” ปลาเม็งสุราษฎร์ธานี” GI ปลาน้ำจืดพื้นถิ่นหายาก สร้างชื่อเสียงให้จังหวัด

“ปลาเม็งสุราษฎร์ธานี” (Surat Thani Stinging Catfish หรือ Pla Meng Surat Thani) หมายถึง ปลาน้ำจืดชนิดไม่มีเกล็ด ลักษณะคล้ายปลาดุก เนื้อแน่นเป็นเส้น ไม่เปื่อยยุ่ย เนื้อมีความมัน ไขมันน้อย จำหน่ายในรูปแบบปลาเม็งสด และปลาเม็งย่างรมควัน โดยผ่านกระบวนการแปรรูปด้วยวิธีการตามภูมิปัญญาของชุมชนเพาะเลี้ยงและแปรรูปครอบคลุมพื้นที่ 8 อำเภอของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่ อำเภอชัยบุรี อำเภอพระแสง อำเภอเวียงสระ อำเภอบ้านนาสาร อำเภอเคียนชา อำเภอบ้านนาเดิม อำเภอพุนพินพิน และอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI ) ” ปลาเม็งสุราษฎร์ธานี” เมื่อ 15 ธ.ค. 2565

280163736 117093500992521 8315795876460399050 n

กระบวนการผลิต

การเลี้ยงปลาเม็ง

(1) พันธุ์ปลาเม็งต้องเป็นพันธุ์ปลาเม็งที่ได้มาจากธรรมชาติ ในเขตพื้นที่ 8 อำเภอของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่ อำเภอชัยบุรี อำเภอพระแสง อำเภอเวียงสระ อำเภอบ้านนาสาร อำเภอเคียนซา อำเภอบ้านนาเดิม อำเภอพุนพิน และอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี หรือได้จากการเพาะเลี้ยงในบ่อของเกษตรกรในพื้นที่ที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำตาปีของจังหวัดสุราษฎร์ธานี หรือได้พันธุ์มาจากแหล่งเพาะพันธุ์ที่เชื่อถือได้ เช่น ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสุราษฎร์ธานี เป็นต้น

279048342 101490375886167 144081917269345755 n

(2) จัดเตรียมบ่อเลี้ยง เช่น บ่อปูน วงบ่อซีเมนต์ บ่อพลาสติก บ่อผ้าใบ บ่อดิน เป็นต้นต้น โดยควรล้างบ่อหรือฆ่าเชื้อให้สะอาด

(3) น้ำที่ใช้ในระบบเลี้ยงควรเป็นน้ำประปา น้ำฝน น้ำบาดาล หรือน้ำจากแหล่งธรรรมชาติอื่นๆ โดยน้ำที่จะใช้ในการเลี้ยงปลาต้องมีการพักน้ำไว้ก่อนนำไปใช้ และต้องมีสภาพเป็นกลาง (pH 6.5 – 7.5)

(4) ปรับสภาพบ่อให้ใกล้เคียงกับธรรมชาติโดยการนำผักตบชวา ท่อพีวีซี หรือกระเบื้องมุงหลังคาลอนใหญ่ มาใส่ภายในบ่อเพื่อให้ปลาใช้เป็นที่หลบซ่อน เนื่องจากธรรมชาติของปลาเม็งเป็นปลาที่ออกหากินในตอนกลางคืน

88413031001220181216144204

(5) คัดพันธุ์ปลาที่นำมาเลี้ยง ต้องมีลักษณะสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่มีร่องรอยของการเป็นโรค และควรมีขนาดตัวที่เท่าๆ กัน

(6) ก่อนทำการปล่อยปลาให้ทำการปรับสภาพปลา โดยการนำภาชนะหรือถุงที่บรรจพันธุ์ปลาลอยไว้ในบ่อเป็นเวลา 15 – 20 นาที เพื่อปรับอุณหภูมิก่อนปล่อยปลาลงสู่บ่อเลี้ยง หากลูกพันธุ์ปลามีขนาดความยาวลำตัวในช่วง 1.5- 2.0 นิ้ว ให้ทำการปล่อยเลี้ยงในอัตราความหนาแน่น 150 – 200 ตัวต่อตารางเมตร

(7) การให้อาหารปลา ควรให้ตามความเหมาะสมของแต่ละช่วงวัย โดยมีการปรับปริมาณอาหารตามการเจริญเติบโตของปลาระหว่างการเลี้ยง ควรให้อาหารวันละ 1 – 2 ครั้ง หากปลากินอาหารไม่หมดให้ช้อนอาหารที่เหลือออกเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเน่าเสีย และลดปริมาณอาหารลงในมื้อถัดไป

(8) หมั่นเปลี่ยนถ่ายน้ำให้ได้อย่างน้อยเดือนละ 1 -2 ครั้ง เพื่อป้องกันน้ำเน่าเสีย โดยอัตราส่วนในการเปลี่ยนถ่ายน้ำไม่ควรเกินร้อยละ 60 ของปริมาตรน้ำในบ่อ

(9) ควรเลี้ยงเป็นระยะเวลา 12 – 18 เดือน จนปลาเจริญเติบโตเป็นปลาตัวเต็มวัยที่มีน้ำหนักตัวอยู่ในช่วง 20 – 30 ตัวต่อกิโลกรัม ก่อนทำการจับเพื่อจำหน่ายหรือแปรรูป

ลักษณะภูมิประเทศ

จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย โดยตั้งอยู่ระหว่างเส้นละติจุด 8.3 ถึง 10.2 องศาเหนือ ลองจิจุด 98.5 ถึง 100.2 องศาตะวันออก ภูมิประเทศมีทั้งแบบที่ราบชายฝั่งทะเล ที่ราบสูง ที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำที่สำคัญหลายสาย เช่น แม่น้ำน้ำตาปี แม่น้ำท่าทอง แม่น้ำคีรีรัฐหรือแม่น้ำพุมดวง เป็นต้น โดยเฉพาะแม่น้ำตาปีซึ่งมีลำธาร ห้วย คลอง ที่เชื่อมต่อกันหลายสาย อันเป็นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของปลาเม็ง

ในอดีตพบปลาชนิดนี้อาศัยชุกชุมอยู่ตามป่าพรุ ลำธาร ห้วย ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสะอาดและมีความอุดมสมบูรณ์ เส้นทางการไหลของแม่น้ำตาปีจะผ่านหลายๆ อำเภอของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่ อำเภอชัยบุรี อำเภอพระแสง อำเภอเวียงสระ อำเภอบ้านนาสาร อำเภอเคียนซา อำเภอบ้านนาเดิม อำเภอพุนพิน และอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี

ลักษณะภูมิอากาศ

จังหวัดสุราษฎร์ธานีอยู่ภายใต้อิทธิพลของมรสุม 2 ชนิด คือ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เป็นลมจากทิศตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่านมหาสมุทรอินเดีย จึงพัดพาเอาไอน้ำและความชุ่มชื้นมาสู่ประเทศไทยทำให้ฝนตกชุกทั่วไป ระหว่างกลางเดือนพฤษภาคม – กลางเดือนตุลาคม และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ หรือฤดูหนาว เป็นลมจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นลมเย็นและแห้งจากประเทศจีน พัดปกคลุมประเทศไทย ระหว่างกลางเดือนตุลาคม – กลางเดือนกุมภาพันธ์ จึงส่งผลให้จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีอากาศเย็นลง และมีฝนตกชุกต่อเนื่องระยะหนึ่ง ประกอบกับตั้งอยู่ในภาคใต้และติดทะเลทำให้สภาพภูมิอากาศในแต่ละฤดูไม่แตกต่างกันมาก โดยในปี พ.ศ. 2564 มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีอยู่ที่ 27.04 องศาเซลเซียส ด้วยลักษณะพื้นที่และแหล่งภูมิศาสตร์ดังกล่าว ประกอบกับลักษณะภูมิอากาศในแต่ละฤดูกาลของจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่ไม่แตกต่างกันมากนัก จึงเหมาะเป็นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติรวมถึงการเพาะเลี้ยงของปลาเม็ง ซึ่งจัดเป็นปลาน้ำจืดพื้นถิ่นที่หายากและมีความสำคัญทางเศรษฐกิจรวมถึงสร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดสุราษฎร์ธานีโดยเป็นแหล่งที่เลี้ยงปลาเม็งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

ประวัติความเป็นมา

ปลาเม็ง มาจากภาษาถิ่นว่า “แม๊งแค๊ง” แต่มีการเพี้ยนคำจากสระแอเป็นสระเอ และลดคำกลายเป็นปลาเม็ง เป็นปลาน้ำจืดจำพวกเดียวกับปลาดุก ในอดีตพบปลาชนิดนี้อาศัยชุกชุมอยู่ตามป่าพรุ ลำธาธาร ห้วยในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และคลองที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำตาปี ซึ่งไหลผ่านในหลายอำเภอไล่มาตั้งแต่ อำเภอชัยบุรี อำเภอพระแสง อำเภอเวียงสระ อำเภอบ้านนาสาร อำเภอเคียนซา อำเภอบ้านนาเดิม อำเภอพุนพิน และอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสะอาดและอุดมสมบูรณ์ ตัวอย่างพื้นที่ในปัจจุบันที่พบปลาเม็งในธรรมชาติ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำบางลายในอำเภอเวียงสระ ทุ่งตำเสา บ้านมอเก็ต และท่าชีในอำเภอบ้านนาสาร หนองทุ่งทองในอำเภอเคียนซา พรุกงและทุ่งปากขอในอำเภอบ้านนาเดิม ท่าสะท้อนและทุ่งกระจุดในอำเภอพุนพิน เป็นต้น

ในอดีตชาวประมงพื้นบ้านสามารถจับปลาชนิดนี้ได้ในหลายพื้นที่ โดยการใช้ลอบยืนหรือไซนั่งไว้ข้ามคืนประมาณ 1 – 2 คืน ภายในลอบรรจุเหยื่อล่อปลา คือ มดดำชนิดหนึ่ง หรือ ภาษาถิ่นเรียกว่า “มดตรอด” นำมารมควันให้ตายทั้งรังหรือปลวกชนิดหนึ่งที่ทำรังเกาะอยู่ตามต้นไม้ หรือภาษาถิ่นเรียกว่า “หัวเคง” นำมาเผาแล้ววางไว้ภายในลอบดักปลา ปลาเม็งเป็นปลาที่ออกหากินในเวลากลางคืน อยู่รวมกันเป็นฝูงหากมีปลาเม็งตัวใดเข้าลอบตัวอื่น ๆ ก็จะตามเข้าไปติดลอบทั้งฝูง ด้วยสภาพแวดล้อมทางน้ำเกิดการเปลี่ยนแปลงจากการปรับพื้นที่และการใช้สารเคมีในการเกษตร ส่งผลให้ประชากรของปลาเม็งมีจำนวนลดลงและมีโอกาสสูญพันธุ์ได้ เพื่อเป็นการเพิ่มจำนวนประชากรของปลาเม็ง ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสุราษฎร์ธานี จึงได้มีการเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 และมีหน่วยงานต่าง ๆ มาสนับสนุนให้เกษตรกรในพื้นที่นำไปเลี้ยง เนื่องจากปลาเม็งเป็นปลาน้ำจืดที่มีลักษณะเฉพาะประกอบกับกระบวนการเลี้ยงที่ต้องให้อาหารตามช่วงอายุของปลาเม็ง และต้องใช้เวลาในการเลี้ยง 12 – 18 เดือน ส่งผลให้ปลาเม็ง มีเนื้อที่แน่น เป็นเส้น ไม่เปื่อยยุ่ย มีไขมันน้อย จึงเป็นที่
ต้องการของท้องตลาดเป็นอย่างมากตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ในอดีตพบว่าปลาเม็งเป็นปลาที่ไม่นิยมบริโภคเพราะจับยาก เงี่ยงแหลม มีพิษแรง และเนื้อน้อย ชาวบ้านจึงนำปลาเม็งมา แปรรูปโดยการย่างรมควัน ซึ่งปลาเม็งย่างรมควันเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมานานไม่ต่ำกว่า 100 ปี ปลาเม็งสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย โดยปลาเม็งสดนำไปประกอบอาหาร เช่น แกงคั่วใบส้มแป้นขี่ม้า แกงส้ม แกงพริก ปลาเม็งแดดเดียวเป็นต้น ส่วนปลาเม็งย่างรมควันนำไปประกอบอาหาร เช่น ยำปลาเม็ง ต้มโคล้งปลาเม็ง น้ำพริกปลาเม็ง ปลาเม็ง
จิ้มน้ำปลา ปลาเม็งน้ำปลาหวาน เป็นต้น

ปัจจุบันปลาเม็งเป็นที่นิยมของคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีรสชาติหอมอร่อย จึงถือได้ว่า ปลาเม็งสุราษฎร์ธานี เป็นอาหารที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสุราษฎร์ธานีมาเป็นเวลานาน

ทั้งนี้ขอบเขตพื้นที่การเลี้ยงและแปรรูป ปลาเม็งสุราษฎร์ธานี ครอบคลุมพื้นที่ 8 อำเภอของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่ อำเภอชัยบุรี อำเภอพระแสง อำเภอเวียงสงสระ อำเภอบ้านนาสาร อำเภอเดืยนซา อำเภอบ้านนาเดิม อำเภอพุนพิน และอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี

GI65100195 page 0007แก