“ส้มสีทองน่าน” (Nan Golden Orange) หมายถึง ส้มพันธุ์ส้มเขียวหวาน ที่มีผิวสีเหลืองทอง เปลือกบาง รสชาติหวาน อมเปรี้ยว เส้นใยน้อย ไม่ฉ่ำน้ำ ผลทรงแป้น หัวและท้ายบุ๋ม ที่ปลูกในเขตพื้นที่จังหวัดน่าน ทั้งนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI) “ส้มสีทองน่าน “เมื่อวันที่ 18 ก.ย. พ.ศ.2556
การปลูก
(1) สภาพพื้นที่ปลูกส้มสีทองน่าน จะต้องเตรียมพื้นที่ ดังนี้
(1.1) พื้นที่ดอน ไถดินให้ลึกประมาณ 30 – 40 เซนติเมตร ปรับพื้นที่แปลงเป็นลอนลูกฟูกขวางทางแสงอาทิตย์กว้างประมาณ 3 เมตร สูงประมาณ 40 เซนดิเมดร การปลูกควรมีระยะห่างระหว่างต้น 4 เมตร และระยะห่างระหว่างแถว 6 เมตร หรือตามความเหมาะสมของพื้นที่
(1.2) พื้นที่ลุ่ม ขุดเป็นร่องหรือยกร่อง โดยมีสันร่องกว้างประมาณ 6 เมตร การยกร่องควรทำขวางทางแสงอาทิตย์ ขนาดร่องน้ำกว้าง 1.50 เมตร ลึก 1 เมดร กันร่องน้ำกว้าง 70 เซนติเมตร ดามความเหมาะสมของพื้นที่ หากเป็นพื้นที่ลุ่มมากต้องทำคันกั้นน้ำรอบสวนมีท่อระบายน้ำเข้า – ออกจากสวนได้
(2) ขั้นตอนการปลูก
(2.1) ควรปลูกกึ่งกลางแปลง โดยขุดหลุมขนาด กว้าง ยาว ลึก ประมาณ 50 เชนติเมตร ผสมดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์หรือตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่
(2.2) นำต้นพันธุ์ลงปลูกโดยเขย่าวัสดุปลูกที่ติดอยู่กับรากออกให้หมด ควรยืดรากแก้วให้ตรง ตัดส่วนยอดและใบออกบ้าง ผูกต้นติดกับหลักป้องกันการโยกคลอน รดนำให้ชุ่ม คลุมโคนต้นด้วยฟางข้าว
(2.3) การตัดแต่งกิ่ง ควรทำสม่ำเสมอเมื่อเริ่มปลูกไปจนกระทั่งส้มให้ผล ในช่วงแรกควรเด็ดยอดส้มที่ปลูกใหม่ เพื่อให้แตกกิ่งใหม่ และตัดแต่งในช่วงหลังเก็บเกี่ยวผลแล้ว
(2.4) หลังติดผล ทำการปลิดผลในกิ่งที่ติดผลมากๆ ออก ตัดผลที่เป็นโรคออก ค้ำยันกิ่ง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักจากการรับน้ำหนัก หรือลมแรง
การเก็บเกี่ยว
(1) ระยะเก็บผลผลิตที่เหมาะสมนับจากวันออกดอกถึงเก็บผลใช้เวลาประมาณ 8 เดือนครึ่ง ถึง 10เดือน ผลส้มที่พร้อมเก็บเกี่ยว ควรมีผิวสีเขียวอมเหลืองหรือเหลืองเข้ม และความแข็งของผลส้มลดลง
( 2 ) วิธีการเก็บ ใช้วิธีปลิดโดยใช้มือจับทางด้านใต้ผลขึ้นไป แล้วหักพับบริเวณขั้วผลไปด้านหนึ่ง แต่หากจะนำผลส้มไปเคลือบผิวก่อนจำหน่าย ควรเก็บเกี่ยวโดยใช้กรรไกรตัดก้านผลให้ชิดกับขั้วผล
ลักษณะภูมิประเทศ
จังหวัดน่าน เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนบน มีทิวเขาหลวงพระบางและทิวเขาผีปันน้ำ ซึ่งเป็นทิวเขาหินแกรนิต ที่มีความสูง 600 – 1,200 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ลักษณะโดยทั่วไปที่สูงชัน ที่สูง ที่ราบและที่ดอน จังหวัดน่านเป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตมรสุมดะวันออกเฉียงใต้ และลักษณะภูมิประเทศเป็นแบบภูเขาสูงสลับกับที่ราบ ซึ่งทำให้ลักษณะภูมิอากาศมีความแตกต่างกัน ทำให้ในตอนกลางวันได้รับอิทธิพลของแสงแดดทำให้อุณหภูมิร้อนมาก และในตอนกลางคืนจะได้รับอิทธิทธิพลของลมภูเขาพัดลงสู่หุบเขา ทำให้อากาศเย็นในตอนกลางคืน อุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนจึงต่างกันมาก โดยเฉพาะในฤดูหนาว
ประวัติความเป็นมา
เดิมจังหวัดน่านไม่มีต้นส้มรสดี เมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2468 ได้มีผู้นำพืชตระกูลส้ม คือ ส้มจีน (ลูกโตกว่าส้มเขียวหวาน) เข้ามาปลูกในจังหวัดน่านเป็นคนแรก คือ “หมื่นระกำ” ผู้คุมนักโทษเรือนจำจังหวัดน่าน หลังจากนั้นก็ได้มีการนำส้มพันธุ์อื่นๆ มาปลูกในจังหวัดน่านเพิ่มขึ้น สำหรับส้มเขียวหวานนั้น หลวงสุนทรเษก ซึ่งรับราชการเป็นธรรมการจังหวัดน่านหรือศึกษาธิการจังหวัดน่านในขณะนั้น ได้นำพันธุ์มาจากบางมด จังหวัดพระนคร มาปลูกครั้งแรกที่บ้านสมุน ตำบลดูได้ อำเภอเมือง ประมาณ 20 ต้น แต่การปลูกช่วงนั้นก็ยังไม่แพร่หลาย
จนกระทั่งในในปี พ.ศ.2480 อาจารย์คำรพ นุชนิยม อดีตศึกษาธิการจังหวัดน่าน ปลูกส้มเขียวหวานด้วยการตอนกิ่ง ซึ่งทำให้ผลส้มที่ปลูกมีลักษณะพิเศษคือ เปลือกของส้มแทนที่จะมีสีเขียวทั่วไป แต่กลับกลายเป็นสีเหลืองทองสวยงาม รสชาติหวานหอม อร่อยกว่าพันธุ์ตั้งเดิม ที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากอิทธิพลของอากาศ คือ อุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนที่ต่างกันถึง 8 องศาเซลเซียส ส่งผลทำให้สาร “คาร์ทีนอยพิดเมนท์” ในเปลือกส้มเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีทอง จนเป็นที่มาของ “ส้มสีทองน่าน” การปลูกส้มสีทองของจังหวัดน่านในช่วงแรกประสบปัญหาด้านโรคต่างๆ ทำให้เกษตรกรต้องลดพื้นที่การปลูกส้มลง
ในปี พ.ศ.2520 การปลูกส้มเริ่มฟื้นตัวอีกครั้ง เนื่องจากส้มราคาดีขึ้นประกอบกับ นายสายัณฑ์ เอี่ยมประชา เกษดรกรจังหวัดน่าน นำเกษดรกรสวนส้ม ส่งผลส้มเข้าประกวดในงานวันเกษตรแห่งชาติ ได้รับรางวัลชนะเลิศเมื่อปี พ.ศ.2526 และอีกหลายครั้ง
ส้มสีทอง ได้กลายเป็นเอกลักษณ์ประจำจังหวัดน่าน ทุกๆ ปี ช่วงประมาณกลางเดือนธันวาคม จังหวัดน่านได้กำหนดจัดงานเทศกาลส้มสีทองและงานกาชาดจังหวัดน่านขึ้น ซึ่งในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจ เช่น การประกวดขบวนรถส้มสีทอง และมหรสพด่างๆ อีกมากมาย