“ลูกหยียะรัง” GI รสชาติอร่อย ของดีจังหวัดปัตตานี

“ลูกหยียะรัง” (Yarang Velvet tamarind และ/หรือ Lukyee Yarang) หมายถึง ลูกหยีพันธุ์หยีทวยหรือทวยงาช้าง และพันธุ์หยีธรรมดาหรือหยีบ้าน เป็นลูกหยีผลสุกไม่กระเทาะเปลือกและลูกหยีผลสุกกระเทาะเปลือก ที่มีผลใหญ่ ผิวเปลือกบาง สีดำ เมื่อกระเทาะเปลือกจะมีเนื้อหนายุ่ยสีแดงหรือแสด รสชาติเปรี้ยวหรือเปรี้ยวอมหวาน หรือเปรี้ยวอมฝาด และรวมถึงลูกหยีผลสุกกระเทาะเปลือกที่ผ่านการแปรรูปเป็นลูกหยีทรงเครื่อง ลูกหยีฉาบ ลูกหยีกวน ที่มีรสชาติหวานอมเปรี้ยวปนเค็ม หรือหวานอมเปรี้ยวปนเค็มและเผ็ด ที่ปลูกและแปรรูปในเขตพื้นที่จังหวัดปัตตานี

82326608 1361858733994169 8097003080928722944 n

ลักษณะภูมิประเทศ

จังหวัดปัตตานี มีลักษณะภูมิศาสตร์แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ บริเวณที่ราบ ได้แก่ ที่ราบชายฝั่งทะเลและที่ราบลุ่มน้ำที่ราบชายฝั่งทะเลอยู่ทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกของจังหวัดพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสวนมะพร้าวและป่าชายเลน ส่วนที่ราบลุ่มน้ำจะอยู่บริเวณตอนกลางของจังหวัด เกิดจากอิทธิพลของแม่น้ำป้ตตานีและแม่น้ำสายบุรี พื้นที่ส่วนใหญ่ทำนาและสวนผลไม้ บริเวณที่เป็นลูกคลื่นถึงเป็นเนินเขา ได้แก่ บริเวณที่อยู่ถัดจากบริเวณที่ราบขึ้นไปถึงเนินเขา อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้และทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสวนยางพารา บริเวณที่เป็นภูเขา สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100 เมตร ขึ้นไป มีความลาดชันมากอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้และบริเวณตอนกลางของจังหวัดมีเทือกเขาทอดตัวอยู่ในแนวตะวันตกเฉียงใต้ขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประกอบด้วย เขาน้ำค้าง เขาเปาะซีเกง เขากือลีแย เขาหินม้า เขาพ่อมิ่ง เขามะรวด และนอกจากนี้ยังมีเขาโดด ซึ่งกระจายอยู่ทั่วไปโดยภูเขาเหล่านี้ยังคงมีสภาพเป็นป่า

81659435 1361858673994175 6242283211485872128 n


ลักษณะภูมิอากาศ

จังหวัดปัตตานีตั้งอยู่ทางฝั่งทะเลตะวันออกของภาคใต้ จึงได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมทั้งสองด้าน คือ ทั้งด้านฝั่งทะเลตะวันตกและฝั่งทะเลตะวันออกแต่จะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งพัดมาจากประเทศจีนมากกว่าลมมรสุมตะวันดกเฉียงใต้ที่พัดมาจากมหาสมุทรอินเดีย จึงมีปริมาณฝนน้อยกว่าจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางฝั่งทะเลด้านทิศตะวันดก ฝนตกเฉลี่ยตลอดปี 1,766.5 ม.ม.

นอกจากนี้ยังได้รับอิทธิพธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งพัดมาจากบริเวณความกดอากาศสูงในทะเลจีนใต้ ทำให้จังหวัดปัตตานีเป็นจังหวัดที่มีอากาศอบอุ่นตลอดปีไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป

จากสภาพพื้นที่ของจังหวัดปัตตานีซึ่งส่วนใหญ่เป็นเชิงเขาและป่าเขาสูง จึงมีธรรมชาติที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นหยี และลักษณะภูมิอากาศที่มีปริมาณฝนน้อยกว่าจังหวัดใกล้เคียง มีอากาศอบอุ่นเหมาะสมต่อการตากลูกหยีและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ลูกหยียะรังที่มีคุณภาพ

ประวัติความเป็นมา

ต้นหยี เป็นไม้ยืนต้นเนื้อแข็งขนาดใหญ่มีอายุยืนนับร้อยปีและเป็นพืชพื้นถิ่นของจังหวัดปัตตานีสามารถเจริญเติบโตได้เองตามธรรมชาติ ในอดีตการปลูกต้นหยีมักปลูกเพื่อแสดงแนวเขตที่ดินหรือที่สวนของตนเอง หรือนำไม้มาสร้างบ้าน จากบันทึกและเรื่องเล่าที่สืบต่อกันมาพบว่า เรื่องราวของลูกหยีปรากฏในเพลงกล่อมเด็กเป็นภาษามลายูท้องถิ่น ดังนี้ “โต๊ะแซยาแลยัยลีมอ ยาแงลูปอเกาะกายี” แปลว่า “ผู้เฒ่าไปเที่ยวเมืองยะรัง ตอนกลับอย่าลืมลูกหยีนะ”

จากบันทึกดังกล่าวจึงเป็นหลักฐานได้ว่าลูกหยียะรังมีอยู่ในพื้นที่มาแต่ตั้งเดิม และจากความชำนาญของคนในพื้นที่ในการปีนป่ายเก็บผลลูกหยีสุก ประกอบกับ ภูมิปัญญาของการเก็บรักษาผลลูกหยีและวิธีการแปรรูป พัฒนามาเป็นผลิดภัณฑ์ลูกหยียะรังในรูปแบบต่างๆ จากสินค้าพื้นถิ่นสู่สินค้าประจำจังหวัด ซึ่งในการจัดงานประจำปีของอำเภอยะรัง ตลอดจนงานกาชาดของจังหวัดปัตตานี ต้องมีผลิตภัณฑ์ลูกหยียะรังมาจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยวจากทั่วประเทศ และโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ เป็นต้น จึงเป็นที่ชื่นชอบและทำชื่อเสียงจนปรากฏอยู่ในคำขวัญประจำจังหวัดปัตตานีเดิมที่ว่า “บูดูสะอาด หาดทรายสวย รวยน้ำตก นกเขาดี ลูกหยีอร่อย หอยแครงสด” ด้วยคุณภาพและรสชาติที่เข้มข้นแตกต่างจากพื้นที่อื่นอันเป็นสูตรดั่งเดิมที่ถ่ายทอดกันมา ทำให้ลูกหยียะรังได้รับความนิยมซื้อรับประทานหรือเป็นของฝากจนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป

GI63100147 page 0008