“โรคใบหงิก”หรือ”โรคจู๋ข้าว”ภัยร้ายในนาข้าว

“โรคใบหงิก” (โรคจู๋) สาเหตุเกิดจาก เชื้อไวรัส Rice Ragged Stunt Virus พบมาก ในนาชลประทาน เขตภาคกลาง

S 9248899

📍ลักษณะอาการเป็นอย่างไร ?

📍ต้นข้าวเป็นโรคได้ ทั้งระยะกล้า แตกกอ ตั้งท้องอาการของต้นข้าวที่เป็นโรค สังเกตได้ง่าย คือ ข้าวต้นเตี้ย ไม่พุ่งสูงเท่าที่ควร ใบสีเขียวเข้ม แคบและสั้น ใบใหม่แตกช้ากว่าปกติ และเมื่อแตกพุ่งขึ้นมาไม่ค่อยสมบูรณ์ ปลายใบบิดเป็นเกลียว เป็นลักษณะเด่นที่เรียกว่า โรคใบหงิก นอกจากนี้ยังสังเกตเห็นขอบใบแหว่งวิ่นและเส้นใบบวมโป่งเป็นแนวยาวทั้งที่ใบและกาบใบ ข้าวที่เป็นโรคออกรวงล่าช้าและให้รวงไม่สมบูรณ์ รวงให้เมล็ดลีบเป็นส่วนใหญ่ เมล็ดด่างเสียคุณภาพเป็นส่วนมาก ผลผลิตลดลงประมาณ 30 ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ และถ้ามีโรคแทรกเข้าซ้ำเติม เช่น โรคเมล็ดด่างและโรคใบขีดสีน้ำตาล ซึ่งทั้งสองโรคนี้มักพบเสมอกับข้าวที่เป็นโรคใบหงิก อาจทำให้ผลผลิต เสียหายถึง 100 เปอร์เซ็นต์

📍การแพร่ระบาด

📍การแพร่ระบาดสามารถถ่ายทอดโรคได้โดยแมลงพาหะ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเชื้อไวรัสคงอยู่ในตอซัง และหญ้าบางชนิด

🔥การป้องกันกำจัดทำอย่างไร ?

1) กำจัดหรือทำลายเชื้อไวรัส โดยไถกลบหรือเผาตอซังในนาที่มีโรค กำจัดวัชพืชโดยเฉพาะวัชพืชใกล้แหล่งน้ำที่เป็นที่อยู่อาศัยและขยายพันธุ์ของแมลงพาหะ

2) ปลูกข้าวพันธุ์ด้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเช่น สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 2 สุพรรณบุรี 60 สุพรรณบุรี 90 ปทุมธานี 1 พิษณุโลก 2 ชัยนาท 1 และชัยนาท 2 และไม่ควรปลูกพันธุ์เดียวติดต่อกันเกิน 4 ฤดูปลูกควรปลูกสลับกันระหว่างพันธุ์ต้านทานสูงกับพันธุ์ทนทานหรือพันธุ์อ่อนแอปานกลาง โดยพิจารณาอายุเก็บเกี่ยวให้ใกล้เคียงกัน เพื่อลดความเสียหายเมื่อเกิดการระบาดรุนแรง

3) ในแหล่งที่มีการระบาด และควบคุมระดับนํ้าในนาได้หลังปักดําหรือหว่าน 2-3 สัปดาห์ จนถึงระยะตั้งท้องควบคุมนํ้าในแปลงนาให้พอดินเปียก หรือมีนํ้าเรี่ยผิวดินนาน 7-10 วันแล้วปล่อยขังทิ้งไว้ให้แห้งเองสลับกันไป จะช่วยลดการระบาดของเพลี้ยได้

4) เมื่อข้าวอายุ 30-45 วัน แมลงส่วนใหญ่ที่พบเป็นตัวอ่อน ให้ใช้สารฆ่าแมลง ไดโนทีฟูเรนหรือ บูโพรเฟซิน หรือ อีโทเฟนพรอกซ์ ไม่ควรใช้สารฆ่าแมลงผสมกันหลายๆ ชนิด หรือใช้สารฆ่าแมลงผสมสารป้องกันกําจัดโรคหรือสารกําจัดวัชพืช เพราะอาจทําให้ประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงลดลง

5) เมื่อพบแมลงส่วนใหญ่เป็นตัวเต็มวัยจํานวนมากกว่า 1 ตัวต่อต้นในระยะข้าวตั้งท้องถึงออกรวง ใช้สารไทอะบีโทแซม (แอคทาร่า 25% ดับบลิวพี) อัตรา 2 มิลลิลิตรต่อนํ้า 20 ลิตร หรือสารไดโนทีฟูแรน (สตาร์เกิล 10% ดับบลิวพี) อัตรา 15 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร

6) ไม่ควรใช้สารฆ่าแมลงที่ทําให้เพิ่มการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีนํ้าตาล (resurgence)หรือ สารกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ เช่นไซเพอร์มิทริน ไซฮาโลทริน เดลต้ามิทรินเนื่องจากสารกลุ่มนี้ไปทําลายแมลงศัตรู

ธรรมชาติ จึงทําให้เกิดการระบาดรุนแรงของเพลี้ยกระโดดสีนํ้าตาล

7) ถ้าปฏิบัติได้เมื่อมีโรคระบาดรุนแรง ควรงดปลูก 1 – 2 ฤดู เพื่อตัดวงจรชีวิตแมลงพาหะ

ที่มา : กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว