สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวง ใช้เวลาศึกษาวิจัยการผลิต น้ำผึ้งเกสรกัญชงเป็นเวลานานมากกว่า 3 ปี โดยกัญชง (Hemp) เป็นพืชที่สรรพคุณทางยาสามารถใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ จึงเป็นโอกาสในการเพิ่มมูลค่าของ กัญชง ด้วยการศึกษาการใช้ประโยชน์จากเกสรกัญชง โดยศึกษาและพัฒนาการผลิตน้ำผึ้งเกสรกัญชง ร่วมกับเกษตรกรในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยน้ำริน อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย และสถานีวิจัยเกษตรหลวงปางดะ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่
เกษตรกรปลูกกัญชงสายพันธุ์ RPF3 โดยเป็นพันธุ์ที่ปรับปรุงพันธุ์ทำให้มีสาร tetrahydrocannabinols (THC) ต่ำกว่า 0.3% เกษตรกรปลูกเพื่อผลิตเป็นเส้นใย (กุมภาพันธ์-พฤษภาคม) และผลิตเพื่อเป็นเมล็ดพันธุ์ (กรกฎาคม-ธันวาคม) จึงทำให้สามารถใช้เป็นแหล่งอาหาร (เกสร) สำหรับเลี้ยงผึ้งได้ตลอดทั้งปี
ทั้งนี้ในน้ำผึ้งจากเกสรกัญชงมีคุณค่าทางโภชนาการสูงและมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยเฉพาะสารสำคัญ Cannabidiol (CBD) ที่พบมากในช่อดอกกัญชงเพศเมีย สาร CBD นั้นมักใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ โดยเป็นสารที่ไม่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท (Non-psychoactive) มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฮอร์โมน ภูมิคุ้มกัน โรคเบาหวาน มะเร็ง โรคหอบหืด ความผิดปกติของระบบประสาท และปัญหาทางเดินอาหาร เป็นต้น การบริโภคน้ำผึ้งเพียงอย่างเดียวมีส่วนช่วยในการบำรุงสุขภาพได้ ซึ่งทำให้แนวคิดในการรวมน้ำผึ้งเข้ากับสาร CBD ในกัญชงเกิดขึ้น
นอกจากนี้แล้วยังไม่พบปริมาณ THC ในน้ำผึ้ง จึงถือว่าน้ำผึ้งจากเกสรกัญชงเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่เหมาะสำหรับผู้บริโภคที่รักสุขภาพและเพิ่มมูลค่าของน้ำผึ้งให้เพิ่มสูงขึ้น ถือได้ว่าน้ำผึ้งที่มีสาร CBD จึงถือว่าเป็นสุดยอดของสมุนไพรของโลกที่สมบูรณ์แบบที่สุดเท่าที่เคยมีมา
น้ำผึ้งที่ได้จากเกสรกัญชง มักจะมีสีเหลือง –เหลืองอ่อน ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์กัญชงที่ใช้ มีกลิ่นหอม และดีต่อสุขภาพ นำมาทำอาหารหรือจะชงกับเครื่องดื่มก็ได้เพราะมีเกสรจากพืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ โดยในการผลิตน้ำผึ้งจากเกสรกัญชงนั้นสามารถผลิตได้จากผึ้งทั้ง 2 สายพันธุ์ ได้แก่ ผึ้งพันธุ์ Apis mellifera และผึ้งโพรง Apis cerana แต่หากผึ้งพันธุ์นั้นมีการจัดการลังผึ้งที่ยุ่งยาก อีกทั้งผึ้งพันธุ์ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมบนพื้นที่สูงได้น้อยกว่าผึ้งโพรงที่เป็นผึ้งท้องถิ่น ส่งผลให้เกิดอัตราการตายมากกว่า
ทั้งนี้ในการเลี้ยงผึ้งในแปลงกัญชงบนพื้นที่สูงนั้น ผึ้งจะถูกเลี้ยงด้วยเกสรกัญชงที่มีสาร cannabinoids เนื่องจากผึ้งไม่มีระบบ endocannabinoid เหมือนร่างกายมนุษย์ สาร cannabinoids จึงไม่ก่อให้เกิดปฏิกิริยากับผึ้งได้ โดยผึ้งจะเก็บสาร CBD ที่มีความเข้มข้นของ cannabinoids ต่ำมากซึ่งน้อยกว่าผลิตภัณฑ์อื่น ๆ โดยปริมาณของ cannabinoids ที่ผึ้งเก็บอาจต่ำถึง 0.3% ของน้ำผึ้ง
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีสาร CBD ความเข้มข้นต่ำ แต่สาร CBD ในน้ำผึ้งกัญชงแสดงให้เห็นว่ามีประโยชน์ทางสุขภาพอย่างมาก เพราะร่างกายสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้โดยตรง จึงเหมาะสำหรับบริโภคเป็นยาโดยเฉพาะ และไม่ออกฤทธิ์ทางระบบประสาท แตกต่างจากผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่น ๆ ที่ผสมสารสกัดจากส่วนต่างๆ ของกัญชง เช่น น้ำผึ้งเลมอนผสมกัญชง น้ำตาลสดผสมกัญชง ฯลฯ ซึ่งหมายความว่า cannabinoids จะถูกใส่ลงในน้ำผึ้ง ซึ่งแตกต่างกับน้ำผึ้งแท้จากกัญชง ซึ่งผึ้งเก็บจากเกสรกัญชงที่เป็นแหล่ง CBD โดยตรง
หมายเหตุ : Cannabinoid เป็นสารที่ออกฤทธิ์ในระบบ endocannabinoid ซึ่งมีอยู่แล้วในระบบประสาทส่วนกลางและส่วนปลาย ต้นกัญชงสังเคราะห์สาร cannabinoids หลายชนิด ที่สำคัญได้แก่ THC และ CBD รวมทั้งสารสร้างสีให้แก่ พืช เช่น flavonoids เป็นต้นน้ำผึ้งที่ได้จากเกสรกัญชง มักจะมีสีเหลือง –เหลืองอ่อน ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์กัญชงที่ใช้ มีกลิ่นหอม และดีต่อสุขภาพ นำมาทำอาหารหรือจะชงกับเครื่องดื่มก็ได้ เพราะมีเกสรจากพืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ โดยในการผลิตน้ำผึ้งจากเกสรกัญชงนั้นสามารถผลิตได้จากผึ้งทั้ง 2 สายพันธุ์ ได้แก่ ผึ้งพันธุ์ Apis mellifera และผึ้งโพรง Apis cerana แต่หากผึ้งพันธุ์นั้นมีการจัดการลังผึ้งที่ยุ่งยาก อีกทั้งผึ้งพันธุ์ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมบนพื้นที่สูงได้น้อยกว่าผึ้งโพรงที่เป็นผึ้งท้องถิ่น ส่งผลให้เกิดอัตราการตายมากกว่า
ที่มา เว็บไซต์สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง