“ละมุดบ้านใหม่”GI รสชาติหวาน กลิ่นหอม ของดี อำเภอมหาราช

“ละมุดบ้านใหม่” (Banmal Sapodilla) หมายถึง ละมุดพันธุ์มะกอก ที่มีทรงผลกลมรี ลูกเล็กคล้ายผลมะกอก ผิวเปลือกบาง สีน้ำตาลเข้ม เนื้อแน่นละเอียด กรอบ รสชาติหวาน และมีกลิ่นหอม ซึ่งปลูกในพื้นที่ ตำบลบ้านใหม่ ตำบลท่าตอ และตำบลบ้านขวาง อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI ) “ละมุดบ้านใหม่” เมื่อ 29 ก.ย. 2559 ผู้ขอยื่นจดทะเบียนคือพระนครศรีอยุธยา

13266122 1084624848226686 892257525357374578 n

ลักษณะภูมิประเทศ

อำเภอมหาราชโดยทั่วไป มีพื้นที่ราบลุ่มเป็นดินที่มีการระบายน้ำดี ส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายและดินร่วนหยาบในสันดอนริมสองฝั่งคลองบางแก้ว เป็นพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากการพัดพาดินตะกอนแม่น้ำเจ้าพระยามาทับถมอยู่เป็นระยะเวลานานหลายปี จนกระทั่งเกิดเป็นแผ่นดินงอกยื่นออกไปตลอดริมฝั่งคลอง

13254274 1084624544893383 2733357321327530911 n

จากสภาพลักษณะภูมิประเทศดังกล่าวส่งผลให้ดินมีแร่ธาตุที่เหมาะสมต่อการปลูกละมุดบ้านใหม่ ประกอบกับในช่วงเดือนเมษายน – เดือนพฤษภาคม ผลผลิตในช่วงดังกล่าวจะมีแมลงวันทองมาเจาะทำให้ละมุดไม่อร่อย เกษดรกรจะปล่อยผลละมุดและใบให้ล่วงลงสูโคนต้น จะทำให้เกิดปุ๋ยหมักตามธรรมชาติให้กับต้นละมุด

ลักษณะภูมิอากาศ

ได้รับอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งพัดจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มาปกคลุมในช่วงฤดูหนาว ทำให้สภาวะอากาศนาวเย็นและแห้งแล้ง โดยช่วงเดือนกันยายน – เดือนพฤศจิกายน จะเป็นช่วงที่ละมุดเริ่มออกดอก และทยอยเก็บเกี่ยวผลละมุดในเดือนธันวาคม อากาศจะเริ่มเย็นขึ้น ไม่ร้อนมาก มีอุณหภูมิประมาณ 25 – 27 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 75% และปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 142 มิลลิเมตร ส่งผลให้การออกดอกละมุดสมบูรณ์ ไม่ร่วง และผลละมุดมีคุณภาพ คือ ละมุดมีรสชาติ หวานมาก กรอบ และหอม

185 gall 907 Ly3T

ประวัติความเป็นมา


ตำบลบ้านใหม่เป็นตำบลที่แยกออกมาจากตำบลท่าตอ ราษฎรจึงขนานนามว่า “บ้านใหม่” ทั้งนี้ตำบลบ้านใหม่มีการปลูกละมุดมาตั้งแต่ครั้งโบราณสืบเนื่องกันมากว่า 100 ปี ละมุดบ้านใหม่ต้นที่เก่าแก่ที่สุดอายุเกือบ 200 ปี และส่วนใหญ่จะมีอายุอย่างน้อยที่สุด 50 ปี ในปี พ.ศ.2533 นายสำเริง เฉลยกลิ่น เจ้าของสวนละมุดบ้านใหม่ ได้ส่งผลละมุดพันธุ์มะกอกเข้าประกวดในงานประกวดผลผลิตทางการเกษตรดีเด่นของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กรมส่งเสริมการเกษตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปรากฏว่าได้รับรางวัลชนะเลิศที่ 1 และ ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534 ได้ส่งผลละมุดเข้าประกวดเพื่อชิงรางวัลพระราชทาน ซึ่งจัดโดยศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ปรากฏว่าได้รับรางวัลรองชนะเลิศ จึงส่งผลให้ “ละมุดบ้านใหม่“ได้รับความสนใจจากคนทั่วไปอย่างมาก

SCH61100101 page 0005ooo991