เรียนรู้ “ปลูกป่า 5 ระดับ” และ ป่าไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง

ป่าไม้ 5 ระดับ คือ

1.ไม้สูง : จะมีความสูงจากพื้นดินตั้งแต่ 240 ซม. ขึ้นไป เป็นไม้ที่ใช้ปลูกเพื่อเป็นร่มเงา

2.ไม้กลาง : จะมีความสูงจากพื้นดินไม่เกิน 180 ซม.  

3.ไม้เตี้ย : จะมีความสูงจากพื้นดินไม่เกิน 45 ซม.  

4.ไม้เรี่ยดิน, ไม้เลื้อย : จะมีความสูงจากพื้นดินไม่เกิน 30 ซม. ประโยชน์ของไม้คลุมดิน คือ ยึดหน้าดินเอาไว้ไม่ให้พังทลายเวลาโดนน้ำพัด ลดความร้อนระอุของดิน

5.ไม้หัวใต้ดิน : เป็นไม้ที่มีหัวอยู่ใต้ดิน

ป่าไม้ 3 อย่าง คือ

1.ป่าไม้ ใช้สอย: สามารถนำไม้มาใช้ทำ ถ่าน ฟืน ให้พลังงาน ก่อสร้างทำคอกสัตว์ ทำกสิกรรมต่างๆ

2.ป่าไม้ ที่ใช้ในการก่อสร้าง : สามารถนำไม้มาใช้สร้างบ้านเรือน เฟอร์นิเจอร์

3. ป่าไม้ กินได้ : นำผลไม้ที่ได้มากินได้ นำมาเป็นอาหาร ยารักษาโรค เครื่องดื่ม เช่น พืชผัก สมุนไพร ผลไม้

C33AFAB2 0ADC 4CDE 8EBF 6A9F78E8DD26

ประโยชน์ 4 อย่าง คือ

1.พออยู่ หมายถึง ไม้ยืนต้น ไม้เศรษฐกิจ ปลูกไว้ใช้ก่อนสร้างทำที่อยู่อาศัย ซ่อมแซมบ้านเรือน ออมเงิน และจำหน่าย

2.พอกิน หมายถึง การปลูกพืชผัก สมุนไพร และผลไม้ที่กินได้

3.พอใช้ หมายถึง ปลูกไม้ไว้ใช้สอย และพลังงาน เช่น ไม้ฟืน และไม้ไผ่ เป็นต้น

4. ประโยชน์ต่อระบบนิเวศ สร้างความสมบูรณ์และก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่า

S 9101419

ตัวอย่างไม้แต่ละประเภท

1.ไม้สูง : ไม้ยืนต้น ไม้เศรษฐกิจ ออมเงิน ช่วยรักษาระบบนิเวศ เช่น ตะเคียน ยางนา เต็ง รัง มะค่า มะฮอกกานี ประดู่ ต้น สัก พยุง ฯลฯ

2.ไม้กลาง : ไม้ที่มีความสูงเป็นรองกลุ่มไม้ยืนต้น เช่น สะเดา ขี้เหล็ก มะขาม มะกรูด มะนาว มะพร้าว ส้มโอ ขนุน ทุเรียน มะม่วง ดอกแค กล้วย ชะอม พืชไร่ พืชสวน ทุกชนิด ฯลฯ

3.ไม้เตี้ย : ต้นไม้ที่มีทรงพุ่มเตี้ย เช่น พริก มะเขือ กะเพรา ตะไคร้ ข้าว ฟ้า ทะลายโจร ทานตะวัน ไม้ดอก พืชสมุนไพรต่างๆ ฯลฯ

4.ไม้เรี่ยดิน : ไม้เลื้อย เช่น บวบ น้ำเต้า ถั่ว แตง มะระ ตำลึง ผักบุ้ง พืชผักต่างๆ ฯลฯ

5.ไม้หัวใต้ดิน : ปลูกพืชที่มีหัวฝังดิน เช่น ขิง ข่า หัวหอม กระเทียม สายบัว เผือก มัน ถั่วลิสง ฯลฯ

วิธีปลูก ปลูกไม้ 3 ชนิด ในพื้นที่เดียวกัน ดังนี้

1.ไม้ใช้สอย : ( ไม้โตเร็ว 5-10 ปีใช้ได้, ไม้ฟืน ) จำนวน 100 ต้น/ไร่ ใช้ระยะปลูก 4 x 4 เมตร

2.ไม้ก่อสร้าง : ( ไม้โตช้า, ไม้เนื้อแข็ง, ไม้เศรษฐกิจ, ไม้ยืนต้น ) จำนวน 100 ต้น/ไร่ ใช้ระยะปลูก 4 x 4 เมตร

3.ไม้ป่ากินได้ : จำนวน 25 ต้น/ไร่ ใช้ระยะปลูก 4 x 4 เมตร และปลูก ไม้ชั้นล่างแซม ปลูกพืชหัว สมุนไพร และพืชล้มลุก

การเลือกชนิดพันธุ์ไม้ปลูก

1. ไม้ใช้สอย

หมายถึง ไม้ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อเนกประสงค์ในการก่อสร้าง ทำเครื่องมือกสิกรรม ทำเฟอร์นิเจอร์ ประดิษฐกรรมฟืนและถ่านฯ ซึ่งชนิดไม้ที่ปลูกสามารถตัดฟันนำมาใช้ประโยชน์ได้ในช่วงระยะเวลาอันสั้น 5 – 10 ปี ส่วนใหญ่จะเน้นหนักพันธุ์ไม้โตเร็วเป็นหลัก แต่หากในบางพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ไม้ขนาดเล็ก เพื่ออุตสาหกรรมประดิษฐกรรม พันธุ์ไม้มีค่าเศรษฐกิจบางชนิด เช่น ไม้สัก ก็จัดเป็นไม้ใช้สอย ทั้งนี้การแบ่งหมวดหมู่ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้เป็นหลัก

ชนิดไม้ที่เหมาะสมสำหรับปลูกเป็นไม้ใช้สอย ควรมีลักษณะดังนี้

1) เป็นชนิดไม้ที่หาพันธุ์ได้ง่ายและโตเร็วในท้องถิ่นนั้น มีเรือนยอดขนาดปานกลาง รวมถึงความสามารถต้านทานต่อปัจจัยแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี
2) ให้ผลผลิตด้านเนื้อไม้สูงและมีกิ่งก้านมากพอสมควร
3) มีระบบรากค่อนข้างลึกเพื่อลดการแก่งแย่งธาตุอาหารจากพืชเกษตร และพ้นอันตรายจากการไถพรวน
4) ปลูกและบำรุงรักษาได้ง่าย
5) มีอายุการตัดฟันในระยะสั้น 5 – 15 ปี และมีความสามารถในการสืบต่อพันธุ์โดยวิธีง่าย ๆ เช่น แตกหน่อได้ดี
6) เป็นชนิดไม้ที่ให้ค่าความร้อนสูงเพื่อใช้เป็นฟืนถ่าน
7) เป็นไม้ที่ใช้ประโยชน์ได้อเนกประสงค์ เช่น ใบ ดอก ผล ใช้เป็นอาหารได้
8) สามารถช่วยให้การปรับปรุงดินได้ดี

การเลือกชนิดไม้ปลูก นอกจากจะต้องเป็นชนิดไม้ที่ควรมีลักษณะดังกล่าวข้างต้นแล้ว การเลือกชนิดไม้ปลูกยังจะต้องคำนึงถึงความต้องการ ปัจจัยแวดล้อม ของพันธุ์ไม้ชนิดนั้น ๆ โดยพันธุ์ไม้แต่ละชนิดจะมีความต้องการปัจจัยแวดล้อมที่แตกต่างกัน ปัจจัยแวดล้อมที่สำคัญ และมีผลกระทบ ต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้ประกอบด้วย สภาพภูมิอากาศ ดิน แมลงและเชื้อโรคการที่ผู้ปลูกได้ทราบข้อมูลว่าพันธุ์ไม้ชนิดใด ชอบขึ้นในสภาพแวดล้อมอย่างไร จะเป็นประโยชน์ต่อการเลือกชนิดไม้ปลูกเป็นอย่างมาก

ชนิดพันธุ์ไม้เลือกปลูกอาจเป็นที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้นหรือนำมาจากแหล่งอื่น แต่ในทางปฏิบัติที่ดี ควรเลือกชนิดพันธุ์ไม้ท้องถิ่นเป็นอันดับแรกเสียก่อน เพราะจะเป็นวิธีการที่ประหยัดและปลอดภัยที่สุด

ส่วนการเลือกชนิดพันธุ์ไม้ต่างถิ่นนำมาปลูก ควรเป็นอันดับรองและมีความแน่ใจขึ้นได้ดี ดังนั้นการได้ทราบความต้องการปัจจัยแวดล้อมของพันธุ์ไม้บางชนิดเสียก่อน ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ

เลือกชนิดไม้ปลูก ไม้โตเร็วในรูปของฟืนและถ่านขณะนี้ความต้องการเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ มีมากขึ้นอย่างรวดเร็วจนป่าธรรมชาติ มิอาจสนองตอบได้ทันท่วงที

การปลูกไม้ไว้ใช้สอยสำหรับชุมชน จึงเกิดขึ้นอย่างมากมายทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะการปลูกไม้โตเร็วสำหรับใช้สอย และฟื้นฟูสภาพพื้นดินที่เสื่อมโทรมในปัจจุบันให้ดีขึ้น พันธุ์ไม้ที่กรมป่าไม้ได้แนะนำให้ประชาชนปลูก ได้แก่ ยูคาลิปตัส สนประดิพัทธ์ กระถินยักษ์ สะเดา เลี่ยน กระถินณรงค์ สะแก ขี้เหล็ก สนทะเล และพุทรา เป็นต้น

2. ไม้ที่ใช้ในการก่อสร้าง

ไม้เป็นวัสดุซึ่งมนุษย์รู้จักกันอย่างแพร่หลาย มีการนำมาใช้ประโยชน์เป็นเวลานาน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เนื้อไม้เป็นส่วนที่ได้จากไม้ยืนต้น ซึ่งนำไปใช้สอยในรูปต่าง ๆ มากกว่าส่วนอื่น ส่วนของเนื้อไม้อาจแบ่งได้ 3 ลักษณะ
1. ใช้จากเนื้อไม้โดยตรง : เช่น ไม้กระดาน ไม้ก่อสร้างต่าง ๆ เครื่องเรือน ฯลฯ
2. ใช้จากเซลล์ในเนื้อไม้ : เช่น กระดาษ หีบห่อ ฯลฯ
3. ใช้จากอณูหรือสารเคมีจากไม้ : เช่น ยา กาวเคมี เครื่องนุ่งห่ม ไหมเทียม พลาสติก ฯลฯ

นำไม้มาใช้เป็นวัสดุก่อสร้างและเครื่องใช้ต่าง ๆ ได้ จากไม้ยืนต้น 3 ประเภท

1. ไม้ใบรูปเข็ม : พวกไม้สน (Pine)
2. ไม้ใบกว้าง : ที่ใช้กันทั่วไปในบ้านเราและรู้จักกันดีทั่วไป เช่น ไม้สัก ไม้ยาง ฯลฯ
3. ไม้ไผ่และปาล์ม : ไม้ไผ่เป็นที่รู้จักกันดี ส่วนไม้พวกปาล์ม ได้แก่หวาย มะพร้าว ตาล หมาก

ชนิดของไม้ที่เหมาะสมใช้ในงานก่อสร้างและการใช้สอยอื่น ๆ

1. เสา : ได้แก่ เต็ง ตะเคียนทอง รัง แดง เคี่ยม มะค่าโมง ประดู่ เคี่ยมคะนอง สัก เขลง กันเกรา หลุมพอ เลียงมัน ตีนนก
2. เสาเข็ม : ได้แก่ เต็ง รัง ติ้ว แต้ว พลวง ตะแบก สนทะเล สนประดิพัทธ์ ยางพารา ยูคาลิปตัส
3. แบบหล่อคอนกรีต : ได้แก่ กะบาก งิ้ว สมพง เผิง
4. หมอนรถไฟ : ได้แก่ เต็ง รัง แดง มะค่าโมง กันเกรา ตะเคียนชัน มะค่าแต้ เลียงมัน เขล็ง พันจำ เคี่ยม บุนนาค สักทะเล เคี่ยมคะนอง ซาก ตีนนก หลุมพอ
5. ไม้ขีดไฟ ไม้จิ้มฟัน : ได้แก่ มะกอก ตีนเป็ด ปออีเก้ง ปอฝ้าย ลุ่น กระเจา อ้อยช้าง มะยมป่า งิ้ว ไข่เนา สำโรง ซ้อ
6. ด้ามเครื่องมือ : ได้แก่ กระถินพิมาน ชิงชัง ฝรั่ง หลุมพอ กระพี้เขาควาย พลวง ชุมเห็ด เลียงมัน แดง แก้ว พะวา เหลาเตา เต็ง มะเกลือ ตะเคียนหนู รกฟ้า ขานาง พยุง ตะแบก
7. เครื่องเรือน : ได้แก่ ประดู่ ชิงชัง พยุง มะเกลือ มะค่าโมง มะม่วงป่า ยมหอม ตาเสือ กันเกรา จำปาป่า ตะแบก เสลา สัก กระพี้เขาควาย ดำดง จันดง

3. ไม้กินได้

ไม้ทุกชนิดมีคุณสมบัติที่ให้คุณค่าในทุก ๆ ด้านได้อย่างเอนกประสงค์ และมีไม้บางชนิดมีคุณลักษณะเพิ่มเติม สามารถให้ประโยชน์ที่ใช้ส่วนต่าง ๆ เป็นอาหารได้ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้

1) ประเภทที่กินใบและยอดอ่อน : ได้แก่ กันเกรา ขี้เหล็กบ้าน ถ่อน เพกา มะกอกป่า มะม่วงป่า สะเดา สะตอ หว้า นนทรีป่า ฯลฯ
2) ประเภทที่กินดอก :  ได้แก่ ขี้เหล็กบ้าน พะยอม เพกา สะเดา ฯลฯ
3) ประเภทที่กินผล : ได้แก่ ก่อ นางพญาเสือโคร่ง มะกอกป่า มะเกลือ มะขามป้อม
มะม่วงป่า หว้า หวาย ฯลฯ
4) ประเภทที่กินฝัก : ได้แก่ แดง เพกา มะค่าแต้ มะค่าโมง สะตอ เหรียง ฯลฯ
5) ประเภทที่กินหัว ราก หน่อ และอื่น ๆ : ได้แก่ ไผ่ต่าง ๆ สีเสียดแก่น หวาย นนทรีป่า

ประเภทและลักษณะการเจริญเติบโตของไม้

การเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้ ลักษณะเฉพาะพันธุ์ไม้ที่สำคัญซึ่งเป็นตัวแทนของไม้แต่ละประเภท เพื่อประกอบการพิจารณาและตัดสินใจปลูก โดยแยกกลุ่มชนิดพรรณไม้ตามลักษณะการเจริญเติบโตภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมของไม้แต่ละชนิด ออกเป็น 5 กลุ่ม โดยพิจารณาเมื่อต้นไม้ มีอายุและโตได้ขนาดเส้นรอบวงที่ระดับอก 100 ซม. หรือมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 ซม. ซึ่งเป็นขนาดจำกัดที่เริ่มนำไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้

1. ไม้โตเร็วมาก

คือ ไม้ที่ใช้เวลาในการเจริญเติบโตจนถึงขนาดที่กำหนด เมื่ออายุ 5 – 10 ปี โดยมีอัตราการเจริญเติบโตทางเส้นรอบวงมากกว่า 5 ซม. ต่อปี หรือมีเส้นผ่าศูนย์กลางเพิ่มขึ้นมากกว่าปีละ 1.5 ซม. เช่น ไม้สะเดาเทียม ตะกู เลี่ยน กระถินณรงค์ กระถินเทพา ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส

2. ไม้โตเร็ว

คือ ไม้ที่ใช้เวลาในการเจริญเติบโตจนถึงขนาดที่กำหนดประมาณ 10 – 15 ปี โดยมีอัตราการเจริญเติบโตทางเส้นรอบวงปีละประมาณ 5 ซม. หรือมีเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นที่ระดับอกเพิ่มขึ้นปีละ 1.5 ซม. ได้แก่ ไม้สะเดา ขี้เหล็ก ถ่อน สีเสียดแก่น โกงกาง สนทะเล สนประดิพัทธ์

3. ไม้โตปกติ

คือ ไม้ที่ใช้เวลาในการเจริญเติบโตจนถึงขนาดที่เริ่มใช้ประโยชน์ได้เมื่ออายุ 15 – 20 ปี โดยมีอัตราการเจริญเติบโตทางเส้นรอบวง 2.5 – 4 ซม./ปี หรือมีเส้นผ่าศูนย์กลางเพิ่มขึ้น 0.8 – 1.2 ซม./ปี ได้แก่ ไม้สัก สนสามใบ สนคาริเบีย

4. ไม้โตค่อนข้างช้า

คือ ไม้ที่ใช้เวลาในการเจริญเติบโตจนถึงขนาดจำกัดต่ำสุดที่เริ่มใช้ประโยชน์ได้ (เส้นรอบวงของลำต้นที่ระดับอก 100 ซม.) เมื่ออายุ 20 – 25 ปี โดยมีอัตราการเจริญเติบโตทางเส้นรอบวง 1.0 – 2.5 ซม./ ปี หรือมีอัตราการเจริญเติบโตทางเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.3 – 0.8 ซม./ปี ได้แก่ ไม้ประดู่ ยางนา แดง หลุมพอ

5. ไม้โตช้า

ได้แก่ ไม้ที่มีอายุตัดฟัน 25 – 30 ปี จึงจะโตได้ขนาดจำกัดที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยมีอัตราการเจริญเติบโตทางเส้นรอบวงน้อยกว่า 1 ซม./ปี หรือมีเส้นผ่าศูนย์กลางเพิ่มขึ้นน้อยกว่า 0.3 ซม./ปี เช่น ไม้ตะเคียนทอง พะยูง ชิงชัน มะค่าโมง เต็ง รัง

พื้นที่ที่เหมาะกับการปลูกไม้แต่ละประเภท

ภาคเหนือ : 

สัก  สนเขา (Pinus)  ยมหอม  ยมหิน  มะค่าโมง  ตะเคียนทอง  ประดู่ป่า  แดง  ยางนา  ตะแบก  จำปีป่า  จำปาป่า  แอปเปิลป่า กำลังเสือโคร่ง  นางพญาเสือโคร่ง  มะม่วงป่า  ตะกู  มะกอกป่า ตีนเป็ด  หว้า  เพกา  ราชพฤกษ์  นนทรีป่า  ก่อ  ทะโล้ มะขามป้อม  เสี้ยว  สะเดา  ขี้เหล็กบ้าน  บง  ไผ่ต่าง ๆ  หวาย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ :

สัก  มะค่าโมง  มะค่าแต้  ตะเคียนทอง  ยมหิน  ประดู่ป่า  แดง
ยางนา  พะยอม  ตะแบก  สนเขา (Punus)  ชิงชัง  พะยูง  มะม่วงป่า  เต็ง  รัง  เหียง  พลวง  นนทรีป่า  ถ่อน  พฤกษ์ ขี้เหล็กบ้าน  สะเดา  สีเสียดแก่น  สาธร  สนเขา  บง  ไผ่ต่าง ๆ หวาย

ภาคกลาง – ตะวันตก :

ประดู่ป่า สะเดา สีเสียดแก่น ตะกู มะปิน กฤษณา สัก

ยมหอม ยมหิน ตะเคียนทอง แดง ยางนา ยางแดง ตะแบก มะม่วงป่า นนทรีป่า ไผ่ต่าง ๆ หวาย กันเกรา มะเกลือ ตีนเป็ด นางพญาเสือ

โคร่ง ขี้เหล็กบ้าน มะขามป้อม สนทะเล ทองหลาง

ภาคใต้ :

ประดู่ป่า ทัง มะม่วงป่า หลุมพอ ตะกู ตะเคียนทอง ตะเคียนชันตาแมว เคี่ยม ยางนา กันเกรา ไข่เขียว ทุ้งฟ้า ขี้เหล็กบ้าน ยมหิน ทุเรียนป่า สะตอ เหรียง พะยอม ไผ่ต่าง ๆ หวาย

เคล็ดลับการปลูกไม้เศรษฐกิจให้ต้นโตเร็ว

-นอกจากดินดี แสงแดดถึงแล้ว

-ควรศึกษาต้นไม้แต่ละชนิดว่าชอบน้ำประมาณไหน เช่น บางชนิดไม่ค่อยชอบน้ำ บางชนิดชอบน้ำเยอะ

-ควรปลูกเว้นระยะห่าง 6 x 6 เมตร แล้ว ขั้นกลาง 3 เมตรด้วย ไม้ผล หรือ ผลไม้