“ลิ้นจี่นครพนม ” ผลไม้ GI เงินล้าน

“ลิ้นจี่นครพนม” (Nakkhonphanom Lychee หรือ Litch)) หมายถึง ลิ้นจี่พันธุ์ นพ.1 ที่มีเปลือกสีแดงอมชมพู ผลขนาดใหญ่ ทรงรูปไข่ เนื้อผลแห้ง สีขาวขุ่น รสชาติหวานอมเปรี้ยว ไม่มีรสฝาด ซึ่งปลูกในเขตพื้นที่ตำบลขามเฒ่า ของอำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ทั้งนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI) “ลิ้นจี่นครพนม” เมื่อ 16 มิถุนายน 2557

ภาพข่าวกวก8 scaled 1

กระบวนการผลิต

การปลูก

(1) มีระยะห่างระหว่างต้นและแถว 8 x 8 – 10 x 10 เมตร หรือตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่

(2) หลุมปลูกขนาด กว้าง ยาว ลึก 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ถ้าดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินน้อยให้ทำหลุมมีขนาดกว้างขึ้น รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 10 – 20 กิโลกรัม หรือตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่

(3) นำกิ่งพันธุ์ลงปลูกกลางหลุม กลบดินโดยรอบ กลบให้แน่น บังด้วยร่มเงา รดน้ำพอเหมาะ

(4) การตัดแต่งกิ่งให้ทำหลังเก็บเกี่ยวผลแล้ว โดยตัดแต่งกิ่งเป็นทรงพุ่มโปร่ง ให้ตัดกิ่งที่ฉีกหัก กิ่งที่คาดว่าไม่ออกผลแล้ว กิ่งที่ไม่แข็งแรง กิ่งที่เป็นโรคแมลงทำลาย กิ่งแห้งกิ่งกระโดง โดยตัดให้ชิดโคนกิ่งแล้วทาด้วยปูนขาวหรือสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา

IMG 0003


การเก็บเกี่ยว

(1)วิธีสังเกตผลแก่ คือ หลังจากดอกบานประมาณ 3 เดือน ขนาดผลโตเต็มที่ สีเปลี่ยนจากสีแดงเข้ม ฐานของหนามที่เปลือกขยายออกร่องหนามถ่างออกเห็นได้ชัด

( 2 )เก็บในช่วงแดดไม่จัด หลังเก็บผลลิ้นจี่จากต้นแล้ว นำไปรวมในที่ร่ม ทำการตัดแต่งช่อผมและจัดชั้นคุณภาพ

(3) การเก็บรักษาผลผลิตเพื่อรักษาคุณภาพควรเก็บไว้ที่อุณหภูมิไม่เกิน 20 องศาเซลเซียส


ลักษณะภูมิประเทศ

จังหวัดนตรพนม มีลักษณะภูมิประเทศทั่วไปเป็นที่ราบสูง สภาพภูมิประเทศแบ่งเป็นเขตตอนเหนือที่มีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินสูงและที่ดอน มีป่าไม้สลับกับพื้นที่ราบที่ใช้ทำนา มีแม่น้ำสงครามและแม่น้ำอูนไหลผ่าน และเขตตอนใต้ เป็นพื้นที่บริเวณใกล้แม่น้ำโขงทางทิศตะวันออก เป็นที่ราบลุ่มตำบลขามเฒ่า อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม อยู่ในเขตตอนใต้ทางฝั่งทิศตะวันออก พื้นที่ส่วน
ใหญ่เป็นที่ราบลุ่มอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงและพื้นที่ดอนบางส่วน ลักษณะดินเป็นดินร่วนผสมลูกรัง

ลักษณะภูมิอากาศ

ตำบลขามเฒ่า ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุม และอิทธิพลจากป่าไม้และเทือกเขาจากสาธารณรัฐประชาธิปไดยประชาชนลาว รวมทั้งพายุจากทะเลจีนใต้ที่เคลื่อนผ่านหรือเคลื่อนเข้าใกล้ ทำให้มีฝนตกชุกในฤดูฝน และมีอากาศเย็นในฤดูหนาว
จากลักษณะภูมิประเทศและลักษณะภูมิอากาศดังกล่าว ทำให้ลิ้นจี่ที่ปลูกในพื้นที่ตำบลขามเฒ่า อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม มีรสชาติและลักษณะที่แตกต่างไปจากลิ่นจี่ที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดอื่น กล่าวคือ มีทรงผลรูปไข่ ไหล่ผลกว้าง ปลายผลมนป้าน หนามทู่และห่าง เปลือกแดงอมชมพู เนื้อผลแห้งสีขาวขุ่น รสหวานอมเปรี้ยว น้ำน้อย เห็นล่องชาดชัดเจน ผลโต เป็นต้น

ประวัติความเป็นมา

เมื่อปี พ.ศ.2499 ที่วัดศรีเทพประดิษฐาราม อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม มีญาติโยมนำลิ้นจี่มาถวายหลวงปีจันทร์ (เจ้าคุณสารภาณมุณี) เจ้าคณะจังหวัดนครพนม เมื่อท่านได้ฉันแล้วเห็นว่ารสชาติดี จึงได้นำเมล็ดลิ้นจี่นั้นให้พระเณรและญาติโยมนำไปปลูก แต่มีเพียงสามเณรวีระ สุทธิโสม ที่ได้นำเมล็ดพันธุ์ลิ้นจี่ไปให้โยมพ่อ – แม่ คือ นายอวนและนางสว่าง สุทธิโสม ปลูกในบริเวณบ้าน ที่บ้านนาโดน ตำบลขามเฒ่าอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม เพาะเมล็ดปลูกได้ต้นลิ้นจี่ 10 ต้น

ต่อมาปี พ.ศ.2533 – 2535 กรมวิชาการเกษตรโดยสถานีทดลองพืชสวนนครพนม ได้ทำการศึกษาและคัดเลือกพันธุ์ลิ้นจี่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ได้ 2 สายพันธุ์ คือ นครพนม 1 (นพ.1) และนครพนม 2 (นพ.2) จากนั้นได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบลิ้นจี่ทั้ง 2 สายพันธุ์ พบว่า พันธุ์นครพนม 1 มีลักษณะที่ดีกว่าทั้งปริมาณและคุณภาพผลผลิด จึงได้ศึกษาเพิ่มเติมและเสนอเป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตร ในปี 2536 โดยใช้ชื่อพันธุ์ว่า “ลิ้นจี่ นพ.1” ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ลิ้นจี่พันธุ์นาโดน” หรือ “ลิ้นจี่บ้านนาโดน” ตามสถานที่กำเนิดและพื้นที่ปลูกด้วยความอร่อยและความมีชื่อเสียงของลิ้นจี่นครพนม จึงได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค

ปัจจุบัน ลิ้นจี่ นพ.1 เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ จีน เวียดนาม ซึ่งต้องการผลผลิตปีละ 500-1,000 ตัน แต่ผลผลิตของเรายังไม่เพียงพอ ซึ่งจากข้อมูลของด่านตรวจพืชนครพนม มีการส่งออกลิ้นจี่ นพ.1 จำนวนมากปีละมูลค่ากว่า 30 ล้านบาท


ทั้งนี้ขอบเขตพื้นที่การผลิตดลิ้นจี่นครพนม ครอบคลุมพื้นที่ในเขตตำบลขามเฒ่า อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม

56100101 no page 0004แก้