“หอยนางรมท่าโสม” GI เนื้อแน่น นุ่ม หวานฉ่ำ ของดี จังหวัดตราด

กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI)”หอยนางรมท่าโสม”เมื่อ ธันวาคม พ.ศ.2567

“หอยนางรมท่าโสม” หรือ Tha Som Oyster หรือ Hoi Nang-rom Tha Som หมายถึง หอยนางรมพันธุ์เล็กหรือหอยนางรมปากจีบ ลักษณะเนื้อหอยมีสีขาวครืม มีความอวบอ้วนและเนื้อแน่นคงรูปเต็มฝาหอย รสสัมผัสนุ่ม รสชาติดี หวานฉ่ำ มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ เลี้ยงในบริเวณปากแม่น้ำเวฬุของพื้นที่ตำบลท่าโสม อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด ประกอบด้วย 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านท่าโสม บ้านละมีบ บ้านสลัก และบ้านอ่างกระป่อง

capture 20250114 214146

การเลี้ยงหอยนางรมท่าโสม มี 3 วิธี ได้แก่

(1) การเลี้ยงโดยใช้ท่อชีเมนต์ปักยึดกับที่ จุดปักห่างกันประมาณ 1 เมตร จำนวน 1,600 ท่อต่อ 1 ไร่หรือตามความเหมาะสมของพื้นที่

(2) การเลี้ยงแบบแขวนด้วยแผงไม้ไผ่ปักยึดกับที่ ขนาด 6 x 80 เมตร หรืออาจปรับเปลี่ยนขนาดให้เหมาะสมกับพื้นที่ โดยแขวนแป้นหอยระยะห่างกันประมาณ 20 เซนติเมตร จำนวน 12,0000 พวงต่อ 1 แผง อาจปรับเพิ่มหรือลดให้เหมาะสมกับขนาดแผง

(3) การเลี้ยงแบบแขวนด้วยแฟไม้ไผ่ยึดด้วยหุ่นลอย ขนาด 10 x 12 เมตร หรืออาจปรับเปลี่ยนขนาดให้เหมาะสมกับพื้นที่ โดยแขวนแป้นหอยระยะห่างกันประมาณ 20 เชนติเมตร จำนวน 5,0000 พวงต่อ 1 แพ อาจปรับเพิ่มหรือลดให้เหมาะสมกับขนาดแพ

การเก็บเกี่ยวผลผลิต

การเก็บเกี่ยวผลผลิตหอยนางรมทั้งเปลือกที่มีขนาดโตเต็มที่ตามระยะเวลาในการเลี้ยงประมาณ 12 – 16 เดือน โดยสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดทั้งปี สามารถสังเกตได้จากการเปิดฝาหอยเพื่อดูลักษณะเนื้อหอย หากเนื้อหอยสมบูรณ์เต็มที่พร้อมเก็บเกี่ยว เนื้อจะแน่น อ้วนกลมเต็มฝาหอย และมีสีขาวครีม โดยช่วงเวลาและรสชาติที่ดีมากที่สุด คือเดือนกุมภาพันธ์ – มิถุนายนของทุกปี

การเก็บรักษาและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว

(1) การจัดการคุณภาพหอยนางรมสดทั้งเปลือก นำหอยนางรมที่เก็บเกี่ยวได้พักไว้ในที่ร่ม ซึ่งวิธีการรักษาและคงสภาพความสดของหอย ทำได้โดยใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ คลุมหอยนางรมไว้ให้มีความชื้น การเก็บหอยนางรมทั้งเปลือกจะทำให้มีโอกาสที่หอยจะเสียน้อยลงและจะรักษารสชาติได้ดีกว่า โดยหอยนางรมจะสามารถมีชีวิตอยู่ได้ 5 – 7 วัน

(2) การจัดการคุณภาพเนื้อหอยนางรมสด หลังจากแกะเนื้อหอยนางรมสดออกจากตัวหอยแล้ว ควรล้างเนื้อหอยให้สะอาด และนำเนื้อหอยที่ผ่านการล้างน้ำใส่ถุงหรือภาชนะที่เตรียมไว้ โดยตักน้ำสะอาดใส่ถุงหรือภาชนะเพียงเล็กน้อย ในกรณีที่ใส่ถุงเมื่อตักน้ำใส่แล้วให้มัดถุงติดกับเนื้อหอยไม่ให้มีช่องว่างของอากาศ เพื่อไม่ให้เนื้อหอยเกิดการคลายตัวและยังคงความสดใหม่อยู่เสมอ เมื่อเสร็จชั้นตอนที่กล่าวมาทั้งหมด ควรนำภาชนะที่ใส่เนื้อหอยเก็บใส่ในถังน้ำแข็ง อุณหภูมิในช่วง 2 – 10 องศา จะสามารถคงความสดของเนื้อหอยได้ 7 10 วัน

ลักษณะภูมิประเทศ

จังหวัดตราดเป็นจังหวัดภาคตะวันออกของประเทศไทย ตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของอ่าวไทย ภูมิประเทศมีอาณาบริเวณทั้งที่เป็นแผ่นดินและพื้นน้ำประกอบด้วยเทือกเขาสูงอุดมด้วยป่าเบญจพรรณและป่าดิบทางด้านตะวันออก ส่วนทางใต้เป็นบริเวณหมู่เกาะต่างๆ สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง ตอนเหนือเป็นที่ราบบริเวณภูเขา ตอนกลางเป็นที่ราบลุ่มน้ำที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นที่ราบชายฝั่งทะเล โดยพื้นที่ตำบลท่าโสม อำเภอเขาสมิง จังหวัตตราด ประกอบด้วย 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านท่าโสม บ้านละมีบ บ้านสลัก บ้านอ่างกระป่อง ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำเวฬุ มีสภาพธรรมชาติที่สมบูรณ์จากป่าชายเลน และทรัพยากรสัตว์น้ำจำนวนมาก ซึ่งสภาพน้ำบริเวณนี้ยังมีระบบนิเวศเป็นสามน้ำ คือ น้ำทะเล น้ำจืด และน้ำกร่อย ที่ไหลมาบรรจบกันทำให้มีระบบการไหลเวียนของน้ำที่ดี อุดมไปด้วยธาตุอาหารและสารอินทรีย์ รวมถึงมีแพลงก์ตอนซึ่งเป็นอาหารตามธรรมชาติของหอยนางรมจำนวนมาก และน้ำยังมีคุณภาพเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของหอยนางรมส่งผลให้เนื้อหอยนางรมท่าโสมมีคุณภาพดี เนื้อสีขาวครีม มีความอวบอ้วนเนื้อมากและแน่นคงรูปเต็มฝาหอย รสสัมผัสนุ่ม รสชาติดี หวานฉ่ำ มีกลิ่นหอมตามธรรรมชาติ

ประวัติความเป็นมา

ในอดีตชาวบ้านพบหอยนางรมกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำอ่าวท่าโสมตามบริเวณชายฝั่งป่าชายเลนเกาะติดกับรากไม้โกงกาง และก้อนหิน ชาวประมงพื้นบ้านที่อาศัยบริเวณนั้นจึงหาหอยนางรมเพื่อเลี้ยงชีพและนำมาบริโภค โดยในปี พ.ศ. 2510 ชาวบ้านซึ่งอาศัยอยู่พื้นที่หมู่ที่ 3 บ้านสลัก ตำบลท่าโสม อำเภอเขาสมิงจังหวัดตราด ได้พบเห็นการเลี้ยงหอยนางรมด้วยท่อซีเมนต์จากจังหวัดชลบุรี จึงนำมาประยุกต์เลี้ยงหอยนางรมตามบริบทของพื้นที่ชายฝั่งทะเลจังหวัดตราด โดยใช้วัสดุท่อซีเมนต์ปักลงในดินเลน ปรากฏว่ามีลูกหอยนางรมมาเกาะอาศัยเป็นจำนวนมาก อีกทั้งสภาพน้ำบริเวณปากแม่น้ำเวฬุ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยอาหารธรรมชาติและแพลงก์ตอน ซึ่งเป็นอาหารที่หอยนางรมได้รับในแหล่งน้ำที่มีคุณภาพ และมีการไหลเวียนถ่ายเทของกระแสน้ำไหลผ่านในระดับที่เหมาะสม หอยนางรมจึงมีคุณภาพดีและสร้างรายได้เป็นจำนวนมาก ชาวประประมงพื้นบ้าน จึงให้ความสนใจและหันมาเลี้ยงหอยเพิ่มขึ้นตามลำดับ กระทั่งพัฒนาเป็นอาชีพเลี้ยงหอยนางรมเพื่อจำหน่าย เกิดการขยายพื้นที่การเลี้ยงหอยนางรม จนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันในจังหวัดตราดและจังหวัดใกล้เคียง ประกอบกับกรมประมงได้มีประกาศกำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงหอยทะเล พ.ศ. 2563 ในพื้นที่จังหวัดตราด โดยเริ่มต้นจาก ปากคลองท่าโสม ลงไปทางปากแม่น้ำเวหุ มีความยาวทั้งสิ้น 5,800 เมตร จึงทำให้ต้องมีการบริหารจัดการทรัพยากร กำกับดูแลและจัดระเบียบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้มีความเหมาะสมกับการไหลเวียนหรือการถ่ายเทของน้ำ ทำให้หอยนางรมท่าโสมมีคุณภาพดี เนื้อสีขาวครีม มีความอวบอ้วนและเนื้อแน่นคงรูปเต็มฝาหอย รสสัมผัสนุ่มรสชาติดี หวานฉ่ำ มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ

นอกจากนี้ ชุมชนยังจัดให้มีถนนหอยนางรม ซึ่งถนนเส้นนี้ เริ่มจากบ้านอ่างกระป่อง บ้านสลัก และบ้านท่าโสม มีร้านจำหน่ายหอยนางรมท่าโสมให้นักท่องเที่ยวได้รู้จัก และแวะพักชมชิม รวมทั้งซื้อกลับไปเป็นของฝาก สร้างการรับรู้และเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ชื่อเสียงของหอยนางรมท่าโสมให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดตราดเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

S 31400251 0

ทั้งนี้พื้นที่การผลิตหอยนางรมท่าโสม ครอบคลุมบริเวณปากแม่น้ำเวฬุของพื้นที่ตำบลท่าโสม อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด ประกอบด้วย 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านทาโสม บ้านละมีบ บ้านสลัก และบ้านอ่างกระป่อง

GIregistration244 page 0006 แก