“หอมแดงศรีสะเกษ”GI ใหญ่- แห้ง- แดง- มัน- คอเล็ก พืชเศรษฐกิจสำคัญ ของดีจังหวัดศรีสะเกษ

“หอมแดงศรีสะเกษ” (Hom Dang Sisaket และ/หรือ Sisaket Shallot) หมายถึง หอมแดงพันธุ์ศรีสะเกษ มีลักษณะเปลือกแห้งมัน สีแดงเข้มปนม่วง หัวมีลักษณะกลม มีกลิ่นฉุน ซึ่งปลูกในพื้นที่ อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอราษีไศล อำเภอยางชุมน้อย อำเภอกันทรารมย์ อำเภออุทุมพรพิสัย อำเภอวังหิน และอำเภอพยุห์ ของจังหวัดศรีสะเกษ กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI ) “หอมแดงศรีสะเกษ” เมื่อ 18 มิถุนายน 2563

299207952 739561970774468 7059885600173189810 n

การปลูก

(1) หัวพันธุ์หอมแดง ต้องใช้หัวพันธุ์สะอาด ปลอดโรคและแมลง

(2) พื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกหอมแดง เป็นแหล่งที่ไม่มีน้ำขัง สภาพพื้นที่ราบเรียบ ดินร่วนซุย มีการระบายน้ำดี อยู่ใกล้แหล่งน้ำ

(3) ฤดูที่เหมาะสมในการปลูกเพื่อบริโภค คือ ช่วงเดือนตุลาคม-มกราคม

299039085 739561967441135 4206726701471495881 n

(4) ระยะปลูกอยู่ระหว่าง 10 x 10 เซนติเมตร ถึง 20 x 20 เซนติเมตร หรือตามความเหมาะสมของพื้นที่ ก่อนปลูกควรรดน้ำแปลงปลูกให้ดินชุ่ม นำหัวพันธุ์ปลูกลงในแปลง เอาส่วนโคนจิ้มลงไปในดินประมาณครึ่งหัว หลังปลูกใช้ฟางแห้งคลุมแปลง และรดน้ำให้ชุ่ม

(5) การให้น้ำ ควรให้น้ำสม่ำเสมอ ระยะยะปลูกใหม่ควรให้น้ำทุกวัน หอมแดงในช่วงการเจริญเติบโด ให้น้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ ก่อนเก็บเกี่ยว ควรลดการให้น้ำเพื่อให้หัวหอมแข็งแรง และลดความชื้นในหัวหอม ทำให้เก็บหอมแดงได้นาน

(6) การดูแลรักษา ควรให้ปุ๋ยแก่หอมแดงในปริมาณที่เพียงพอ และเหมาะสมในแต่ละช่วงการเจริญเติบโต คลุมดินเพื่อรักษาความชื้น และเป็นการควบคุมกำจัดวัชพืช และดูแลป้องกันกำจัดโรคและแมลงอย่างเหมาะสม

ลักษณะภูมิประเทศ

จังหวัดศรีสะเกษ พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดศรีสะเกษเป็นที่ราบสูงโคราชสลับทุ่งนามีภูเขาและป่าไม้อยู่ทางตอนใต้ติดแนวเทือกเขาพนมดงรักซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศไทยและกัมพูชาเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำหลายสาย และพื้นที่จะค่อยๆ ลาดมาทิศเหนือและทิศตะวันตกเกิดเป็นลำน้ำสาขาขนาดใหญ่และเล็กหลายสาย เช่น ห้วยทา ห้วยทับทัน ห้วยสำราญ ลำน้ำน้ำมูลส่วนที่ 3 เป็นต้น แล้วจึงไหลไปรวมกันตลอดระยะทางที่ลำน้ำน้ำมูลและลำน้ำชีไหลผ่านส่งผลให้พื้นที่ปลูกหอมแดงมีแหล่งน้ำใต้ดินที่อุดมสมบูรณ์

พื้นที่ในเขตลุ่มน้ำมูลของจังหวัดศรีสะเกษ เป็นดินตะกอนเชิงซ้อนที่มีการะบายน้ำและดินบริเวณที่ราบลุ่ม เกิดจากตะกอนลำน้ำพัดพามาทับถมกัน ดินที่พบส่วนใหญ่มีลักษณะการระบายน้ำค่อนข้างเลวถึงเลว ซึ่งตะกอนดินที่ทับถมกันเป็นเวลานานส่งผลให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงเหมาะแก่การปลูกหอมแดงให้ได้คุณภาพดี

ลักษณะภูมิอากาศ

จังหวัดศรีสะเกษ มีสภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปเป็นแบบอากาศร้อนจัดในถูดูร้อน และค่อนข้างหนาวในฤดูหนาว ส่วนฤดูฝนจะมีฝนตกมากในเดือนกันยายน โดยมักจะตกหนักในพื้นที่ตอนกลางและตอนใต้ของจังหวัด ส่วนพื้นที่ทางตอนเหนือของจังหวัดมีปริมาณฝนตกน้อย และการกระจายตัวของฝนไม่สม่ำเสมอได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสมตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 10 องศาเซลเซียส สูงสุดประมาณ 40 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยร้อยละ 66 – 73

ภูมิอากาศของจังหวัดศรีสะเกษที่ฤดูหนาวไม่หนาวมากจนเกินไปและมีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยที่เหมาะสมระหว่างร้อยละ 60 – 70 ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ทำให้จังหวัดศรีสะเกษเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของหอมแดง ซึ่งให้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี จากสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศดังกล่าว จึงส่งผลให้หอมแดงที่ปลูกในจังหวัดศรีสะเกษ มีลักษณะสีเปลือกนอกสีแดงปนม่วง เปลือกหนาและเหนียวมีกลิ่นฉุน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของหอมแดงศรีสะเกษ

ประวัติความเป็นมา

หอมแดงเป็นพืชผักและสมุนไพรที่คนไทยรู้จักและคุ้นเคยมานาน มีการปลูกต่อเนื่องกันมาอย่างยาวนานทั้งในแบบเพื่อเป็นรายได้เสริมหลังดูการทำนาและเพื่อการเก็บไว้บริโภคในครัวเรือน สันนิษฐานว่าหอมแดงมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันตกเฉียงได้ แถบประเทศอัฟกานิสถานและอิหร่าน โดยการกลายพันธุ์ตามธรรมชาติมาจากหอมใหญ่และมีการคัดเลือกพันธุ์ โดยหอมแดงเป็นพืชอาหารตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 12 ในประเทศฝรั่งเศส

ในส่วนของจังหวัดศรีสะเกษ มีเล่าต่อกันมาว่าหอมแดงศรีสะเกษปลูกจากดินโพนหรือดินจอมปลวก ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของปราชญ์ชาวบ้านที่คิดค้นเพื่อแก้ไขปัญหาในการปลูกหอมแดงให้ได้ผลผลิตดียิ่งขึ้น พื้นที่ในการปลูกหอมแดงของจังหวัดศรีสะเกษเป็นดินมูลทราย ที่เป็นดินตะกอนลุ่มน้ำโบราณลำน้ำมูลและลำน้ำสาขา พัดพาตะกอนดินสะสมทับถมกันเป็นระยะเวลานานทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง และเมื่อใช้ผสมกับดินจอมปลวกที่มีคุณสมบัติดีเด่นหลายประการ จึงเป็นที่มาของความหอมและความอร่อยของเนื้อหอมแดงคุณภาพ ลักษณะเด่นของหอมแดงศรีสะเกษกล่าวสั้นๆ ได้ว่า “ใหญ่ แห้ง แดง มัน คอเล็ก” หอมแดงจึงกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญและมีชื่อเสียงอีกอย่างหนึ่งของศรีสะเกษมาจนถึงปัจจุบัน


ทั้งนี้ขอบเขตพื้นที่การปลูกหอมแดงศรีสะเกษ ครอบคลุมเขตพื้นที่อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอราษีไศล อำเภอยางชุมน้อย อำเภอกันทรารมย์ อำเภออุทุมพรพิสัย อำเภอวังหิน และอำเภอพยุห์

GI63100142 page 0006vvv