“ลำไยพวงทองบ้านแพ้ว” สินค้า GI จังหวัดสมุทรสาคร

ลำไยพวงทองบ้านแพ้ว”เป็นลำไยพันธุ์พวงทอง รสชาติหวานกรอบ ผลค่อนข้างเบี้ยว เมล็ดเล็ก เนื้อหนาแห้งไม่แฉะ เนื้อใสจนเห็นเมล็ด ผิวเปลือกเรียบสีน้ำตาลอ่อน ปลูกในเขตอำเภอบ้านแพ้ว อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร มีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่าน มีสภาพดินเป็นดินเหนียวอุดมสมบูรณ์ บริเวณผิวดินมีอนุมูลของโพแทสเซียม (K+) ที่จำเป็นต่อการสร้างน้ำตาลของลำไย ส่งผลให้ “ลำไยพวงทองบ้านแพ้ว “มีความหวาน รสชาติถูกปากผู้บริโภค

630800003179

กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หรือ สินค้า GI เมื่อปี 2563

มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว เนื้อแน่น น้ำนิด ติดก้าน หวานกรอบ อร่อยมาก เพาะปลูกจากดิน 3 น้ำได้แก่ น้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม ซึ่งดินในลักษณะนี้ จะมีโพแทสเซียมสูง ทำให้ผลไม้มีรสชาติหวานแตกต่างจากลำไยที่อื่น กินแล้วจะไม่เจ็บคอ ไม่ร้อนใน

ลักษณะภูมิประเทศ

จังหวัดสมุทรสาคร ตั้งอยู่ระหว่างละติจุด 13 องศา 34 ลิปดา 0 ฟิลิปดาเหนือ ลองจิจูด 100 องศา 13 ลิปดา o ฟิลิปดาตะวันออก มีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่านตอนกลางจังหวัด ไหลคดเคี้ยวจากแนวเหนือลงใต้สู่อ่าวไทย จึงเหมาะที่จะทำการเพาะปลูกพืชนานาชนิด พื้นที่ตอนบนในเขตอำเภอบ้านแพ้วและอำเภอกระทุ่มแบน ดินเป็นดินเหนียวมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมในการปลูกลำไยพวงทองบ้านแพ้ว เนื่องจากบริเวณผิวของดินจะมีอนุมูลของโพแทสเซียม (K+) ที่มีความจำเป็นกับลำไยมาก เพราะมีหน้าที่ในการสร้างน้ำตาลส่งผลให้ลำไยมีความหวานเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค

338729196 203882332340242 6391630612027367821 n

ลักษณะภูมิอากาศ

จังหวัดสมุทรสาคร อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมซึ่งพัดเป็นประจำ ได้แก่ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจะพัดจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือในฤดูหนาว อิทธิพลของลมทำให้บริเวณจังหวัดสมุทรสาครมีอากาศหนาวเย็นและแห้งแล้งในฤดูหนาว กับลมมรสุมอีกชนิดคือลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งพัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นส่วนใหญ่ในฤดูฝน ทำให้อากาศชุ่มชื้นและมีฝนตกทั่วไป เป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการปลูกลำไยพวงทองบ้านแพ้ว เนื่องจากในฤดูหนาวมีปริมาณน้ำฝนน้อยและอุณหภูมิด่ำ 10-20 องศาเซลเซียส เหมาะสมกับการออกดอกของลำไย ซึ่งต้องการน้ำน้อยและอากาศหนาวเย็น ในช่วงก่อนออกดอก โดยเฉพาะถ้าปีใดอากาศหนาวเย็นนาน ลำไยพวงทองบ้านแพ้ว จะออกดอกติดผลมาก

405411414 907509737604828 112091332027211449 n

ประวัติความเป็นมา

ลำไยพันธุ์พวงทองมีเเหล่งกำเนิดจากภาคเหนือ ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้บันทึกว่าพบที่อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โดยบังเอิญจากงานประกวดลำไยของภาคเหนือ โดยมีผู้นำลำไยไปประกวด คณะกรรมการเห็นว่า มีขนาดช่อใหญ่มาก ทรงช่อสวย แต่ไม่มีชื่อของพันธุ์ลำไย จึงสอบถามเจ้าของว่าพันธุ์อะไร เจ้าของเองก็ไม่ทราบชื่อพันธุ์ คณะกรรมการจึงให้เจ้าของตั้งชื่อ เจ้าของจึงตั้งชื่อตามชื่อภรรยาของเขาว่า พวงทอง ตั้งแต่นั้นมาลำไยพันธุ์นี้จึงมีชื่อว่า พันธุ์พวงทอง และผลการประกวดลำไยปรากฏว่าได้รับรางวัลชนะเลิศ แต่เกษตรกรทางภาคเหนือไม่นิยมปลูก เมื่อปี พ.ศ. 2535 เกษตรกรอำเภอบ้านแพ้วได้นำลำไยพันธุ์พวงทองมาปลูก เมื่อปลูกแล้วพบว่ามีดอกและช่อใหญ่ ผลติดเต็มช่อ ผลใหญ่เนื้อหนา เมล็ดมีขนาดปานกลาง รสหวาน เนื้อกรอบ แห้งไม่แฉะ เนื้อใสจนเห็นเมล็ด เนื้อไม่ติดจุกเมล็ด รับประทานได้ในปริมาณมากไม่ทำให้เกิดอาการร้อนใน หลังจากนั้น มีพ่อค้าแม่ค้าสนใจเป็นจำนวนมากสามารถจำหน่ายผลผลิตได้เป็นปริมาณมากเเต่ผลผลิตก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด เกษตรกรจึงสนใจและขยายพันธุ์มากขึ้น จนมีพื้นที่ปลูกทั่วทั้งอำเภอบ้านแพ้วและอำเภกระทุ่มแบนของจังหวัดสมุทรสาคร จึงเป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียงประจำจังหวัดสมุทรสาครอีกชนิดหนึ่ง

GI63100145 page 0005