“ผ้าไหมยกดอกลำพูน” GI มรดกทางหัตถกรรมที่ถ่ายทอดสืบกันมา

“ผ้าไหมยกดอกลำพูน” (Lamphun Brocade Thai Sik) หมายถึง ผ้าไหมที่ทอยกลวดลายให้สูงกว่าผืนผ้า โดยการเลือกยกบางเส้นข่มบางเส้นเพื่อให้เกิดลวดลาย โดยใช้ตะกอลอย และเส้นไหมตีเกลียวเป็นทั้งเส้นยืนและเส้นพุ่ง รวมทั้งมีเส้นไหมเพิ่มพิเศษในการทอยกให้เกิดลวดลาย ตามกรรมวิธีที่ปราณีตที่เป็นมรดกทางหัตถกรรมที่ถ่ายทอดสืบกันมา ทั้งนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประกาศให้ขึ้นเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI)” ผ้าไหมยกดอกลำพูน” เมื่อ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

42867041 574874792948162 5097536077615333376 n

กระบวนการผลิต

เส้นไหม

(1) กรณีผลิตเส้นไหมเองในพื้นที่

(1.1) การปลูกหม่อน การดูแลรักษา และการเก็บใบหม่อน ให้ปฏิบัติตามหลักวิชาการ

(1.2) การเลี้ยงไหม

  • ให้ใบหม่อนเป็นอาหาร
  • พันธุ์ไหม ใช้พันธุ์ไทย พันธุ์ไทยลูกผสม หรือพันธุ์ลูกผสมต่างประเทศที่เหมาะสมกับพื้นที่
  • เลี้ยงตามหลักวิชาการเลี้ยงไหมที่ถูกต้องและเหมาะสมกับพื้นที่
  • เก็บไหมวัย 5 ที่เริ่มสุกเข้าจ่อ ในสถานที่ที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม
  • หลังจากไหมทำรังไม่ต่ำกว่า 4 – 5 วัน ในไหมพันธ์ุไทย และ 5 – 7 วัน ในไหมพันธุ์ลูกผสม ให้เก็บรังไหมมาแผ่กระจายในชั้นเลี้ยงหรือกระด้ง เพื่อไม่ให้เกิดความชื้นและความร้อน
35518944 992190604296342 1752429854579490816 n

(1.3) การสาวไหม

ใช้วิธีการสาวมือหรือการสาวด้วยเครื่องสาวขนาดกำลังไฟไม่เกิน 5 แรงม้า สำหรับไหมเส้นพุ่งแต่ไหมเส้นยืนจะสาวด้วยเครื่องสาวเท่านั้น ปริมาณรังไหมที่สาวขึ้นอยู่กับขนาดเส้นไหมที่ต้องการใช้

1.4) การฟอกย้อมสีไหม

ใช้สีธรรมชาติหรือสีที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมในการย้อมเส้นไหม

(2) กรณีซื้อเส้นไหมนอกสถานที่

(2.1) คัดเลือกเส้นไหมให้ได้ขนาดมาตรฐานตามลักษณะของเส้นไหมยืน และเส้นไหมพุ่ง

(2.2) ต้องเป็นเส้นไหมพันธุ์ไทยปรับปรุงที่มีการเลี้ยงและผลิตในเขตภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเท่านั้น

ผ้าไหม

การเตรียมอุปกรณ์

(1) การเตรียมอุปกรณ์

(1.1) กี่ทอผ้า เป็นกี่พื้นเมืองโครงสร้างไม้เนื้อแข็ง ใช้การพุ่งกระสวยด้วยมือ (กี่กระทบ) ก็ต้องแข็งแรง ไม่โยกคลอน ระยะห่างะหว่างแกนหัวม้วนเส้นไหมเห็นยืน กับไม้กระทบและแกนม้วนผ้าต้องได้ระยะที่เท่ากันทั้งด้านซ้ายและด้านขวาของตัวกี่ และติดตั้งอุปกรณ์ที่ใช้ในการทอให้ครบถ้วน เช่น คานรับตะกอเขาดอก ไม้ม้วนผ้า เป็นต้น

(1.2) ตะกอเขาย่ำ จัดเก็บตะกอเขาย่ำเพื่อทอโครงสร้างผ้าแบบลายขัด คือ การเก็บตะกอ 2 ตะกอเข้ากับไหมเส้นยืนให้เป็น 2 ชุด สลับกัน

(1.3) ตะกอเขาดอก เป็นตะกอที่ทำให้เกิดลวดลาย โดยใช้ตะกอเขาดอกไม่ต่ำกว่า 15 ตะกอ พาดลงบนเส้นไหมยืน เก็บตะกอตามการออกแบบ

(2) การเตรียมเส้นไหม

(2.1) การเตรียมเส้นยืน

ม้วนไหมเส้นยืนเข้าอยู่ในแกนม้วนใบพัด ซึ่งเริ่มจากการกรอไหมใส่หลอดหรือท่อ และนำมาดั่งในหลักหน้าม้าเดินไหม ทำการเดินต้นเส้นไหมให้ได้ขนาดความกว้างและความยาวของผ้าที่ต้องการซึ่งคำนวณจากความถี่ของเส้นยืน หรือฟืมที่ใช้คือ 48 – 50 ช่องต่อนิ้ว

(2.2) การเตรียมเส้นพุ่ง

กรอไหมเส้นพุ่งเข้ากับหลอดขนาดเล็ก โดยควบรวมเส้นไหมให้ได้ขนาดที่ต้องการ นำมาใส่ในกระสวยพุ่งมือ กระสวยละ 1 หลอด เพื่อให้กระสวยเป็นตัวนำเส้นพุ่งสอดขัดเส้นยืน

(3) การทอ

(3.1) กดเครื่องแยกหมู่ตะกอ (ตะกอเขาย่ำ) เส้นไหมยืนชุดที่ 1 จะถูกแยกออกและเกิดช่องว่างสอดกระสวยไหมพุ่งผ่านด้วยมือ สลับตะกอชุดที่ 1 ยกตะกอชุดที่ 2 สอดกระสวยไหมพุ่งกลับ ทำสลับกับกันเป็นการทอโครงสร้างผ้า

(3.2) กระทบฟันหวี (ฟืม) เมื่อลอดกระสวยด้ายพุ่งกลับก็จะกระทบฟ้นหวีเพื่อให้ไหมพุ่งแนบติดกัดกันจะได้เนื้อผ้าที่แน่นหนาให้กระทบแรงพอประมาณ ไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง

(3.3) ทอสลับกับการทอยก โดยยกตะกอเขาดอกให้ไหมยืนที่ต้องการยกขึ้น แล้วสอดไม้หลาบ(ไม้ดาบ) เพื่อค้ำเส้นไหมยกไว้ แล้วสอดกระสวยไหมพุ่งเพิ่มพิเศษเพื่อให้เกิดลวดลาย แล้วปลดไม้หลาบออก จากนั้นจึงกระทบฟืมอีกรอบ ไม่ดำกว่า 2 ครั้ง ต้องไล่ทอจากตะกอแรกถึงตะกอสูดท้าย แล้วทอวนกลับครบรอบก็จะได้ลวดลายหนึ่งดอกตามที่ออกแบบไว้ โดยทอยกสลับกับทอโครงสร้างผ้า

(3.4) การทอผ้าพื้นให้ทอโดยใช้ไหมพุ่ง 2 กระสวย ทอสลับตลอดความยาวผ้าพื้น

(3.5) เก็บหรือม้วนผ้าเมื่อทอผ้าได้พอประมาณแล้ว จึงจะม้วนเก็บในแกนผ้าโดนผ่อนเกนด้ายยืนให้คลายออก และปรับความตึงหย่อนไหมให้พอเหมาะ

(4) การตกแต่งผ้า

(4.1) ผ้าไหมยกดอกที่ทอเสร็จแล้ว ต้องมีการเย็บริมผ้าด้วยเข็มเย็บด้วยมือ (เย็บเนา) โดยให้ใช้ไหมที่เป็นเส้นพุ่งโครงสร้างผ้าผืนนั้นๆเป็นด้ายสำหรับเย็บริมผ้า และให้เย็บม้วนไปด้านหลังของผ้าผืนนั้นๆ

(4.2) ให้ตัดแต่งรอยต่อเส้นไหมที่ปรากฏให้เห็นบนด้านหน้าของผืนผ้านั้นให้เรียบเนียนหมดตลอดของเนื้อผ้า ส่วนด้านหลังของผืนผ้าให้ตัดแต่งเส้นไหมต่อเฉพาะที่มีความยาวเกินสมควร

ลักษณะภูมิประเทศ

ลำพูนเป็นจังหวัดทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย มี 3 ฤดู คือฤดูร้อน ฤดูฝนและฤดูหนาว พื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 310 เมตร อยู่ห่างไกลจากทะเล สินค้าเกษตรที่สำคัญคือ ลำไย พื้นที่ที่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ป้จจบันอยู่ในแถบแม่น้ำลี้ เนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนกรวดหรือเศษหิน พบบริเวณพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดถึงเนินเขา ความลาดชั้นประมาณร้อยละ 3 – 25 มีความอุดมสมบูรณ์ดามธรรมชาติพอใช้

ประวัติความเป็นมา

ลำพูนหรือนครหริภุญชัยในอดีตสมัยพระะนางจามเทวีกล่าวขานว่าเป็นแผ่นดินทองของล้านนาแต่จุดกำเนิดของผ้ายกดอกของที่นี่ เริ่มในสมัยที่เรียกว่า เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง ในช่วงปี พ.ศ. 2348 พญากาวิละเจ้าเมืองเชียงใหม่ ได้กวาดต้อนชาวไตลื้อจากเมืองยอง สิบสองปันนา ซึ่งมีกลุ่มชนชนชั้นเจ้านายรวมอยู่ด้วย มาอยู่ลำพูนซึ่งขณะนั้นแทบจะเป็นเมืองร้าง โดยให้อยู่กระจัดกระจายทั่วลำพูน และสร้างเวียงยองขึ้นที่ฝั่งแม่น้ำกวงด้านตะวันออกของลำพูนให้เจ้ายองอยู่ การเดินทางของชนชาวยองในชั้นเจ้านายนี้เป็นการนำวิชาแขนงต่างๆ เข้ามาด้วย โดยเฉพาะการทอผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของชนชาวยองในกลุ่มชนชั้นสูง ที่วัดถุดิบเป็นเส้นไหมมากกว่าเส้นฝ้ายที่ใช้กันในชนชั้นล่างลงไป กาลเวลาล่วงไปนับร้อยปี พระราชชายาเจ้าดารัศมี ทรงฟื้นฟูผ้าไหมยกดอก และได้นำความรู้ที่เรียนรู้มาจากราชสำนักส่วนกลางในกรุงเทพฯมาประยุกต์ จนเป็นผ้าไหมยกดอกที่มีลวดลายสวยงามแปลกดาและวิจิตรบรรจง และถ่ายทอดให้แก่เจ้าหญิงส่วนบุญ และเจ้าหญิงลำเจียกซึ่งเป็นชายาและธิดาของเจ้าจักรคำ ขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์สุดท้าย

จากนั้น การทอผ้าไหมยกดอกจึงแพร่หลายทั่วไปและทอกันมากในตำบลเวียงยองและบริเวณใกล้เคียงคียงที่เป็นชุมชนของเจ้านายยองในอดีด ผ้าไหมยกดอกลำพูนจึงเป็นมรดกทางหัตถกรรมของชนชั้นสูงที่ถ่ายทอดสืบกันมา


ทั้งนี้ขอบเขตของการผลิตผ้าไหมยกดอกลำพูน อยู่ในพื้นที่จังหวัดลำพูน

fLPN 00