“มะพร้าวเกาะพะงัน” GI ของดีจังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื้อแน่น 2 ชั้น รสชาติหวานมันหอมกะทิสด 

“มะพร้าวเกาะพะงัน” (KHO PHANGAN COCONUT) หมายถึง มะพร้าวที่มีผลทรงกลมรียาว เปลือกและเส้นใยมีความเหนียว กะลาสีน้ำตาลแก่ เนื้อมะพร้าวขาวใส เนื้อแน่น 2 ชั้น รสชาติหวานมันหอมกะทิสด ซึ่งปลูกในตำบลบ้านใต้และตำบลเกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี

464719571 8538904012811496 2925500904459987317 n

การปลูก

(1) ปลูกได้ทั้งที่ตอนและที่ลุ่ม หากเป็นที่ลุ่มปลูกเป็นร่อง ทำร่องระบายน้ำตามสภาพพื้นที่ไม่ให้ขวางทางน้ำ

( 2 )ปลูกให้มีระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 11 x 11 เมตร หรือตามความเหมาะสมของแต่ละ

(3) หลุมปลูกขนาดกว้าง ยาว ลึก ประมาณ 50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก หรือตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่

270409224 1100810774068359 884460615508865319 n

การดูแลรักษา

(1) การตัดแต่ง เมื่อต้นมะพร้าวอายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี ควรตัดแต่งทางมะพร้าวไบแก่จัดออก เพื่อความเจริญเติบโตและเร่งออกยอดใหม่ และกำจัดวัชพืชในสวน

(2) การให้ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ปริมาณแล้วแต่อายุของตัน หรือตามความเหมาะสม ของแต่ละพื้นที่การเก็บเกี่ยว

การเก็บเกี่ยว

(1) ระยะเก็บผลผลิตที่เหมาะสม คือ หลังดอกบาน 11 -12 เดือน เก็บเกี่ยว 2 ทะลาย จากสีผิวของลูก ทะลายแรกสุก ห้าวสีผิวน้ำตาลแก่ ทะลายที่ 2 สีเขียวมีสีน้ำตาลอ่อนขึ้นเป็นบางจุด

(2) วิธีการเก็บ ใช้คนสอยหรือใช้ลิงเก็บและควรรวบรวมไว้ในที่ร่มหรือโรงเรือน

371063055 682299460597521 7342031323419984344 n

ลักษณะภูมิประเทศ เกาะพะงันเป็นเกาะที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กลางทะเลอ่าวไทย มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มและที่ลาดชัน ตรงกลางเกาะเป็นภูเขาสูงป่าดิบชิ้นสภาพสมบูรณ์และเป็นป่าสงวนแห่งชาติ มีลำคลองสายสั้นๆ 19 สายจากภูเขาลงสู่ทะเล พื้นที่เหมาะสมต่อการปลูกมะพร้าว เกาะพะงันเป็นดินร่วนปนทราย พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อนมีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 35 ไม่มีปัญหาน้ำท่วมขังในฤดูฝน มีความชื้นจากน้ำทะเล อยู่ภายได้อิทธิทธิพลของลมมรสุม มี 2 ฤดู คือ ฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงมกราคม ได้รับอิทธิทธิพลมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ทำให้ฝนตกชุก และฤดูร้อนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน เป็นช่วงระยะห่างลมมรสุม จึงมีลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุม อากาศจะคลายความชุ่มชื้นประกอบกับกระแสน้ำอุ่นพัดจากทะเลจีนใต้ อุณหภูมิจึงสูงขึ้นอากาศอบอ้าว

ประวัติความเป็นมา

ในปลายสมัยอยุธยา นายช้างพร้อมเพื่อนชาวจันทบุรี ได้อพยพหนีภัยสงครามมาทางเรือและมาล่มทางทิศศตะวันออกของเกาะพะงัน บริเวณใกล้ๆ กับน้ำตกธารประพาส ปัจจุบันเรียกบริเวณนี้ว่า วกลุงช้าง ได้พบหมู่บ้านชื่อบ้านค่ายซึ่งผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่เป็นแขกมลายู ปัจจุบันยังมีมัสยิดอยู่ในบริเวณดังกล่าว และพบว่ามีมะพร้าวขึ้นเรียงรายอยู่แล้วในบริเวณที่ราบและชายหาด ต่อมาเมื่อมีคนเข้ามาอยู่อาศัยในเกาะพะงันมากขึ้นมีการขยายพื้นที่ปลูกออกไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นพืชทรัพยากรธรรมชาติ เป็นสมบัติคู่บ้านคู่เมืองของเกาะพะงัน และมะพร้าวได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมที่สืบทอดต่อกันมา ได้แก่ การยกเสาบ้านต้นแรกจะนำหน่อมะพร้าวหรือต้นกล้ามาผูกที่หัวเสาเพื่อเป็นสิริมงคล หรือเมื่อมีการคลอดบุตรจะนำรกไปฝังดินและปลูกต้นมะพร้าวไว้ โดยเชื่อว่าเด็กจะเจริญเติบโตและสมบูรณ์เช่นเดียวกับต้นมะพร้าวที่ปลูก หรือการปลูกมะพร้าวสองต้นชิดกัน เรียกว่า มะพร้าวคู่ เพื่อแสดงแนวเขตที่ดิน ในระยะแรกพ่อค้าชาวจีนจะนำมะพร้าวเกาะพะงันไปจำหน่ายที่กรุงเทพในรูปของมะพร้าวลูกและมะพร้าวแห้ง โดยขนส่งไปทางเรือสำเภาและเรือกลไฟ และด้วยเอกลักษณ์ของมะพร้าวเกาะพะงันที่มีรสชาติของเนื้อมะพร้าวที่มีความหวานมัน เนื้อหนาลักษณะเป็นเนื้อ 2 ชั้น มีคุณค่าทางโภชนาสูง จึงทำให้มะพร้าวเกาะพะงันเป็นที่รู้จักในตลาดกรุงเทพ และต่อมามีการขยายไปจำหน่ายยังจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดอื่นๆ จนทำให้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคอย่างกว้างขวาง


ขอบเขตพื้นที่การปลูก “มะพร้าวเกาะพะงัน” ครอบคลุมพื้นที่ของอำเภอเกาะพะงัน ในพื้นที่ 2 ตำบล คือ ตำบลบ้านใต้และตำบลเกาะพะงัน

1549235544