“ชมพู่เพชร” ( Phet Apple) หมายถึง ชมพู่พันธุ์เพชรสายรุ้ง ซึ่งปลูกในอำเภอเมืองเพชรบุรี ท่ายาง บ้านลาดและบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) “ชมพู่เพชร” เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ.2553 โดยผู้ขอยื่นจดทะเบียน คือ จังหวัดเพชรบุรี
การปลูก
(1) ปลูกได้ตลอดปี
(2) การเตรียมพื้นที่ปลูก มีการขุดหลุมปลูก โดยเว้นระยะห่างระหว่างต้นตามความเหมาะสม
(3) ปลูกโดยใช้กิ่งพันธุ์ วางกลางหลุม แล้วกดดินให้แน่น รดน้ำให้ชุ่ม ใช้ ไม้ปักเป็นหลักผูกกิ่งชมพู่เพื่อป้องกันลมโยกในระยะแรก และควรพรางแสงเพื่อป้องกันต้นเหี่ยวเฉาด้วย
ลักษณะภูมิประเทศ
จังหวัดเพชรบุรีมีลักษณะ พื้นที่เป็นภูเขาและที่ราบสูงอยู่ทางด้านตะวันดกติดกับสหภาพพม่า พื้นที่จะค่อยๆลาดต่ำลงมาทางด้านตะวันออกซึ่งเป็นบริเวณที่เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเพชรบุรีและแม่น้ำปราณบุรี เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ อยู่บริเวณตอนกลางของจังหวัด ซึ่งอุดมสมบูรณ์ที่สุด มีแม่น้ำเพชรบุรีไหลผ่าน มีเขื่อนแก่งกระจานและเขื่อนเพชรบุรี
ลักษณะของดิน เป็นดินเหนียวถึงร่วนปนกรวดปนทราย ดินมีความอุดมสมบูรณ์และระบายน้ำได้ดี ดินมีความเหมาะสมในการปลูกชมพู่มาก เนื่องจากเป็นดินที่เกิดจากการทับถมของตะกอนลำน้ำใหม่ หรือเกิดจากตะกอนที่มีน้ำในลำคลองพัดพามาทับถมทุก ๆ ปี พบได้บริเวณสองฝั่งแม่น้ำเพชรบุรี สภาพอากาศอบอุ่นตลอดปี
ประวัติความเป็นมา
จังหวัดเพชรบุรี เป็นแหล่งปลูกชมพู่พันธุ์เพชรสายรุ่งที่มีชื่อเสียงมานาน ชมพู่เพชรสายรุ้งปลูกในเพชรบุรีครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2375 ปลูกที่ข้างบันไดทางขึ้นวัดศาลาเขื่อน ได้มาจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้มาพร้อมกับห้องครัวที่สร้างด้วยไม้สัก และเรือมาศ 4 แจว จำนวน 1 ลำ เพื่อใช้สำหรับบรรทุกวัสดุในการทำกุฏิ ซึ่งเป็นต้นชมพู่ที่ปลูกอยู่ที่วังประทับ จึงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมาก เนื่องจากชมพู่พันธุ์เพชรสายรุ้งที่ปลูกในจังหวัดเพชรบุรี มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว คือ ผิวเรียบสีเขียวอ่อน รูปทรงผลคล้ายระฆังคว่ำ ตรงกลางป้องเล็กน้อย ผลแก่จัดจะมีเส้นสีแดงและเส้นสีเขียว เนื้อภายในสีขาว แข็งกรอบ รสชาติหวาน เมื่อผนวกเข้ากับภูมิปัญญาและการดูแลเอาใจใส่ของเกษตรกรที่เชี่ยวชาญ จึงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมาก และมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป จนคนทั่วไปเรียกชมพู่ที่มาจากวัดเพชรบุรีว่า ชมพู่เพชร ตามชื่อแหล่งปลูก ชมพู่เพชรเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดเพชรบุรี
ชอบเขตพื้นที่การปลูกชมพู่เพชร อยู่ในเขตพื้นที่ทั้ง 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองเพชรบุรี อำเภอบ้านลาด อำเภอท่ายาง อำเภอบ้านแหลม อำเภอเขาย้อย อำเภอชะอำ อำเภอหนองหญ้าปล้อง และอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี