“ไชโป้วโพธาราม” จากภูมิปัญญาของคนในพื้นที่ที่สืบทอดกันมา

“ไชโป้วโพธาราม” (Photharam Preserved Radish หรือ Chai Pow Photharam) หมายถึง ไชโป้วเค็มและไชโป้วหวานที่ผลิตจากผักกาดหัวหรือหัวไชเท้าเฉพาะส่วนรากที่มีเนื้อสีขาว โดยนำมาแปรรูปด้วย วิธีการดองเค็มด้วยเกลือทะเล และวิธีการดองหวานด้วยน้ำตาลทรายขาว ซึ่งเป็นวิธีการถนอมอาหารจากภูมิปัญญาของคนในพื้นที่ที่สืบทอดกันมา มีรสชาติเค็มหรือหวานปนเค็มที่กลมกล่อม กรอบ และมีสีน้ำตาลสวย ผลิตในพื้นที่อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ทั้งนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI) ” ไชโป้วโพธาราม” เมื่อ 29 กันยายน พ.ศ.2565

458169892 825218603141241 349564803912650781 n

กระบวนการผลิต

วัตถุดิบ

(1) สายพันธุ์หัวไชเท้าที่นํามาปลูกเพื่อใช้แปรรูปเป็นไชโป้วโพธารามจะใช้พันธุ์เบาของกลุ่มเอเชียที่เป็นพันธุ์แบบจีน

(2) หัวไชเท้าที่นํามาแปรรูปเป็นไชโป้วโพธารามปลูกในพื้นที่จังหวัดราชบุรีหรือจังหวัดใกล้เคียง เช่น กาญจนบุรี นครสวรรค์ อุทัยธานี กําแพงเพชร และสุโขทัย เป็นต้น

(3) ส่วนผสมในการแปรรูป เช่น เกลือทะเลหรือเกลือสมุทร น้ำาตาลทราย และน้ำสะอาด เป็นต้น

458182323 825218969807871 2079590300244630505 n

การปลูกหัวไชเท้า

(1) การเตรียมดินควรขุดให้ลึก 20 – 30 เซนติเมตร และตากดินทิ้งไว้ 7 – 10 วัน ก่อนปลูกเพื่อกําจัดวัชพืช และแมลงในดิน ใส่ปุ๋ยคอกเพื่อปรับปรุงคุณภาพดิน จากนั้นทําการยกแปลงกว้าง 1 – 1.5 เมตร พรวนดินหรือย่อย ดินชั้นผิวหน้าเพื่อกลบปุ๋ยรองพื้นและทําให้ดินผิวหน้ามีขนาดเล็ก

(2) นําเมล็ดพันธุ์ไปปลูกในดินที่เตรียมไว้ โดยวิธีการปลูกมีสองวิธี คือ การปลูกโดยการหว่านเมล็ดและการหยอดเมล็ดเป็นแถว ระยะห่างจะขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่ใช้ปลูก


(3) การให้น้ำ ให้อย่างสม่ำเสมอและเพียงพอต่อความต้องการ สําหรับการปลูกในฤดูหนาว ซึ่งมีน้ำค้างมาก จะให้น้ำในปริมาณเท่าที่จําเป็นเท่านั้น เนื่องจากหัวไชเท้าเติบโตจากน้ำค้าง

(4) การถอนแยก หลังจากปลูกได้ 7 – 10 วัน หรือต้นกล้าเริ่มงอกมีใบจริง 2 – 3 ใบ ควรถอนแยก ต้นอ่อน ที่อ่อนแอ เป็นโรค หรือถูกแมลงกัดกินทิ้ง กรณีที่ปลูกโดยการหว่านควรถอนแยกและจัดระยะห่างระหว่างต้น ในช่วง 20 – 30 เซนติเมตร ส่วนการปลูกแบบหยอดหลุมควรถอนให้เหลือหลุมละ 1 ต้น

(5) การให้ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยหลังจากปลูกแล้ว 7 – 10 วัน โดยโรยข้างแถวและพรวนดินกลบลงไป และควรให้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวได้ดี โดยใส่เมื่อหัวไชเท้ามีอายุ 20- 25 วัน ในอัตราส่วนตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่

(6) การพรวนดินและกําจัดวัชพืช ควรทําพร้อม ๆ กับการใส่ปุ๋ยทั้ง 2 ครั้ง คือ หลังปลูก 7 – 10 วัน และ 20 – 25 วัน

การเก็บเกี่ยว

(1) ควรเก็บเกี่ยวทันทีเมื่อถึงอายุการเก็บเกี่ยว โดยอายุการเก็บเกี่ยวจะอยู่ในช่วง 42 – 48 วัน

(2) นําหัวไชเท้ามาล้างน้ำให้สะอาดและตัดใบออกให้เหลือเฉพาะจุกยาวประมาณ 5 เซนติเมตร หลังจากนั้น ห่อด้วยกระดาษหรือผ้าขาวบางแล้วบรรจุใส่ถุงหรือกล่องพลาสติก จากนั้นควรนําไปแช่ในตู้เย็น เพื่อรักษาความสด ทั้งนี้ ไม่ควรให้หัวไชเท้าโดนความร้อนหรือแสงแดด เพราะจะทําให้หัวไชเท้าเหี่ยวได้ง่าย

การผลิตไชโป้วเค็ม

(1) เตรียมบ่อที่สะอาดและแข็งแรงสําหรับพักหัวไชเท้า

(2) นําหัวไชเท้าใส่ลงไปในบ่อที่เตรียมไว้และใส่เกลือทะเลตามเป็นชั้นๆอย่างทั่วถึง ในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 เพื่อให้หัวไชเท้าและเกลือทะเลทับกัน ทิ้งไว้ 1 วัน เพื่อรีดน้ำออกจากหัวไชเท้า หรือตามความเหมาะสมของแต่ละราย

(3) ตักหัวไชเท้าจากบ่อขึ้นมากองไว้บนพื้นลานโล่งๆ และใส่เกลือทะเลให้ทั่ว โดยแต่ละกองจะวางหัวไชเท้า และใส่เกลือทะเลทับเป็นชั้นๆ ทิ้งไว้ 1- 2 วัน แล้วทําการพลิกกลับด้านพร้อมกับใส่เกลือทะเลให้ทั่วกอง หลังจากนั้นพักไว้ 1 – 6 วัน หรือตามความเหมาะสมของแต่ละราย

(4) นําหัวไชเท้า เข้ามาเก็บไว้ในตัวอาคารพร้อมกับใส่เกลือทะเลให้ทั่ว ทิ้งไว้ประมาณ 30 วัน จะได้ไชโป้วเค็ม ที่แห้งและมีสีน้ำตาลโดยไม่ต้องตากแดด หรือตามความเหมาะสมของแต่ละราย

(5) นําไชโป้วเค็มไปร่อนเพื่อให้เกลือหลุดออกจากเนื้อไชโป้วและเก็บสต๊อกไว้สําหรับบริโภคหรือแปรรูปหรือจําหน่าย

(6) นําไชโป้วเค็มมาคัดเลือกขนาดโดยแบ่งออกเป็น 3 ขนาด ได้แก่ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่

(7) นําไชโป้วเค็มที่คัดเลือกขนาดแล้วมาล้างด้วยน้ำเปล่าให้สะอาดแล้วนําไปแปรรูปในรูปแบบต่างๆ เช่น แบบฝอย(เป็นเส้นเล็กๆ) แบบสับ(เป็นชิ้นเล็กๆ) แบบแว่น(เป็นแผ่นเล็กบางคล้ายวงกลมหรือวงรี) แบบลูกเต๋า (เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดเล็ก) แบบหัว(เป็นรูปทรงเรียวยาวคล้ายกระบอก แห้ง ลีบ) สําหรับแบบหัวจะใช้ ไชโป๊วเค็มขนาดเล็กจึงไม่ต้องหั่น เป็นต้น

การผลิตไชโป้วหวาน

นําไชโป้วเค็มที่แปรรูปเป็นรูปแบบต่างๆมาล้างให้สะอาดแล้วใส่ลงในถังพลาสติกแบบ food grade โดยใส่น้ำตาลทรายขาวลงไปด้วยปริมาณตามความเหมาะสมของรสชาติและความหวานที่ต้องการ แล้วหมักทิ้งไว้ 15 – 25 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดและรูปแบบ จะได้ไชโป้วหวานที่มีสีน้ำตาลเป็นเงาสวยงาม

ลักษณะทางภูมิศาสตร์

อําเภอโพธารามเป็น 1 ใน 10 อําเภอของจังหวัดราชบุรี ซึ่งตั้งอยู่ในภาคกลางด้านตะวันตกที่ละติจูด 13 องศา 41 ลิปดา 30 ฟิลิปดาเหนือ และลองจิจูด 99 องศา 51 ลิปดา 12 ฟิลิปดาตะวันออก พื้นที่ด้านตะวันออกและตอนกลางเป็นที่ราบลุ่ม ด้านทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่ราบสูงมีภูเขาและเนินเขาอยู่ทั่วไป มีพื้นที่ที่เป็นเนินเขาประมาณ 6.60 ตารางกิโลเมตร มีป่าไม้เบญจพรรณบ้างประปราย มีแม่น้ำสายสําคัญ คือ แม่น้ำแม่กลอง โดยมีต้นน้ำอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี ไหลผ่านอําเภอโพธารามในตําบลชําแระ สร้อยฟ้า คลองตาคต โพธาราม ท่าชุมพล บางโตนด คลองข่อย และเจ็ดเสมียน และไหลผ่านอําเภอเมืองราชบุรีแล้วลงสู่ทะเลที่จังหวัด สมุทรสงคราม สภาพภูมิประเทศของอําเภอโพธารามส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำแม่กลองไหลผ่าน ทําให้เกิดการทับถมจากตะกอนที่มีอายุน้อยจากแม่น้ำแม่กลอง ซึ่งวัตถุที่มาทับถมกันมีหลากหลายขนาด ทําให้เกิดเป็นดิน หลายชนิด ได้แก่ ดินร่วนปนทราย ดินเหนียวปนทราย และดินเหนียว ดินส่วนใหญ่มีปฏิกิริยาเป็นด่าง

สภาพภูมิอากาศ

สภาพภูมิอากาศได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทําให้มีอากาศหนาวเย็น และได้รับอิทธิพล ของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทําให้มีฝนตกชุกและอากาศมีความชุ่มชื้นสูง แบ่งออกเป็น 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ – กลางเดือนพฤษภาคม เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือสิ้นสุดลง และ ลมฝ่ายใต้พัดมาปกคลุมพื้นที่แทน ทําให้มีอากาศร้อนอบอ้าวโดยทั่วไป และร้อนจัดในเดือนเมษายน ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ กลางเดือนพฤษภาคม – กลางเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ปกคลุมพื้นที่ ทําให้มีฝนตกชุกในช่วง ดังกล่าว โดยฝนจะตกชุกมากในเดือนกันยายนและเดือนตุลาคม ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม – กลางเดือน กุมภาพันธ์ เกิดจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือและความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่มาปกคลุมพื้นที่ ทําให้มีอากาศหนาวเย็นและแห้งแล้ง

ด้วยอําเภอโพธารามมีสภาพภูมิอากาศที่ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและความกดอากาศสูงจากประเทศจีนทําให้มีอากาศหนาวเย็น ประกอบกับสภาพทางธรณีวิทยาที่เกิดจากการทับถมของตะกอนที่มีอายุน้อยและมีหลายขนาดทําให้ดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายและมีปฏิกิริยาเป็นด่าง จึงเป็นสภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะต่อการปลูกหัวไชเท้าเป็นอย่างยิ่ง ส่งผลให้การปลูกหัวไชเท้าซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของการทําไชโป้ว ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี คือ ผิวเรียบบาง เนื้อแน่น ไม่ฝ่อหรือฟาม มีรูปทรงเรียวยาวคล้ายกระบอกและมีน้ำหนักดี เมื่อนํามาผลิตไชโป้วทําให้ได้ไชโป้วที่มีเนื้อกรอบ ไม่เปื่อยยุ่ย ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของ” ไชโป้วโพธาราม”

ประวัติความเป็นมา

จังหวัดราชบุรี เป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งของประเทศไทย ตั้งอยู่ในภาคกลางด้านตะวันตก มีแม่น้ำแม่กลอง เป็นแม่น้ำสายสําคัญไหลผ่าน แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 อําเภอ โพธารามเป็นอําเภอหนึ่งของจังหวัดราชบุรี เดิมมีฐานะเป็นตําบล ชื่อ “ตําบลโพธาราม” ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นอําเภอ นับเป็นอําเภอที่มีความหลากหลาย ด้านชาติพันธุ์ กล่าวคือ มีทั้งลูกหลานชาวจีนที่ปัจจุบันเรียกว่าชาวไทยเชื้อสายจีน ลูกหลานชาวลาว ชาวมอญ และ ชาวไทย ซึ่งชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีจํานวนมากที่สุดในอําเภอโพธาราม โดยส่วนใหญ่เป็นชาวจีน แต้จิ๋ว ชาวจีนแคะ ชาวจีนไหหลํา และชาวจีนกวางตุ้ง ตามลําดับ ชาวจีนยุคแรกที่อพยพเข้ามาในอําเภอโพธาราม มีวิถีชีวิตตามแบบอย่างประเทศแม่ทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการก่อสร้าง การแต่งกาย ภาษาที่ใช้สื่อสาร ความเชื่อและประเพณีประจําปี รวมถึงอาหารการกิน ทําให้อําเภอโพธารามในยุคนั้นเป็นเหมือนประเทศจีนขนาด เล็ก สําหรับเรื่องอาหารนั้น ผักกาดหรือหัวไชเท้า เป็นพืชผักอย่างหนึ่งที่คนจีนนิยมรับประทาน จึงมีการนําชื่อที่ใช้ เรียกผักชนิดนี้ในภาษาจีนมาใช้เป็นคําทับศัพท์ในภาษาไทย คือคําว่า “ไชเท้า” ในภาษาจีนหมายถึง ผักหัว เมื่อคนไทยนํามาใช้ ได้เติมคําว่า “หัว” เข้าไปข้างหน้าจึงเรียกว่า “หัวไชเท้า”

นอกจากรับประทานเป็นผักสดแล้วยังนิยมนํามาแปรรูปเป็นไชโป้วอีกด้วย โดยเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมในการถนอมอาหารของชาวจีนแต้จิ๋วในอําเภอเตี้ยเลี้ย เตี้ยอัน บิ๊กเอี้ย และเหยียวเพ้ง ในเมืองแต้จิ๋ว ประเทศจีน เมื่อพิจารณาจากชื่อที่ใช้เรียก คําว่า “ไชโป้ว” เป็นภาษา พูดของคนจีนแต้จิ๋ว หมายถึงผักกาดหัวแห้ง คําว่า “โป้ว” หมายถึง ซูบ ผอม ไม่มีน้ำซึ่งความหมายของคําสามารถบ่งบอกคุณลักษณะและรูปลักษณ์ของไชโป้วที่แห้งลีบได้เป็นอย่างดี

ในอดีตเมื่อประมาณ 60 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ในอําเภอโพธารามเป็นแหล่งเพาะปลูกที่สําคัญของผักกาดหัว หรือหัวไชเท้า เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายและมีอากาศหนาวเย็น ซึ่งเป็นสภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะ ต่อการปลูกหัวไชเท้าเป็นอย่างยิ่ง รวมทั้งมีชาวไทยเชื้อสายจีนนิยมรับประทานหัวไชเท้าอาศัยอยู่เป็นจํานวนมาก ทําให้เกษตรกรหันมาปลูกหัวไชเท้ากันมากขึ้น ซึ่งการปลูกหัวไชเท้าจะมีอายุการเก็บเกี่ยวในช่วง 42 – 48 วัน หลังจากปลูก ดังนั้น เมื่อถึงช่วงเก็บเกี่ยว เกษตรจะต้องรีบเก็บเกี่ยวทันที หากปล่อยให้เกินอายุจะทําให้คุณภาพของ หัวไชเท้าลดลง มีรสชาติไม่ดี เนื้อเหนียว และน้ําหนักเบา ทําให้ขายไม่ได้ราคา เมื่อเกษตรกรไม่สามารถเก็บเกี่ยว ผลผลิตได้ทันตามกําหนด จึงมองหาวิธีแก้ปัญหาโดยใช้ภูมิปัญญาสําหรับการถนอมอาหารเพื่อยืดอายุการบริโภค หัวไชเท้าสด ซึ่งได้มีการนําวิธีการแปรรูปหัวไชเท้าให้เป็นไชโป้วด้วยวิธีการดองเค็มทําให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูป จากหัวไชเท้า เรียกว่า “ไชโป้วเค็ม”

และนอกจากการดองเค็มแล้ว ยังได้มีการนําวิธีการดองหวานมาใช้อีกด้วย เรียกว่า “ไชโป้วหวาน”ในจํานวนพื้นที่ 19 ตําบลของอําเภอโพธารามนั้น ตําบลเจ็ดเสมียนเป็นตําบลที่มีการผลิตและจําหน่าย ไชโป้วมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งไชโป้วหวาน ซึ่งสืบเนื่องมาจากเดิมเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกหัวไชเท้าจํานวนมากและเป็นพื้นที่ที่นําภูมิปัญญาการทําไชโป้วของชาวจีนแต้จิ๋วมาประยุกต์ใช้ในการทําไชโป้วเค็มและไชโป้วหวานจนมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ได้แก่ ความกรอบ รสชาติความเค็มหรือความหวานเค็มที่กลมกล่อม สีน้ำตาลสวย และ กลิ่นหอมที่แสดงถึงความเค็มของไชโป้ว นับเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตรที่มีชื่อเสียงและเป็นของดีประจํา พื้นที่ จนเป็นคําขวัญประจําตําบลว่า “ถิ่นไชโป้วหวาน โจษขานเค้กมะพร้าวอ่อน สุดยอดมะขามเทศมัน สีสัน ประเพณีแห่งดอกไม้” ที่สามารถสร้างชื่อเสียงให้กับตําบลเจ็ดเสมียน รวมทั้งอําเภอโพธารามและจังหวัดราชบุรี อีกด้วย

ปัจจุบัน” ไชโป้วโพธาราม” สามารถสร้างรายได้คิดเป็นมูลค่าทางการตลาดไม่น้อยกว่า 300 – 400 ล้านบาท ต่อปี และเป็นแหล่งผลิตไชโป้วแหล่งใหญ่ที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดถึงร้อยละ 50 ของมูลค่าการตลาดทั้งระบบ และ นับวันความต้องการผลิตภัณฑ์แปรรูปชนิดนี้มีเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ทําให้ผู้ผลิตแต่ละรายต้องขยายขนาดของธุรกิจให้เติบโตตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นด้วย


ขอบเขตพื้นที่การผลิต

ไชโป้วโพธาราม ครอบคลุมพื้นที่อําเภอโพธาราม ของจังหวัดราชบุรี

GI65100189 page 0009