“ปลากุเลาเค็มตากใบ” GI เนื้อฟู มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์

14468789 1205698929476802 628019492358197290 o

“ปลากุเลาเค็มตากใบ” (Salted fish Kulao Tak Bai) หมายถึง ปลาเค็มรสชาติไม่เค็มจัด เนื้อฟู มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ของปลาเค็ม ซึ่งผลิตจากปลากุเลาสดตามกรรมวิธีที่สืบทอดกันมาในพื้นที่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ทั้งนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ” ปลากุเลาเค็มตากใบ” เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559

กระบวนการผลิต

การผลิต

(1) คัดเลือกปลากุเลาที่มีคุณภาพ ขนาดเหมาะสม สดใหม่ ที่ไม่ผ่านการแช่แข็ง จากทะเลอ่าวไทยบริเวณอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

(2) นำปลากุเลามาขอดเกล็ด ควักไส้ทิ้ง โดยไม่ผ่าท้องปลา แล้วล้างทำความสะอาด

(3) นำเกลือยัดใส่ท้องปลาและกลบตัวปลา หมักปลาไว้ 2 – 3 วัน ในภาชนะปิดฝามิดชิด

(4) นำปลาที่หมักไว้มาล้างทำความสะอาด

(5) ใช้กระดาษผูกมัดห่อหัวปิดปากปลาเพื่อป้องกันไม่ให้แมลงเข้าไปวางไข่หรือกัดกินได้

(6) นำปลามาตากแดด โดยการห้อยหัวลงเพื่อให้น้ำออกจากตัวปลา

(7) นำปลาที่ตากแดดมารีดน้ำออกจากตัวปลา โดยใช้ไม้คลึงตัวปลาเบาๆ

(8) นำปลาที่รีดน้ำออกแล้วตากแดดห้อยหัวลง โดยใช้กระดาษห่อหัวปิดปากปลาไว้ ทำทุกวัน จนปลาแห้ง จะได้ปลากุเลาเค็มที่มีกลิ่นหอม เนื้อฟู น่ารับประทาน

4662CB2D 8564 406E 9400 13775EEE51A9


ลักษณะภูมิประเทศของอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เป็นพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพประมง ด้วยความสมบูรณ์ของทะเลที่ติดกับแม่น้ำตากใบและแม่น้ำสุไหงโก-ลก ที่นำพาแร่ธาตุไหลลงสู่ทะเล ทำให้ชายฝั่งทะเลบริเวณอำเภอตากใบมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง เกิดห่วงโซ่อาหาร มีแพลงตอนเป็นจำนวนมาก เมื่อชายฝั่งมีอาหารตามธรรมชาติ ปลากุเลาจึงเข้ามาหากินใกล้ชายฝั่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงกันยายน – ตุลาคม ชาวประมงจะจับปลากุเลาได้เป็นจำนวนมาก เมื่อมีปริมาณปลากุเลาสดเป็นจำนวนมาก จึงเกิดความคิดที่จะถนอมอาหารเพื่อเก็บไว้ได้หลายวัน จึงใช้วิธีการทำปลาเค็ม ที่เป็นการตกผลึกภูมิปัญญาพื้นบ้านสืบทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น เฉพาะท้องถิ่นของชาวอำเภอตากใบ สร้างรายได้ให้กับท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

8A62D4F1 578D 455A A029 232B79D8EE8E

ประวัติความเป็นมา

การทำปลากุเลาเค็ม มีมาเกือบ 100 ปี เป็นการถนอมอาหารที่ใช้ปลากุเลาสดในท้องถิ่นจากทะเลบริเวณปากแม่น้ำตากใบ ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งอาหารของปลากุเลา ทำให้ปลากุเลาเค็มตากใบ มีความอร่อยเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนปลากุเลาเค็มจากแหล่งอื่นๆ ได้รับความนิยมทั้งในพื้นที่และต่างจังหวัด ตลอดจนประเทศใกล้เคียง เป็นของฝากที่มีคุณค่า มีผู้ต้องการอย่างมาก จนเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป “คนกินไม่ได้ซื้อ คนซื้อไม่ได้กิน” คำพูดติดปากที่บรรยายถึงความนิยมของปลากุเลาเค็มตากใบ ที่จะซื้อเป็นของฝากมากกว่านำมารับประทานเอง เพราะมีราคาค่อนข้างสูง แต่ด้วยรสชาติอร่อย ไม่เค็มจนเกินไป เนื้อฟู มีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ เป็นที่ถูกใจของผู้ที่ได้ลิ้มลองสมญานามว่าเป็น “ราชาแห่งปลาเค็ม”


ขอบเขตพื้นที่การผลิตปลากุเลาเค็มตากใบ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

gi x 58100125 page 0004แก้