“ปลาสลิดบางบ่อ” GI ติดปีกภูมิปัญญาชาวบ้าน

“ปลาสลิดบางบ่อ” (Pla-salid Bangbo หรือ Bangbo Snakeskin Gourami) หมายถึง ปลาสลิดพันธุ์ลายเสือและพันธุ์ลายแตงไทย ที่เลี้ยงในพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอบางเสาธง และอำเภอบางบ่อ ซึ่งมีลักษณะ ลำตัวมีสีดำเข้ม เข้ม เรียวยาว เนื้อปลาแน่น สีขาวอมชมพู มีไขมันเล็กน้อย นำมาผ่านกระบวนการแปรรูปตามภูมิปัญญาของคนในพื้นที่ เป็นปลาสลิดสด ปลาสลิดแดดเดียว และปลาสลิดหอม โดยมีพื้นที่การแปรรูปครอบคลุมทั้งจังหวัดสมุทรปราการ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(GI) “ปลาสลิดบางบ่อ” เมื่อ 25 พ.ค. 2564

68448066 2104027783231986 5835564389968642048 n

กระบวนการผลิต

วัตถุดิบ

(1) พันธุ์ปลาสลิดบางบ่อ ได้แก่ พันธุ์ลายเสือ และลายแตงไทย มาจากการเพาะเลี้ยงในบ่อของเกษตรกรเอง หรือชื่อมาจากแหล่งเพาะพันธุ์ที่เชื่อถือได้ เช่น ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดสมุทรปราการ สถานที่จำหน่ายพันธุ์ปลาน้ำจืด เป็นต้น

(2) พื้นที่การเลี้ยงปลาสลิดบางบ่อ ครอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอบางเสาธง และอำเภอบางบ่อ

52165050 1996374383997327 2886264369904091136 n

การเตรียมบ่อ

(1) แปลงนาที่ไม่ได้ปลูกข้าวแล้ว หรือขอไว้ให้เป็นคลีกลงไปขนามกับคันบ่อทุกด้าม

(2) วิดน้ำออกจากแปลงนาแล้วตากให้แห้ง เพื่อให้แสงแดดช่วยกำจัดเชื้อโรคและเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้กับดิน

(3) นำน้ำหมักมาราดที่แปลงนา เพื่อลดความเป็นกรดของดิน

การเลี้ยงปลาสลิดบางบ่อสด มี 2 วิธี ได้แก่

(1) การเลี้ยงแบบธรรมชาติ เป็นการลี้ยงปลาสลิดแบบตั้งเดิมที่ทำมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยการนำลูกปลาสลิดมาปล่อยหรือเพาะพันธุ์ภายในบ่อของตนเอง และฟันหญ้าแล้วสุมไว้ในบ่อ ซึ่งเป็นหญ้าที่ขึ้นเฉพาะถิ่น เช่น หญ้าแพรกทะเล หญ้าทรงกระเทียม หญ้าปล้อง และธูปฤาษี เป็นต้น ควรทำเฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้งเพื่อให้หญ้าคลุมผิวน้ำ หมักไว้ในบ่อจนเกิดเป็นแพลงก์ตอนและไรแดง ซึ่งจะเป็นอาหารของปลาสลิดบางบ่อทำจนกว่าจะขายปลา ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 8 – 12 เดือน

(2) การเลี้ยงปลาสลิดแบบกึ่งพัฒนา วิธีการเลี้ยงเหมือนกับการเลี้ยงปลาสลิดแบบธรรมชาติ แตกต่างตรงที่จะให้อาหารอื่นนอกเหนือจากแพลงก์ตอนและไรแดง เช่น รำ ปลาป่น และอาหารสำเร็จรูป เป็นต้น ในช่วงที่ปลาอายุ 9 – 12 เดือน หรือประมาณ 2 – 3 เดือน ก่อนจับปลาสลิดขาย

ลักษณะภูมิประเทศ

จังหวัดสมุทรปราการ ตั้งอยู่ระหว่างเส้นละติจูดที่ 13 – 14 องศาเหนือ และเส้นลองจิจูดที่ 100- 101 องศาตะวันออก ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มติดทะเลอ่าวไทย มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านมีลำคลองรวม 63 สาย ได้แก่ คลองชลประทาน 15 สาย และคลองธรรมชาติ 48 สาย ใช้ประโยชน์ในการคมนาคม การขนส่ง การประมง และการเกษตรกรรม พื้นที่เหมาะแก่การทำนาทำสวนและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้ดี โดยชุดดินในพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอบางเสาธง และอำเภอบางบ่อ มีลักษณะคล้ายกัน คือ เป็นชุดดินที่ 2 และ 3 ซึ่งเป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกอนผสมของตะกอนลำน้ำและตะกอนน้ำทะเลแล้วพัฒนาในสภาพน้ำกร่อย โดยชุดดินที่ 2 จะมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดปานกลางประมาณ 4.5 – 6.0 ส่วนชุดดินที่ 3 จะมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดถึงด่างปานกลางประมาณ 5.5 – 8.0 ทำให้มีลักษณะที่เหมาะสมสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด รวมทั้งทำให้มีพันธ์หญ้าเฉพาะถิ่นซึ่งซึ่งทนต่อสภาพน้ำกร่อย เช่น หญ้าทรงกระเทียม (หญ้าแห้ว) หญ้าปล้อง หญ้าแพรกทะเล (หญ้าสองคลอง หรือหญ้าน้ำเค็ม) และธูปฤาษี (ปรือ หรือเฟื้อ) เป็นต้น ขึ้นในพื้นที่นั้นด้วย ทำให้เหมาะสมในการเลี้ยงปลาสลิด ประกอบกับสภาพภูมิอากาศแบบพื้นที่ชายทะเล ทำให้ฤดูร้อนมีความชื้นในอากาศสูง เนื่องจากอิทธิพลของลมทะเลและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ฤดูฝนมีฝนตกมาก ฤดูหนาว อากาศไม่หนาวจนเกินไป อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 29.75 องศาเชลเซียส

จากลักษณะภูมิประเทศและลักษณะภูมิอากาศดังกล่าว ประกอบกับพันธุ์หญ้าเฉพาะถิ่นที่จะขึ้นบริเวณบ่อเลี้ยงปลาสลิดบางบ่อ เมื่อเกษตรกรฟันหญ้าและสุมไว้ในบ่อจะเกิดการหมักและช่วยปรับสภาพสีของน้ำในบ่อให้มีสีชาอมเขียว เกิดเป็นแพลงก์ตอน ไรแดง ตะไคร่น้ำ ซึ่งเป็นอาหารที่ดีสำหรับปลาสลิดบางบ่อ ทำให้ปลาโตเร็ว ลำตัวเรียวยาว เนื้อแน่น มีกลิ่นดิน ไม่มีกลิ่นสาบคาว

นอกจากนี้ ดินในในจังหวัดสมุทรปราการมีสีดำและการฟันหญ้าให้คลุมผิวน้ำในบ่อทำให้แสงแดดแดส่องลงไปไต้บ่อได้น้อย ส่งผลให้สภาพในบ่อมีความมืดครึ้ม ปลาสลิดบางบ่อจึงมีสีค่อนข้างคล้ำหรือสีดำมากกว่าปลาสลิดที่เลี้ยงในพื้นที่อื่น รวมถึงมีขนาดเล็กกว่าปลาสลิดที่เลี้ยงด้วยอาหารเม็ดสำเร็จรูป โดยปลาสลิดบางบ่อจะมีความสมบูรณ์มากในช่วงเดือนธันวาคม –
กุมภาพันธ์ เหมาะกับการบริโภคมากที่สุด

ประวัติความเป็นมา

อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ เดิมเป็นพื้นที่ทำนาข้าวเป็นหลัก ในนาข้าวชาวบ้านพบว่ามี “ปลาสลิด” ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติ เมื่อนำมาบริโภคพบว่ามีรสชาติดี จึงปล่อยให้ขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ ทำให้ปลาสลิดมีจำนวนมากขึ้น ต่อมามีเกษตรกรชาวอำเภอบางบ่อได้มีแนวคิดอยากเลี้ยงปลาสลิดควบคู่กับการทำนาข้าว จึงได้เริ่มขุดบ่อตื้นเลี้ยงปลาเป็นคันล้อมรอบนาข้าวแล้วปล่อยพันธุ์ปลาสลิดลงไป ฟันหญ้าแพรก หญ้าทรงกระเทียม และบัว ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติรอบบ่อให้ปกคลุมผิวน้ำเพื่อให้เกิดเป็นแพลงก์ตอนและไรแดงใช้เป็นอาหารของปลาสลิดโดยไม่ได้ให้อาหารอื่น ซึ่งถือเป็นวิถีการเลี้ยงแบบธรรมชาติ

นอกจากนี้พื้นที่อำเภอบางบ่อยังเป็นพื้นที่ปลายทางของคลองต่าง ๆ ที่มาจากทางเหนือ เมื่อถึงฤดูเกี่ยวข้าว น้ำที่ไหลลงมาจะพัดพาดอกข้าวและปลายข้าวจากผืนนาอื่น ๆ มาด้วย น้ำนาข้าวเหล่านี้จะถูกนำเข้าบ่อเลี้ยงเพราะถือเป็นอาหารเสริมชั้นดี ทำให้ผลผลิตจากการเลี้ยงปลาสลิดได้ผลดี ในขณะที่ผลผลิตจากนาข้าวได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2497 เกษตรกรขาวอำเภอบางบ่อได้ตสินใจเปลี่ยนอาชีพจากการทำนามาเลี้ยงปลาสถิด ซึ่งสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ เมื่อชาวบ้านเห็นว่าการเลี้ยงปลาสลิดได้ผลผลิตดี จึงเริ่มสนใจเลี้ยงปลาสลิดและขยายพื้นที่ออกไปตามอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดสมุทรปราการจนถึงปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2506 และ พ.ศ. 2508 มีเกษตรกรชาวอำเภอบางบ่อได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้เข้าเฝ้าในหลวงรัชกาลที่ 9 ถึง 2 ครั้ง เพื่อทูลเกล้าถวายปลาสลิด โดยเป็นปลาสลิดหอมผิวสีเหลืองนวล พระองค์ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งสอบถามความเป็นมา และทรงพระราชทานชื่อบ่อเลี้ยงปลาสลิดให้ว่า”บ่อปลาสลิดทอง”ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้ใดที่เลี้ยงปลาสลิดเท่ากับมีทองอยู่ในบ่อ” จากนั้นจึงได้มีเกษตรกรเลี้ยงปลาสลิดจำนวนมากขึ้น ด้วยเอกลักษณ์ที่โดดเด่น คือ เนื้อปลาแน่น สีขาวอมชมพู มีไขมันแทรกพอเหมาะ รสชาติดีแตกต่างจากปลาสลิดของพื้นที่อื่น ๆ จึงทำให้ปลาสลิดบางบ่อมีคุณภาพและมีชื่อเสียงที่ดีจนถึงปัจจุบัน

ต่อมาได้มีเกษตรกรในจังหวัดนำปลาสลิดมาแปรรูปเป็นปลาสลิดแห้ง ซึ่งก็คือ ปลาสลิดแดดเดียวและปลาสลิดหอม โดยใช้กรรมวิธีภูมิปัญญาชาวบ้านในการถนอมอาหารให้เก็บไว้บริโภคได้นานขึ้น โดยการนำเกลือมาหมักด้วยวิธีการฝัดเกลือเพื่อป้องกันการเน่าเสียและนำไปตากแดดเพื่อไล่น้ำออก เมื่อนำมาทอดปลาจะสุกพร้อมกันทั้งตัว รสชาติเค็มพอดี มีกลิ่นหอมเฉพาะได้รับการยอมรับและมีชื่อเสียงมาก


ขอบเขตพื้นที่การเลี้ยงปลาสลิดบางบ่อ ครอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอบางเสางเสาธง และอำเภอบางบ่อ และมีขอบเขตพื้นที่การแปรรูปครอบคลุมทั้งจังหวัดสมุทรปราการ

GIAN169 page 0007ccc