“มะปรางหวานนครนายก” GI ผลไม้ขึ้นชื่อ หวานกรอบ ไม่ระคายคอ

“มะปรางหวานนครนายก” (Maprangwhan Nakhonnayok) หมายถึง มะปรางหวานสีเหลืองทอง สดใส ผลใหญ่ยาวรี รสชาติหวานกรอบ มีกลิ่นหอม ซึ่งปลูกในเขตพื้นที่ อำเภอเมืองนครนายก อำเภอบ้านนา อำเภอปากพลี และอำเภอองครักษ์ ของจังหวัดนครนายก และกรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI ) “มะปรางหวานนครนายก” เมื่อ 31 มีนาคม 2559

10 14

การเตรียมดินและการปลูกมะปรางหวาน

(1) การเตรียมกิ่งพันธุ์มะปราง ต้องเป็นกิ่งพันธุ์ที่มีคุณภาพดีจากแหล่งในพื้นที่จังหวัดนครนายก ที่มีลักษณะแข็งแรง สมบูรณ์ ไม่มีโรคแมลงรบกวน และมีการชำอยู่ในวัสดุเพาะชำอย่างน้อย 2 ถึง 3 เดือน

(2) ปลูกได้ทั้งแบบยกร่องและพื้นราบ การปลูกแบบยกร่องควรใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 6 x 6 เมตร การปลูกในพื้นที่ราบหรือที่ดอนควรใช้ระยะห่างระหว่างต้น 8 x 8 เมตร หรือตามความเหมาะสมของพื้นที่

(3) การเตรียมดิน ขุดหลุมขนาดกว้าง 75 เซนติเมตร ลึก 50 – 100 เซนติเมตร ตากดินไว้ 15 ถึง 20 วัน จากนั้นนำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกมาใส่ในหลุม แล้วผสมให้เข้ากัน

(4) ปลูกในช่วงต้นฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม หรือเดือนมิถุนายน)

capture 20241123 161527 เป็น

การเก็บเกี่ยว

(1) เก็บเกี่ยวเมื่อมะปรางหวานสุก ผิวจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลือง อายุการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม คือ ระยะเวลาช่วง 70 – 80 วันนับจากวันที่เริ่มแทงช่อ หากอายุถึง 90 วัน มะปรางจะไม่เหมาะที่จะบริโภค

(2) วิธีการเก็บ ควรใช้กรรไกรตัดหรือใช้ตะกร้อสอย เก็บเกี่ยวด้วยความระมัดระวังไม่ให้ผลกระทบกระเทือนกันจนเกิดผลช้า โดยใช้วัสดุรองก้นภาชนะใส่ผลผลิต

(3) การเตรียมดิน ขุดหลุมขนาด กว้าง 75 เซนติเมตร ลึก 50 – 100 เซนติเมตร ตากดินไว้ 15 ถึง 20 วัน จากนั้นนำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกมาใส่ในหลุม แล้วผสมให้เข้ากัน

(4) ปลูกในช่วงต้นฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม หรือเดือนมิถุนายน)

การเก็บเกี่ยว

(1) เก็บเกี่ยวเมื่อมะปรางหวานสุก ผิวจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลือง อายุการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม คือระยะเวลาช่วง 70 – 80 วันนับจากวันที่เริ่มแทงช่อ หากอายุถึง 90 วัน มะปรางจะไม่เหมาะที่จะบริโภค

(2) วิธีการเก็บ ควรใช้กรรไกรตัดหรือใช้ดะกร้อสอย เก็บเกี่ยวด้วยความระมัดระวังไม่ให้ผลกระทบกระเทือนกันจนเกิดผลซ้ำ โดยใช้วัสดุรองก้นภาชนะใส่ผลผลิต

ลักษณะภูมิประเทศ

นครนายกมีสภาพทั่วไปเป็นที่ราบ ทางตอนเหนือและะตะวันออกเป็นภูเขาสูง อำเภอบ้านนา อำเภอปากพลี และอำเภอเมือง นอกจกจากนี้บางส่วนอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โดยมีภูเขาติดต่อกับเทือกเขาดงพญาเย็น ส่วนทางตอนกลางและตอนใต้เป็นที่ราบลุ่ม อยู่ในเขตอำเภอปากพลีและอำเภอองครักษ์ สภาพพื้นที่เป็นดินปนทรายที่เกิดการสะสมตัวของตะกอนที่ถูกน้ำพัดพามาซึ่งเหมาะกับการทำการเกษดร เนื่องจากเป็นดินที่อุ้มน้ำได้ดีและมีช่องว่างของเม็ดดินจึงทำให้มีการระบายน้ำและการถ่ายอากาศในดินได้ดี ต้นมะปรางจึงเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วประกอบกับสภาพภูมิอากาศของจังหวัดนครนายกมีลักษณะหนาวสลับร้อน จึงส่งผลทำให้มะปรางหวานนครนายกมีรสชาติดี และมีลักษณะที่โดดเด่นผลโต เม็ดลีบเล็ก รสชาติหวาน หอมกรอบ และมีสีเหลืองชวนรับประทาน

ประวัติความเป็นมา

ตำบลดงละครเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเมืองนครนายก เป็นพื้นที่ปลูกมะปรางอันเก่าแก่ แต่เดิมการปลูกมะปรางหลายพันธุ์ซึ่งให้รสชาติทั้งหวานและเปรี้ยว มีผลเล็ก แต่เม็ดใหญ่ เมื่อรับประทานแล้วระคายคอจึงไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค ชาวสวนจึงได้พยายามพัฒนาสายพันธุ์เพื่อให้ได้มะปรางสายพันธุ์ที่มีคุณภาพดี รสชาติหวาน ผลใหญ่ ให้ผลผลิตสม่ำเสมอ ซึ่งพบว่าพันธุ์ที่นำมาทดลองปลูกในพื้นที่จังหวัดนครนายก ส่วนใหญ่จะให้ผลขนาดใหญ่ รสชาติหวาน แต่มีข้อเสีย คือ เม็ดใหญ่ ให้ผลผลิตน้อย และไม่สม่ำเสมอทุกปี จนในปี 2539 จังหวัดนครนายกได้จัดงานมะยงชิด – มะปรางหวาน บริเวณด้านหน้าศาลากลางประจำปีของจังหวัดนครนายก เจ้าหน้าที่ของสำนักงานเขตจังหวัดนครนายกได้พบชาวสวนที่นำมะปรางและกิ่งพันธุ์มาจำหน่ายซึ่งมีสีสวยสะดุดตาจึงได้นำกิ่งพันธุ์มาปลูกที่สวนนพรัตน์ ตำบลดงละคร ปลูกได้ประมาณ 2 ปี มะปรางก็ให้ผลผลิตที่มีลักษณะเด่น คือ ผิวมีสีเหลืองทองสดใส ผลใหญ่ เม็ดลีบเล็ก รสชาติหวานกรอบ ไม่ระคายคอ จึงได้ขยายพันธุ์ โดยใช้ชื่อสายพันธ์ว่า “มะปรางหวานพันธุ์ทองนพรัตน์” และได้เพาะกิ่งพันธุ์เพิ่มขึ้นเพื่อให้ชาวสวนนำไปปลูก ซึ่งพบว่า มะปรางหวานพันธ์ทองนพรัตน์ที่ปลูกในพื้นที่ของจังหวัดนครนายก จะให้ผลผลิตที่เหมือนกันกับพันธุ์ดั้งเดิมที่ปลูกในสวนนพรัตน์ จึงทำให้มะปรางหวานนครนายกมีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมของผู้บริโภค

gi reg 59100078 1 page 0005แก้ใจ