วิธีการผลิตพืชผัก…ปลอดภัย

เป็นที่ทราบกันว่า ปัจจุบันตลาดและผู้บริโภคมีความต้องการพืชผักปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น ด้วยเพราะกระแสในเรื่องรักสุขภาพ และใส่ใจสิ่งแวดล้อม เกษตรกรจึงจำเป็นต้องผลิตพืชผักให้สอดคล้องตามความต้องการของตลาดและผู้บริโภค การผลิตพืชผักปลอดภัยจะช่วยลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร เชื่อมั่นได้ว่าผลผลิต มีสารเคมีตกค้างไม่เกินค่ามาตรฐาน ส่งผลให้เกษตรกรเพิ่มรายได้มีสุขภาพดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

2264793451

การผลิตพืชผักให้ปลอดภัย ต้องให้การใส่ใจดูแลอย่างใกล้ชิดตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว ซึ่งอาจถูกรบกวนจากทั้งโรคและแมลงศัตรูพืชผักหลากหลายชนิด จึงทำให้เกษตรกรที่ปลูกผักจะต้องใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดแมลงฉีดพ่นในปริมาณที่มาก เพื่อให้ได้ผักที่สวยงามตามความต้องการของตลาด เมื่อผู้ซื้อนำมาบริโภคแล้วอาจได้รับอันตรายจากสารพิษที่ตกค้างอยู่ในพืชผักนั้นได้

ข้อดีของการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ

  1. ทำให้ได้พืชผักที่มีคุณภาพ ไม่มีสารพิษตกค้าง เกิดความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค
  2. ช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกผักมีสุขภาพอนามัยดีขึ้นเนื่องจากไม่มีการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ทำให้เกษตรกรปลอดภัยจากสารพิษเหล่านั้นด้วย
  3. ลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรด้านค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
  4. ลดปริมาณการนำเข้าสารเคมี ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
  5. เกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากผลผลิตที่ได้มีคุณภาพทำให้สามารถขายผลผลิต ได้ในราคาสูงขึ้น
capture 20241216 172450 อ


วิธีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ

ในการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษนั้น จะใช้หลักการปลูกพืชผักโดยการใช้สารเคมีในการผลิตให้น้อยที่สุด หรือใช้ตามความจำเป็น และจะใช้หลัก “การป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน หรือไอพีเอ็ม” แทน แต่การที่จะป้องกันและกำจัดศัตรูพืชให้ได้ผลนั้นจะต้องเลือกวิธีที่ประหยัดเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้ปลูกจะต้องเข้าใจเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

  1. การควบคุมศัตรูพืชให้ประสบผลสำเร็จ มีหลักการง่ายๆ
    1.1 ต้องป้องกันไม่ให้เกิดโรคในแปลงปลูก เช่น การใช้พันธุ์ที่ปราศจากโรคและแมลง การไม่นำชิ้นส่วนของพืชที่มีโรคแมลงเข้ามาในแปลงปลูก เป็นต้น
    1.2 ถ้ามีศัตรูพืชเข้ามาในแปลงปลูกหรือแสดงอาการเป็นโรคแล้ว ต้องยับยั้งการแพร่ระบาด
    1.3 ถ้ามีการระบาดแล้วต้องกำจัดให้หมดไป
    อย่างไรก็ตามสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการระบาดของศัตรูพืชในแปลงปลูก คือ ตัวเกษตรกรเอง ที่ละเลยการควบคุมดูแลทำให้ศัตรูพืชสะสมในแปลงปลูก จนถึงระดับที่ไม่สามารถกำจัดได้
  2. วิธีการควบคุมศัตรูพืชอย่างมีประสิทธิภาพ
    มีขั้นตอนดังนี้
    2.1 ต้องศึกษาชนิดของศัตรูพืชในแปลงปลูกนั้นๆ ก่อน
    2.2 สำรวจสถานการณ์ศัตรูพืชในแปลงปลูก
    2.3 พิจารณาแนวโน้มการระบาดของศัตรูพืชแล้วจึงหาแนวทางป้องกันและกำจัดต่อไป
    2.4 เมื่อควบคุมการระบาดให้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายมากขึ้น แล้วให้เลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมเพื่อลดปริมาณ หรือรักษาระดับการเข้าทำลายให้คงที่หรือลดลง
    2.5 ในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ศัตรูพืชด้วยวิธีการอื่นๆ ได้ มีความจำเป็นที่จะต้องใช้สารเคมี ให้เลือกใช้สารเคมีที่
    ถูกต้องเหมาะสมกับชนิดศัตรูพืชและการระบาดตามคำแนะนำวิธีการใช้ในฉลาก
  3. วิธีการผสมผสานในการควบคุมศัตรูพืช จะเป็นการนำเอาวิธีการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชหลายวิธีมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน โดยวิธีการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษนี้มีข้อแนะนำให้เกษตรกรเลือกใช้วิธีการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ทดแทนการใช้สารเคมี ดังนี้
    3.1 การเตรียมแปลงปลูก
    3.2 การเตรียมเมล็ดพันธุ์
    3.3 การปลูกและการดูแล
    3.4 การให้ธาตุอาหารเสริม
    3.5 การใช้กับกัดกาวเหนียว
    3.6 การใช้กับดักแสงไฟ
    3.7 การใช้พลาสติกหรือฟางข้าวคลุมแปลงปลูก
    3.8 การปลูกผักในโรงเรือนมุงตาข่ายไนลอน
    3.9 การควบคุมโดยชีววิธี
    3.10 การใช้สารสกัดจากพืช
    3.11 การใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช

ที่มา : สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์