กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI ) “มะม่วงแรดแปดริ้ว” เมื่อวันที่ 24 ธ.ค. พ.ศ. 2567 โดยผู้ขอขึ้นทะเบียน ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา

“มะม่วงแรดแปดริ้ว” หรือ Raet Padriew Mango หรือ Ma Muang Raet Padriew หมายถึง มะม่วงพันธุ์แรดที่มีผลทรงกลมรี หัวกลมอ้วนใหญ่ ปลายผลแหลมเล็กน้อย เมล็ดคอนช้างสั้น ผิวเปลือกหนา ปานกลาง ผิวเป็นคลื่นไม่เรียบ บริเวณด้านหลังผลมักมีนอคล้ายแรค ผลดิบอ่อนจะมีผิวเปลือกสีเขียว เนื้อมีสีขาวและกรอบ รสชาติเปรี้ยวจัด เมื่อผลดิบแก่ ผิวเปลือกจะมีสีเขียวเข้ม เนื้อมีสีเหลืองอ่อนและกรอบรสชาติมัน หวานอมเปรี้ยว เมื่อผลสุก ผิวเปลือกและเนื้อจะมีสีเหลือง เนื้อละเอียด ไม่เละ มีเสี้ยนน้อย รสชาติหวาน มีกลิ่นหอม ผลิตในเขตพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเพรา
การปลูก
(1) ต้นพันธุ์มะม่วงแรดต้องมาจากต้นพันธุ์ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา หรือจากแหล่งต้นพันธุ์คุณภาพดีหรือเชื่อถือได้ตรงตามพันธุ์ ด้วยวิธีการเสียบยอดหรือทาบกิ่ง ไม่เป็นโรคหรือมีร่องรอยการทำลายของแมลง รากบิดงอ กิ่งแห้งไม่สมบูรณ์ เพื่อให้เหมาะสมต่อการนำไปปลูก
(2) ฤดูกาลปลูก มะม่วงแรดควรปลูกต้นฤดูฝน (พฤษภาคม – ภรกฎาคม) เนื่องจากอากาศมีความชุ่มชื้นช่วยให้ต้นมะม่วงตั้งตัวได้เร็ว
(3) พื้นที่ปลูก มะม่วงแรดสามารถปลูกได้ทั้งที่ร่องสวน หรือที่ราบที่มีความลาดเทเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำท่วมขัง หรือมีร่องระบายน้ำ หรือบริเวณคันบ่อ โดยพื้นที่ปลูกควรปรับปรุงคุณภาพดินให้มีความเหมาะสม มีการกำจัดวัชพืช
(4) ระยะปลูก มีระยะห่างระหว่างแถวและระหว่างต้นในช่วง 3 – 7 เมตร หรือตามความเหมาะสมของพื้นที่
(5) ขุดหลุมปลูกขนาด 50 x 50 x 50 เซนติเมตร (กว้าง x ยาว x ลึก) รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยเคมี ผสมให้เข้ากัน หรือตามความเหมาะสมของพื้นที่
(6) นำต้นพันธุ์มะม่วงแรดที่เตรียมไว้ ลงปลูกในหลุม กลบดินให้สูงกว่าปากหลุมเล็กน้อย เพื่อป้องกันน้ำขัง ใช้หลักปักค้ำยันไม่ให้ต้นล้ม หรือเอน
การดูแลรักษา
(1) การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างเพียงพอและเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย โดยสังเกตดินบริเวณแนวทรงพุ่มให้มีความชื้นแต่ไม่แฉะ ในระยะก่อนมะม่วงแพงช่อดอก งดการให้น้ำ เมื่อแทงช่อดอกแล้วจึงให้น้ำได้ตามปกติ
(2) การให้ปุ๋ยและธาตุอาหารเสริม เพื่อควบคุมคุณภาพและผลผลิตของมะม่วงแรดแปดริ้ว ควรให้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย โดยระยะยังไม่ให้ผลผลิต ควรให้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี ระยะให้ผลผลิต ควรให้ปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพ และปุ๋ยเคมีที่มีธาตุโพแทสเขียมสูงร่วมกัน ระยะหลังให้ผลผลิตควรให้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีที่มีธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัสสูง
(3) การตัดแต่งกิ่ง หลังจากให้ผลผลิตแล้ว ควรตัดกิ่งแห้ง กิ่งที่มีโรค และกิ่งที่ถูกแมลงทำลายออก และตัดแต่งกิ่งไม่ให้ทรงพุ่มชนกัน หรือเปิดกลางพรงพุ่มให้แสงแดดส่องถึง
(4) การป้องกันและกำจัดศัตรูมะม่วง ควรป้องกันศัตรูมะม่วง โดยเน้นการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ต้นมะม่วง เช่น การปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม การกำจัดวัชพืช กำจัดแมลง และทำลายแหล่งสะสมของเชื้อโรค เป็นต้น
การเก็บเกี่ยว
(1) ใช้อุปกรณ์และวิธีการเก็บเกี่ยวให้เหมาะสม เช่น ตะกร้อสอย ใช้มือเก็บ ใช้บันไดปีนเก็บเกี่ยว หรือเครื่องมืออุปกรณ์การเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมและไม่กระทบต่อคุณภาพของผลมะม่วง เป็นต้น โดยต้องเกี่ยวด้วยความระมัดระวัง เพื่อป้องกันไม่ให้ผลมะม่วงซ้ำ และควรเก็บเกี่ยวให้มีขั้วผลยาว 1 – 2 นิ้ว เพื่อป้องกันน้ำยางไหลเปื้อนผลมะม่วง
(2) ผลมะม่วงแรดแปดริ้วสามารถเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน หรือเก็บเกี่ยวโดยนับระยะวันหลังดอกบานที่เหมาะสมต่อการจำหน่ายในแต่ละประเภท ดังนี้ กรณีผลดิบอ่อนเก็บเกี่ยวที่ระยะ 70 – 80 วัน กรณีผลดิบแก่ เก็บเกี่ยวผลผลิตที่แก่จัดในระยะ 81 – 90 วัน กรณีผลสุกเมื่อเก็บเกี่ยวผลดิบแก่แล้ว นำมาจัดวางในภาชนะที่เหมาะสม ตั้งพักไว้ในที่อากาศถ่ายเท ผลมะม่างจะสุกตามธรรมชาติ เพื่อจำหน่ายต่อไป
(3) มะม่วงแรดแปดริ้วควรบรรจุด้วยโฟมห่อกันกระแทก และจัดเรียงลงในภาชนะที่เหมาะสม
จังหวัดฉะเชิงเทรา ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบและที่ราบลุ่มแม่น้ำ พื้นที่บางส่วนเป็นที่ราบลูกฟูกและที่ราบสูง มีลักษณะดินเป็นดินเหนียวที่สะสมจากตะกอนทางน้ำ ตะกอนเชิงเขา ตะกอนที่เกิดจากการผุพังของหิน และหินตะกอน มีแม่น้ำบางปะกงเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลมาจากจังหวัดปราจีนบุรี ผ่านอำเภอบางน้ำเปรี้ยว อำเภอคลลองเขื่อน อำเภอบางคล้า อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอบ้านโพธิ์ และอำเภอบางปะกง ออกสู่ทะเลอ่าวไทย
นอกจากนี้ ยังมีคลองธรรมชาติที่สำคัญ คือ คลองท่าลาด มีต้นกำเนิดมาจากคลองสียัดในอำเภอท่าตะเกียบไหลมาบรรจบกับคลองระบมในอำเภอสนามชัยเขต เมื่อน้ำจากคลองสียัดไหลผ่านคลองท่าลาดผ่านอำเภอพนมสารคาม อำเภอแปลงยาว
อำเภอราชสาส์น มาบรรจบกับแม่น้ำบางปะกงในอำเภอบางคล้า โดยในช่วงที่น้ำทะเลหนุนทำให้พื้นที่ตลอดลำน้ำได้รับอิทธิพลของน้ำทะเลหนุน น้ำขึ้นน้ำลนน้ำลง หรือน้ำล้นริมฝั่งในฤดูน้ำหลาก จะพัดพาเอาตะกอนดินเหนียว ซากพืชซากสัตว์และแร่ธาตุต่าง ๆ มารวมกัน ซึ่งจากการที่น้ำเค็มผ่านเข้าไปยังบริเวณต่าง ๆจึงทำให้เกิดการแพร่กระจายของความเค็มในพื้นที่ เกิดการผสมผสานกันระหว่างตะกอนน้ำจืดและตะกอนน้ำกร่อย ส่งผลให้พื้นที่ตลอดเส้นทางน้ำมีความอุดมสมบูรณ์ ดินมีธาตุอาหารที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูกไม้ผล ส่งผลให้มีคุณภาพของเนื้อและรสชาติของผลผลิตเข้มข้น มีรสชาติดี
จังหวัดฉะเชิงเทรา มีสภาวะอากาศหนาวเย็นและแห้งแล้งในช่วงฤดูหนาว ซึ่งได้รับอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดพาความหนาวเย็นจากประเทศจีนมาสู่ประเทศไทย มีอากาศชุ่มชื้นและมีฝน ซึ่งได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมในช่วงฤดูฝน
ด้วยลักษณะต่างๆ เหล่านี้ทำให้ดินของจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นดินที่มีธาตุอาหารพืชสะสมอยู่ในดินมีปริมาณสูง โดยเฉพาะธาตุโพแทสเซียมที่มีความสำคัญในการสร้างและเคลื่อนย้ายสารอาหารพวกแป้งและน้ำตาลมีผลต่อคุณภาพของผลผลิต ปัจจัยทางภูมิประเทศและภูมิอากาศดังกล่าวเป็นปัจจัยเฉพาะที่ส่งผลให้มะม่วงแรดแปดริ้วมีคุณภาพดี และรสชาติที่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค
จังหวัดฉะเชิงเทรา หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า “เมืองแปดริ้ว” เป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ ในลำน้ำอุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์น้ำนานาชนิด โดยเฉพาะปลาช่อน ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดที่มีรสชาติดี มีอยู่ชุกชุมและขนาดใหญ่กว่าในท้องถิ่นอื่นๆ จนเมื่อนำมาแล่เนื้อทำปลาตากแห้ง จะแล่เพียงสี่ริ้วหรือห้าริ้วตามปกติไม่ได้ สามารถแล่ออกมาได้ถึง 8 ริ้ว เมืองนี้จึงได้ชื่อว่า “แปดริ้ว”
จังหวัดฉะเชิงเทรามีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำบางปะกงไหลผ่าน มีลำคลองเป็นจำนวนมาก ดินมีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูกผลไม้ โดยเฉพาะมะม่วงแรด มีการปลูกมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จากการบอกเล่าคนเฒ่าคนแก่เกิดมาก็เจอต้นมะม่วงแรดในพื้นที่แล้ว แต่เดิมปลูกไว้เพื่อบริโภค จนกลายเป็นที่นิยมของผู้บริโภค ต่อมาจึงปลูกเพื่อการค้า ดังนั้นหากให้พูดถึงมะม่วงที่มีรสชาติต้องนึกถึง “มะม่วงแรดแปดริ้ว” เนื่องด้วยผลผลิตมะม่วงแรดของจังหวัดฉะเชิงเทรานั้นได้รับการยอมรับในด้านรสชาติ คุณภาพที่ได้มาตรฐานจากแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ทำให้บริษัทและกลุ่มพ่อค้าเดินทางมารับซื้อผลผลิตที่สวนโดยตรง หรือที่จุดรวบรวมผลผลิตของสมาชิกสหกรณ์ชมรมชาวสวนมะม่วงและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตมะม่วงส่งออก และสามารถส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ เช่น เวียดนาม และญี่ปุ่น เป็นต้น มะม่วงแรดแปดริ้วมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก และชาวสวนได้พัฒนาคุณภาพการผลิตมะม่วงแรดมาอย่างต่อเนื่อง สร้างรายได้ให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน