“กล้วยหอมทองปทุม” GI เนื้อเหนียวแน่น หอมขึ้นจมูก

“กล้วยหอมทองปทุม” (Hom Thong Pa-Thum Banana/Kluay Hom Thong Pa-Thum) หมายถึง กล้วยหอมทองที่มีผลใหญ่ยาว หน้าตัดค่อนข้างกลม ปลายคอดเล็กน้อย ผิวนวล เปลือกบาง ผลดิบสีเขียว ผลสุกสีเหลืองทองนวล เนื้อเหนียวแน่น รสชาติหอมหวาน ปลูกในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ทั้งนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI) ” กล้วยหอมทองปทุม”เมื่อ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563

327126008 510264144528582 7127442756228308084 n

การเตรียมดินและการปลูก

(1) ใช้หน่อพันธุ์ที่มีคุณภาพในจังหวัดปทุมธานี มีลักษณะแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่เป็นโรคหรือไม่มีแมลงรบกวน

(2) เตรียมพื้นที่โดยยกร่องกว้าง 6 – 8 เมตร ร่องดูน้ำกว้าง 1 – 1.5 เมตร ลึก 0.51 เมตร หรือถึงชั้นดินเลนของตะกอนน้ำทะเล มีคันดินอัดแน่นเพื่อป้องกันน้ำท่วม ก่อนยกร่องควรแยกหน้าดินมาทับบนดินที่ขุดมาจากร่องดูน้ำและปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปรอบอกร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรียน้ำหรือตามความเหมาะสมของพื้นที่

69702033 1002502133253361 1147283595526668288 n

(3) ขุดหลุมกว้าง 30 x 30 x 30 เซนติเมตรโดยประมาณและใส่ปุ๋ยคอกรองก้นหลุมก่อนทำการปลูก นำหน่อพันธุ์วางไว้ในหลุมปลูก จากนั้นกลบดินให้เสมอกับปากหลุม ทั้งนี้ ระยะปลูกระหว่างหน่อควรห่าง1 – 2 เมตร หรือตามความเหมาะสมของพื้นที่

การดูแลรักษา

(1) ควรมีการนำเลนจากร่องคู่น้ำมาใส่โคนต้น อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อปรับพื้นที่และบำรุงต้นกล้วย

(2) ให้น้ำ ใส่ปุ๋ย และปรับปรุงดินอย่างสม่ำเสมอตามความเหมาะสม

(3) ตัดแต่งใบกล้วยที่เป็นโรค แมลงทำลาย หรือแห้งตาย

(4) มีการค้ำยันต้นกล้วยด้วยไม้ไผ่หรือวัสดุแท่งยาว ประมาณ 3 – 4 เมตร เมื่อต้นกล้วยออกเครือ

การคลุมเครือกล้วย

(1) ทำหลังจากต้นกล้วยออกเครือและผลกล้วยเข้าทรงและหรืองอขึ้นแล้ว โดยใช้ถุงพลาสติกทึบที่มีช่องว่างด้านล่าง เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวกล้วยเกิดลายหรือผิวไม่สวย

(2) ควรป้องกันกำจัดแมลงก่อนคลุมเครือกล้วย

การเก็บเกี่ยว

(1) สามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่อผลกล้วยสุก ร้อยละ 70 สำหรับส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ และผลสุก ร้อยละ 80 – 90 สำหรับส่งจำหน่ายภายในประเทศ หรือตามความเหมาะสมของระยะเวลาที่ใช้ในการขนส่งก่อนถึงผู้บริโภค

(2) วิธีการเก็บเกี่ยว ควรใช้มีดเคียวหรือวัตถุมีคม ตัดเครือหรือหวีกล้วย

(3) การบ่มสุก สามารถใช้ได้ทั้งน้ำยาช่วยสุก และก้อนแก๊ส ตามความเหมาะสม

ลักษณะภูมิประเทศ

จังหวัดปทุมธานี มีแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแม่น้ำสายหลักไหลผ่าน แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ฝั่ง ได้แก่ฝังตะวันออกหรือฝั่งซ้ายของแม่น้ำ มีอำเภอเมืองปทุมธานีบางส่วน อำเภอธัญบุรี อำเภอลำลูกกา และอำเภอคลองหลวง ฝั่งตะวันตกหรือฝั่งขวาของแม่น้ำ มีอำเภอเมืองปทุมธานีบางส่วน อำเภอลาดหลุมแก้ว และอำเภอสามโคก ลักษณะดินเป็นดินเหนียวที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีความเป็นกรดหรือดินเปรี้ยว ระบายน้ำได้ช้า มีระบบชลประทานที่มีน้ำตลอดปี ทำให้สามารถเพาะปลูกพืชแบบร่องน้ำ และมีการนำโคลนในร่องน้ำมาใช้ปรับพื้นที่ และบำรุงต้นพืช ทำให้กล้วยหอมที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ให้ผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพ

ลักษณะภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศของจังหวัดปทุมธานี จัดอยู่ในภูมิอากาศแบบร้อนชื้นสลับแล้ง ในเขตนี้จะมีฤดูฝนและฤดูแล้งแตกต่างกันอย่างชัดเจนสามารถแบ่งได้ 3 ฤดู คือ ฤดูร้อนเริ่มประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน โดยได้รับอิทธิพลมาจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ฤดูฝนเริ่มประมาณเดือนพฤษภาคมถึงกันยายน โดยฤดูนี้จะเริ่มมีมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นลมชื้นพัดปกคลุม ทำให้ฝนตกแพร่กระจายตามร่องมรสุมประกอบกับร่องความกดอากาศต่ำ (Depression) พาดผ่านทางทิศตะวันออกทำให้อากาศชุ่มชื้นและมีลมมุรสมตะวันออกเฉียงเหนือ มีผลให้อากาศจะหนาวเย็นสลับร้อน มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 1,394.27 มิลลิเมตร มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 28.82 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปี 71.54 เปอร์เซ็นต์

จากป้จจัยดังกล่าวทำให้กล้วยหอมทองปทุมที่ได้มีรูปทรงผลใหญ่ยาว หน้าตัดค่อนข้างกลม ปลายผลคอดเล็กน้อย เปลือกบาง ผิวนวล ผลดิบสีเขียวนวล ผลสุกสีเหลืองทองนวล เนื้อเหนียวแน่น รสชาติหอมหวานแตกต่างจากกล้วยหอมทองของพื้นที่อื่น

ประวัติความเป็นมา

จังหวัดปทุมธานี เป็นพื้นที่หลักของโครงการคลองชลประทานเพื่อการเกษตรแห่งแรกของประเทศไทยซึ่งเริ่มขึ้นระหว่างพ.ศ. 2433 – พ.ศ. 2440 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)โดยให้ บริษัท ขุดคลองแลดูนาสยาม จำกัด เป็นผู้รับจ้างขุด “คลองรังสิดประยูรศักดิ์” หรือ “คลองรังสิต” และคลองแยกต่าง ๆ เพื่อพัฒนาพื้นที่บริเวณทุ่งรังสิตให้เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวรองรับการขยายตัวของการส่งออกข้าวซึ่งเป็นสินค้าอันดับหนึ่งของไทยในขณะนั้น ต่อมาจึงเรียกชื่อโครงการพัฒนาที่ดินบริเวณนี้ว่าโครงการรังสิด และเรียกบริเวณที่คลองนี้ไหลผ่านว่า “ทุ่งรังสิด” ผลจากการขุดคลอง ทำให้มีคนอพยพเข้ามาตั้งงถิ่นฐานบริเวณทุ่งรังสิดมากขึ้น

กล้วยหอมทองปทุม เป็นกล้วยที่นำพันธุ์มาจากจังหวัดเพชรบุรึ โดยนำมาปลูกครั้งแรกเมื่อราวๆ 70 ปีก่อนร่วมกับการปลูกพืชชนิดอื่นๆ และเริ่มเป็นที่นิยมปลูกมากช่วงปี พ.ศ. 2540 โดยปลูกทดแทนส้มรังสิตที่มีผู้ปลูกน้อยลง ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่และชนิดของดินที่มีความเป็นกรด ลักษณะของพื้นที่ที่มีคลองชลประทานซึ่งมีน้ำตลอดทั้งปี และการปลูกพืชแบบร่องน้ำที่มีการนำเลนจากร่องคูน้ำมาทับบนแปลงปลูก มีคันดินอัดแน่นล้อมรอบเพื่อป้องกันน้ำท่วม ทำให้การเพาะปลูกพืชผักในพื้นที่นี้ มีลักษณะที่แตกต่างจากพื้นที่อื่น จึงทำให้กล้วยหอมทองปทุมมีลักษณะผล เปลือก และรสชาติที่แตกต่างจากกล้วยหอมพื้นที่อื่นจนมีชื่อเสียงอย่างแพร่หลาย

จากความนิยมดังกล่าว จังหวัดปทุมธานีจึงจัดให้มีงานประกวดกล้วยหอมจังหวัดปทุมธานีขึ้นเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2553 จนถึงป้จจุบันมีการจัดเป็นครั้งที่ 8 (พ.ศ. 2560) ณ ตลาดไท โดยเกณฑ์การตัดสินมีถึง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านขนาดของหวีและผลใหญ่สม่ำเสมอ ด้านรูปทรง ลักษณะหวีและผลกล้วยที่มีลักษณะดี เรียงตัวเป็นระเบียบ ด้านสีผิวเป็นสีเขียวอ่อน เรียบ สวยงามไม่มีริ้วรอย ด้านความดกหรือจำนวนผลต่อหวีต้องไม่น้อยกว่า13 ผล และด้านความสมบูรณ์ภายนอก สะอาด ปราศจากโรค แมลง และตำหนิที่ผิดปกติ เหล่านี้ถือเป็นบทพิสูจน์ถึงชื่อเสียง คุณภาพ และมาตรฐานของผลผลิตกล้วยหอมจังหวัดปทุมธานี

ขอบเขตพื้นที่การปลูกกล้วยหอมทองปทุม ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ทั้ง 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหนองเสือ อำเภอคลองหลวง อำเภอธัญบุรี อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอลำลูกกา และอำเภอสามโคก

GI136 page 0006แก้