึงตะกอลงล่างโดยวิธีเหยียบสลับดะกอให้เส้นยืนแยกออก สามารถสอดเส้นพุ่งให้เกิดลายบนผืนผ้าไหม เรียกว่า “ลายลูกแก้ว”

(2) การย้อม

(2.1) นำมะเกลือ มาโขลกรวมกับสมุนไพรพื้นถิ่น เช่น ใบต้นขน ใบเล็บครุฑ และรากต้นลำเจียก จากนั้นนำมาผสมน้ำสะอาด โดยสังเกตสีของน้ำมะเกลือ ถ้ามีความเหมาะสมจะมีสีขาวขุ่น

(2.2) นำผ้าไหมแช่ลงในน้ำสะอาดให้ซึมเข้าเนื้อผ้าให้ทั่วถึง แล้วบิดผ้าให้หมาด จากนั้นนำผ้าไหมลงไปย้อมในน้ำมะเกลือ แช่ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที แล้วบิดผ้าให้หมาด นำไปตากแดดโดยวางกับพื้นเพื่อให้ผ้าได้รับความร้อนทั่วถึงทั้งผืน และสีที่ผ่านการย้อมจะมีความสม่ำเสมอ เมื่อผ้าไหมแห้งแล้ว ให้นำไปย้อมซ้ำตามกระบวนการข้างต้น (หากในช่วงที่ไม่มีแดด ให้ใช้วิธีการนำผ้าไหมไปต้มในน้ำมะเกลือแทนการตากแดด) เมื่อผ้าไหมที่ย้อมนั้นมีความแข็ง ให้นำไปหมักโคลน และล้างโคลนออก เมื่อเห็นว่าผ้าดำได้ที่แล้วน้ำผ้าไปต้มในน้ำมะเกลือที่เดือดแล้วประมาณ 5 นาที เพื่อให้สีย้อมมีความคงทนมากขึ้น นำผ้าขึ้นตากแดดให้แห้ง จากนั้นนำไปล้างด้วยน้ำให้สะอาด โดยสังเกตน้ำที่ใช้ล้างผ้าไหมจะมีความใส แล้วจึงนำผ้าไหมที่ได้ได้ไปอบสมุนไพรเพื่อให้มีกลิ่นหอมต่อไป

(2.3) ผ้าไหมที่มีสีดำสนิททั่วทั้งผืนแล้ว ให้นำผ้าไหมไปต้มในน้ำมะเกลือที่ผสมสมุนไพรพื้นถิ่นที่เดือด ใช้เวลาประมาณ 5 – 10 นาที เพื่อให้สีย้อมมีความคงทน แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง จากนั้นนำไปล้างด้วยน้ำให้สะอาด จนกระทั่งน้ำที่ล้างผ้าไหมมีความใส บิดผ้าไหมให้หมาดแล้วนำไปตากแดดให้แห้ง เพื่อนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวงหรือทำการอบสมุนไพรเพิ่มความหอมต่อไป

การอบผ้าไหม

(3.1) นำสมุนไพร ได้แก่ ลูกหนามครองสุกที่ผ่านการคั่วจนหอม ว่านเปราะหอม ขมิ้น มาโขลกรวมกันให้ละเอียด แล้วนำมาผสมกับเครื่องอบสมุนไพร เช่น ใบเล็บครุฑ รากแฝกหอม กระงาน เป็นต้น คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำส่วนผสมทั้งหมดมาห่อด้วยใบตอง จากนั้นนำไปนึ่งในหวดนึ่งข้าวเหนียว โดยใช้ไฟปานกลาง เมื่อน้ำเริ่มเดือด นำผ้าไหมเข้าไปอบประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นเอาผ้าที่อบออกจากหวดนึ่งมาตากให้แห้ง

(3.2) สมุนไพรที่ผ่านการนึ่งแล้วนำมาตากให้แห้ง นำไปเก็บในภาชนะมิดชิด พร้อมกับผ้าไหมที่อบสมุนไพรแล้วไว้ด้วยกัน เพื่อเพิ่มความหอมของสมุนไพร

(4) การตัดเสื้อผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง

(4.1) ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวงที่จะนำมาตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าไหมจะต้องนำมาตัดเย็บตามรูปแบบและขนาดที่ต้องการ จากนั้นนำเสื้อผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวงมาปักลวดลายบริเวณสาบเสื้อ คอเสื้อ และชายเสื้อด้วยเส้นไหมสีสันต่างๆ หรือเรียกว่าการปักแซว

(4.2) การปักลวดลายหรือการปักแซว เป็นขั้นตอนสุดท้ายหลังจากการนำผ้าไหมมาตัดเย็บเป็นเสื้อผ้า โดยเส้นไหมที่นำมาปักแซวจะเลือกใช้เส้นไหมที่มีสีสันสดใส สวยงาม เช่น สีแดง สีเหลือง สีขาว หรือสีเขียว เพราะเมื่อนำมาปักบนเสื้อสีดำจะทำให้เสื้อมีความโดดเด่นสวยงามมากยิ่งขึ้น

ลักษณะภูมิประเทศ

ชุมชนบ้านเมืองหลวง ตั้งอยู่ตำบลเมืองหลวง อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ เป็นที่ราบสูง ลักษณะดินร่วนปนทราย และดินบางส่วนเป็นดินร่วนและดินเหนียวที่ตั้งของบ้านเมืองหลวงจะมีแหล่งน้ำธรรมชาติไหลผ่าน มีแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ หนองน้ำหนองลิ้นจี่ หนองสระชาวายซอ หนองสระหว้า หนองตาทอง หนองเก่าเมืองหลวง

สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปของจังหวัดศรีสะเกษ มีอากาศร้อนจัดในฤดูร้อนและค่อนข้างหนาวจัดในฤดูหนาว ส่วนฤดูฝนจะมีฝนตกหนักในเดือนกันยายน โดยมักจะตกหนักในพื้นที่ตอนกลางและตอนใต้ของจังหวัด ส่วนพื้นที่ทางตอนเหนือของจังหวัดจะมีปริมาณฝนตกน้อย และไม่ค่อยสม่ำเสมอ อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 26 – 28 องศาเซลเซลเซียส ด้วยลักษณะสภาพภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์และมีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมในการผลิตผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง สภาพดินเหมาะแก่การเจริญเติบโตของต้นมะเกลือตามธรรมชาติ และมีสภาพดินโคลนที่มีอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติมีความเหมาะสมต่อการช่วยติดสี ทำให้ผ้าที่ผลิตได้มีสีดำสนิท

ประวัติความเป็นมา

“บ้านเมืองหลวง” เป็นหมู่บ้านเก่าแก่กว่า 200 ปีและต่อมาตั้งเป็นอำเภอห้วยทับทัน ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง เริ่มจากชาวบ้านได้มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม แล้วนำเส้นไหมไปลอกกาวและทอเป็นผืนผ้า เกิดลวดลายผ้าทอในตัวมาจากลวดลายแกะสลักหอระฆังในหมู่บ้านซึ่งมีรูปร่างเป็นช่อคล้ายลายลูกแก้วในปัจจุบัน เรียกว่า “ผ้าเหยียบ” หรือ “ผ้าเก็บ” หรือ “ผ้าลายลกแก้ว” มีลักษณะเป็นผ้าผืนสีธรรมชาติเป็นสีขาวอมเหลือง ผู้ทอเกรงว่าผ้าดังกล่าวจะสกปรกเนื่องจากเป็นสีขาวอมเหลือง และการใช้ชีวิตประจำวันของชาวบ้านนั้นมีกิจกรรมการทำงานที่หลากหลายซึ่งอาจจะทำให้ผ้าเปื้อนหรือสกปรกได้ง่าย จึงหาวิธีคิดค้นนำเอาวัสดุธรรมชาติ เช่น เปลือกไม้ต่างๆ มาใช้ย้อม แต่เนื่องจากพื้นที่บ้านเมืองหลวงนั้นมีต้นมะเกลือที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติอยู่เป็นจำนวนมาก จึงได้มีการนำผลมะเกลือมาลองย้อมผ้าสลับกับการตากแดดและหมักด้วยโคลน โดยทำสลับกันหลายๆ ครั้ง จนผ้าไหมเปลี่ยนเป็นสีดำสนิท และผ้าไหมที่ผ่านการย้อมด้วยมะเกลือจะมีความหนา เหนียว และทนทาน จากนั้นwด้นำมาอบด้วยสมุนไพรในท้องถิ่นเพื่อทำให้ผ้ามีกลิ่นติดหอมทนนาน จึงมีชื่อเรียกผ้าไหมชนิดนี้ตามแหล่งกำเนิดว่า “ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง” ซึ่งนิยมนำมาตัดเย็บเป็นแบบเสื้อพื้นบ้านของชนเผ่าส่วยเขมร มีการเย็บและปักตกแต่งให้มี
ความสวยงาม ด้วยไหมปักสีสันและลวดลายต่างๆ เรียกการปักนั้นว่า “การแซว” เกิดเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดต่อกันมา

62100129 page 0006