“ผ้าครามธรรมชาติสกลนคร” GI ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากบรรพบุรุษ

“ผ้าครามธรรมชาติสกลนคร” (Sakon Nakhon Natural Indigo Dyed Frabic) หมายถึง ผ้าฝ้ายที่ผ่านกระบวนการย้อมครามธรรมชาติดามภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร ทำให้ได้สีฟ้าอ่อนถึงสีน้ำเงินเข้ม เป็นมันวาว ไม่ตกสี มีกลิ่นเฉพาะตัว ทั้งนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI) ” ผ้าครามธรรมชาติสกลนคร” เมื่อ 11 มีนาคม พ.ศ.2558

12547318 1700202730219366 1906721322 n

วัตถุดิบ

(1) ต้นคราม ปลูกและเก็บเกี่ยวในพื้นที่จังหวัดลกลนคร มี 2 สายพันธุ์ คือ

(1.1) ต้นครามใหญ่ (Indigofera suffruticosa MWI) ฝักโค้งงอมีลักษณะต้นเป็นพุ่ม สูงกว่าครามฝักตรง ใบรี เรียงสลับแบบขนนก ฝักมีขน เมล็ดค่อนข้างเหลี่ยม สีน้ำตาลเข้มเกือบดำ

1.2)ต้นครามน้อย (Indigofera tinctoria L.) ฝักตรง มีลักษณะต้นเป็นพุ่ม ใบมน เรียงสลับแบบขนนก ฝักไม่มีขน เมล็ดกลมมีสีเหลืองฟาง

(2) เนื้อคราม ได้จากการแช่ใบครามสดจากต้นครามที่ปลูกในพื้นที่สกลนครตามกระบวนการและภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดสกลนคร จนได้เนื้อคราม (indgo cake)

( 3) เส้นใย คือ เส้นฝ้ายเข็นมือ และหรือ เส้นฝ้ายแท้ 100 เปอร์เซ็นต์ที่ผลิตในประเทศไทย

37396594 2025252374192251 6449297611496095744 n

วิธีการผลิต

ผ้าครามธรรมชาติสกลนคร ผลิตและย้อมในพื้นที่จังหวัดสกลนคร มีขั้นตอนดังนี้

(1) การเตรียมเนื้อคราม

(1.1) การปลูกและเก็บเกี่ยว ต้นครามปลูกได้ดีในที่มีแสงแดดเพียงพอ และน้ำไม่ท่วมขัง ปลูกได้ทุกพื้นที่ในจังหวัดสกลนคร โดยจะเก็บเกี่ยวใบสดพร้อมกิ่งจากต้นครามอายุ 3 -4 เดือน ในช่วงเช้ามืด และนำไปแช่น้ำทันที

(1.2) การแช่และกวนคราม นำกิ่งและใบครามสด แช่น้ำไว้ 10 – 12 ชั่วโมง จึงกลับใบคราม แช่ต่อไป 10 – 12 ชั่วโมง แยกกากออก เติมปูนขาวพักไว้ 1 คืน รินน้ำใสทิ้ง เก็บเป็นเนื้อครามเปียกหรือขึ้นอยู่กับการใช้งานในขั้นตอนก่อหม้อ

(1.3) การก่อหม้อเตรียมน้ำย้อม นำเนื้อครามเปียก (indigo cake) ผสมน้ำขี้เถ้าแล้วตักน้ำย้อมขึ้น แล้วเทกลับคืนในโอ่ง 2 – 3 ครั้ง ทุกเช้า – เย็นกว่าน้ำย้อมจะเป็นสีเหลืองอมเขียวหรือเขียวยอดตอง ขุ่นข้นฟองสีน้ำเงินเข้มวาว ไม่แดกยุบ แสดงว่าเกิดสีคราม (๓๕go white) ในน้ำย้อมแล้ว ใช้เวลาประมาณ 15 – 20 วัน

(2) การย้อมคราม ทำได้ 2 วิธี ดังนี้

1) การย้อมเส้นใย นำเส้นใยฝ้ายหรือฝ้ายมัดหมี่ มาทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาด บิดให้หมาดและนำไปย้อม จากนั้นล้างให้สะอาด ดากให้แห้งในที่ร่ม แล้วจึงนำไปทอเป็นผืนตามลวดลายที่ต้องการ

(2.2) การย้อมทั้งผืน นำผ้าฝ้ายผืนที่ไม่ผ่านการย้อมมาทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาด ทำการบิดให้หมาดและนำไปย้อม จากนั้นล้างให้สะอาด ตากให้แห้งในที่ร่ม

ลักษณะภูมิประเทศ

จังหวัดสกลนคร โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง ล้อมรอบด้วยภูเขาและป่าไม้มีแดดจัด ปริมาณน้ำฝนในฤดูปลูกคราม (ช่วงเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2557) 270 – 500 มิลลิเมตรต่อวัน และน้ำฝนไหลลงสู่ลุ่มน้ำสงครามไม่ท่วมขัง ความสมบูรณ์ของทรัพยากรนี้ทำให้มีพื้นที่ปลูกครามกันทั่วไปในจังหวัดสกลนคร โดยปลูกมากที่ราบเชิงเขา บริเวณอำเภอกุดบาก อำเภอพรรณานิคม และอำเภออากาศอำนวย สภาพภูมิอากาศ ค่อนข้างหนาวในฤดูหนาว และร้อนอบอ้าวในฤดูร้อน อุณหภูมิเฉลี่ย 26.20 องศาเซลเซียส แดดจัดช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม สำหรับปริมาณน้ำฝน ของจังหวัดสกลนครค่อนข้างมาก คือ เฉลี่ย 1,578มิลลิเมตรต่อปี

ด้วยสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศของจังหวัดสกลนครดังกล่าว จึงเหมาะแก่การเจริญเติบโตของต้นครามที่ชอบแดดจัด ได้รับน้ำสม่ำเสมอและไม่ท่วมขัง ประกอบกับอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการแช่ใบครามและการหมักน้ำย้อม ทำให้เกิดสีผสมของสีเหลืองอมเขียว ส่งผลต่อการย้อมเส้นใยที่ทำให้สีไม่ตกและทำให้น้ำครามมีคุณภาพดีเป็นที่นิยม มีสีสดใส เพราะคุณภาพของสีคราม จากต้นครามที่สมบูรณ์ที่ปลูกในจังหวัดสกลนครทำให้การย้อมครามในท้องถิ่นไม่เคยขาดแคลนน้ำคราม และด้วยสภาพภูมิอากาศของสกลนครที่เหมาะสมได้หล่อหลอมให้เกิดภูมิปัญญาการเตรียมน้ำย้อมและดูแลหม้อครามด้วยความชำนาญ

ประวัติความเป็นมา

สีคราม (Indigo) เป็นสีธรรมชาติที่เก่าแก่และอยู่บนโลกมายาวนานกว่า 6,000 ปี ถูกเรียกว่า “ราชาแห่งสีย้อม” หรือ “The King of Dye” สีครามหรือสีน้ำเงินหรือโทนสีฟ้า เป็นสีย้อมธรรมชาติที่เก่าแก่ที่สุด หลายประเทศของเอเชียพบหลักฐานการทำผ้าย้อมคราม ในประเทศไทยมีหลักฐานปรากฏมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในศิลาจารึกวัดช้างล้อม กล่าวถึง “เจ้าพนมไสดำออกบวช ได้สร้างพิหารประดิษฐานพระพุทธรูป สร้างหอพระไตรปิฎก ปลูกต้นศรีมหาโพธิ สร้างพระบฏ ตอนที่กล่าวถึง “คราม” นั้นอยู่ในบรรทัดที่ 17พรรณนาถึงสีของพระธาตุที่ปรากฏให้เห็นว่า มีสีใสงามดัง ผลึกแก้วเขียวเหมือนสีผ้าที่ย้อมคราม ” .ใสงามดังผลึกรัดนแก้วเขียว ในกลางดังผ้าอันท่านชุบคราม.”

การใช้สีธรรมชาติคราม เป็นการได้สีครามมาจากพืชดั้งเดิมที่พบในที่ราบสูงภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือและชนกลุ่มน้อยในพื้นที่ดังกล่าวมีวัฒนธรรมการแต่งกายด้วยเครื่องนุ่งห่มใช้สีดำหรือสีน้ำเงินเป็นหลัก เพราะสามารถปลูกครามและฝ้ายได้เองเป็นภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษเรื่องการทำผ้าย้อมคราม

จังหวัดสกลนครมีหลายกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น ลาวอีสาน ภูไท ไทฌ้อ กะเลิง โส้ โย้ย เป็นต้น ซึ่งล้วนมีวัฒนธรรมการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ร่วม คือ นิยมใช้เสื้อผ้าเป็นสีดำและสีน้ำเงิน ที่มาจากการย้อมคราม ผ้าย้อมครามจึงอยู่ในวิถีชีวิตตั้งแต่บรรพบุรุษในอดีตเป็นต้นมา ผ้าครามธรรมชาติสกลนครมีลวดลายหลากหลาย พัฒนามาจากซิ่นหมี่รวด มัดหมี่เส้นพุ่งและทอแบบลายขัด (หมี่รวด หมายถึง ลายหมี่เต็มผืนซิ่น)

เมื่อราว 20 ปีก่อน มีการสร้างลายหมี่บางส่วนของผืนผ้า สำหรับเป็นผ้าถุงที่มีเชิง ต่อมามีการนำผ้ามัดหมื่ย้อมครามไปดัดเสื้อ จึงพัฒนาไปสู่การสร้างลายหมี่เล็กลง และลดจำนวนลายหมี่ในผืนผ้าลง จนใช้ตัดเสื้อสำหรับบุรุษได้ด้วย ผ้าย้อมครามธรรมชาติแท้ จึงมีจุดเด่นจาก 2 ส่วน คือ สีคราม แม้จะย้อมให้เข้มหรือจางก็ให้สีสดใสเป็นเงางาม ติดเนื้อผ้าทนนาน ส่วนที่ 2 เป็นความดีเด่นของเส้นใยฝ้ายที่มีคุณสมบัติระบายอากาศและซับน้ำได้ดี ยิ่งซักยิ่งนุ่ม ผ้าย้อมครามจึงแพร่กระจายเป็นที่รู้จัก ทำให้ชาวบ้านทอผ้ามากขึ้น อีกทั้งปัจจุบันคุณภาพของเนื้อความสกลนครเป็นที่ยอมรับจึงได้มีการส่งจำหน่ายไปยังพื้นที่อื่นนอกจังหวัดสกลนคร และยังได้มีการส่งออกผ้าย้อมครามธรรมชาติสกลนครสู่ตลาดในประเทศและต่างประเทศ

ทั้งนี้ขอบเขตพื้นที่การผลิดผ้าครามธรรมชาติสกลนคร ครอบคลุมพื้นที่ในเขด 18 อำเภอ ของจังหวัดสกลนคร

fSN 00 แก้