“แปจ่อเขียวแม่สอด” GI สินค้าอัตลักษณ์เฉพาะพื้นที่ ของดีเมืองตาก

“แปจ่อเขียวแม่สอด” (Pae Jor Khaew Maesod Bean) หมายถึง ถั่วทอดที่ทำมาจากถั่วแปยีหรือแปจีซึ่งเป็นถั่วชนิดหนึ่ง มีลักษณะฝักคล้ายถั่วลันเตา (ถั่วแปบ) เมล็ดมีขนาดเล็ก เมื่อผ่านการทอดแล้วจะมีสีเหลือง รสชาติหอม มัน กรอบ เนื้อแน่น ซึ่งปลูกในพื้นที่ตำบลแม่กาษา ตำบลแม่ดาว ตำบลแม่กุ ตำบลท่าสายลวด ตำบลพระธาตุผาแดง ตำบลมหาวัน และนำมาผ่านกระบวนการผลิตในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ทั้งนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI) ” แปจ่อเขียวแม่สอด” เมื่อ 27 กันยายน 2562

273807956

กระบวนการผลิต

การปลูก

(1) ปลูกโดยการใช้เมล็ดอ่อน เริ่มปลูกในเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม ถั่วแปจีสามารถเจริญเดิบโดได้ดีในแหล่งที่มีน้ำค้างและอากาศหนาว

(2) พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูก คือ ที่ราบติดเชิงเขา ดินมีความร่วนซุย อากาศเย็นตลอดทั้งปี

(3) สามารถปลูกได้ 2 ลักษณะ คือ

3.1 ปลูกแบบเดี่ยว ระยะห่างระหว่างต้นควรอยู่ที่ 12.5 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างแถวควรอยู่ที่ 50 เซนติเมตร

3.2 ปลูกร่วมกับพืชอื่น เช่น ปลูกแซมระหว่างต้นข้าวโพด เป็นต้น

ลักษณะภูมิประเทศ

อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ตั้งอยู่ที่ละติจุด 16 องศา 42 ลิปดา 47 ฟิลิปดาเหนือ และลองจิจูด 98 องศา 34 ลิปดา 29 พิลิปดาตะวันออก พื้นที่เป็นภูเขาสูงชันซับซ้อนสลับกับหุบเขาแคบ ๆ ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบประมาณร้อยละ 20 และประมาณร้อยละ 80 ปกคลุมไปด้วยป่าโปร่ง ป่าดงดิบและป่าสน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาถนนธงชัยที่ทอดยาวมาจากทางตอนใต้ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดเชียงใหม่ เทือกเขานี้เป็นเส้นแบ่งเขลจังหวัดตากออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก อำเภอที่อยู่ในฝั่งตะวันออก จะมีอากาศร้อนจัดและแห้งแล้ง ฝนตกน้อย เพราะมีเทือกเขาถนนธงชัยกั้นอยู่ ส่วนอำเภอที่อยู่ในฝั่งตะวันตก ได้แก่ อำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด อำเภอท่าสองยาง อำเภออุ้มผางและอำเภอพบพระ มีอากาศหนาวเย็นฝนตกชุกอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะพื้นที่ในเขตอำเภอแม่สอดเป็นที่ราบติดเชิงเขา สภาพดินร่วนซุยอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี และในช่วงฤดูหนาวอากาศจะหนาวเย็นและมีน้ำค้างมากกว่าพื้นที่อื่นจึงเหมาะกับการเจริญเติบโตของถั่วแปจี

ประวัติความเป็นมา

แปจ่อเขียวแม่สอด เป็นถั่วทอดที่ทำมาจากถั่วแปยีหรือแปจีซึ่งเป็นถั่วชนิดหนึ่ง มีลักษณะฝักคล้ายถั่วลันเตา(ถั่วแปบ) ปลูกกันตามแนวตะเข็บชายแดน อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ไม่ทราบประวัติความเป็นมาแน่ชัด จากการสอบถามข้อมูลจากชาวบ้านในพื้นที่บอกว่า มีการนำเมล็ดถั่วแปจีมาจากพ่อค้าชาวเมียนมา ซึ่งถั่วชนิดนี้จะมีลักษณะคล้ายถั่วอินเดีย (India Bean) เมื่อนำมาปลูกที่ตำบลทำสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดดาก ด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์และแร่ธาตุในดิน เมล็ดที่เก็บได้จะเล็กกว่าสายพันธุ์เดิมแค่รสชาติดีกว่า เนื้อแน่น เป็นที่นิยมของประชาชนทั่วไปในพื้นที่ โดยนำเมล็ดสดมาประกอบเป็นอาหารท้องถิ่น ที่เรียกว่า “แกงแปจี” เนื่องจากถั่วแปจีเป็นที่นิยมจึงได้นำเมล็ดพันธุ์ไปทดลองพื้นที่ และมีการทดลองปลูกนอกฤดูกาลเพื่อเพิ่มผลผลิต ปรากฏว่าถั่วชนิดนี้ไม่สามารถเจริญเติบโดในพื้นที่อื่น แต่กลับขึ้นได้ดีเฉพาะบางพื้นที่ ได้แก่ ตำบลแม่กาษา ตำบลแม่ดาว ดำบลแม่กุ ตำบลท่าสายลวด ตำบลพระธาตุผาแดง และตำบลมหาวัน ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก อีกทั้งยังไม่ให้ผลผลิตตามฤดูกาล

เมื่อประมาณ พ.ศ. 2500 ชาวบ้านในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ได้นำถั่วแปจีมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ตามภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน โดยนำเมล็ดแปจีมาคั่วทั้งเปลือกจะเรียกว่า “แปหล่อ” แต่หากนำมาทอดจะเรียกว่า “แปจ่อ” ด้วยรสชาติของ แปจ่อเขียวแม่สอด ที่หอม มัน กรอบ นุ่ม จึงเป็นที่รู้จักและนิยมบริโภคของคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว กลายเป็นสินค้าที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะพื้นที่ จนมีคนกล่าวขานกันว่าของฝากจากแม่สอดต้อง “แปจ่อเขียวแม่สอด” เท่านั้น


ทั้งนี้ขอบเขตพื้นที่การผลิตแปจ่อเขียวแม่สอด ครอบคลุมพื้นที่ปลูกในตำบลแม่กาษา ตำบลแม่ตาว ตำบลแม่กู ตำบลท่าสายลวด ตำบลพระธาตุผาแดง ตำบลมหาวัน และนำมาผ่านกระบวนการผลิตในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

Sorchor62100133 page 0005แองงง