“หมากเม่าสกลนคร” GI ผลไม้พื้นบ้าน ทำเงินอย่างคิดไม่ถึง

45740

“หมากเม่าสกลนคร” (Sakon Nakhon Mak Mao Berry) หมายถึง ผลหมากเม่าหลวงที่มีผลกลมเนื้อผลฉ่ำน้ำ เปลือกบาง เมื่อสุกมีรสชาติหวาน เปรี้ยวฝาดหรือขม มีกลิ่นหอมผลไม้เฉพาะตัว ซึ่งปลูกในเขตพื้นที่ของจังหวัดสกลนคร กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) “หมากเม่าสกลนคร” เมื่อ 1 ธันวาคม 2557 โดยผู้ขอยื่นจดทะเบียนได้แก่ จังหวัดสกลนคร

จังหวัดสกลนคร ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง ที่ราบลุ่มลอนคลื่นไม่สม่ำเสมอกัน สูงกว่าระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 172 เมตร ทางตอนใต้มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีทิวเขาภูพานทางด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ ในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดสกลนคร มีสภาพภูมิอากาศเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ฤดูฝนระหว่างเดือนมิถุนายนถึงตลาคม ฝนตกชุกประมาณเดือนกันยายน และฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ อากาศเย็นสบายอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 26.4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยฤดูร้อนประมาณ 37.9 องศาเซลเซียสปริมาณน้ำฝนของจังหวัดสกลนครเฉลี่ยประมาณ 1,722.9 ม.ม. เริ่มมีฝนตกตั้งแต่เดือนมีนาคม

หมากเม่า เป็นผลไม้ที่มีวงจรในการผลิตที่ไปเกี่ยวโยงกับวงจรสุริยะปฏิทินโดยตรง โดยดอกหมากเม่าจะเริ่มบานเพื่อรับการผสมเกสรในเดือนเมษายน เป็นช่วงที่แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ร้อนแรงตรงศีรษะตลอดทั้งวัน หมากเม่า จะเริ่มติดผลอ่อนในเดือนพฤษภาคม โลกจะเคลื่อนไปทำมุมตั้งฉาก 90 องศา กับดวงอาทิตย์ในเขตพื้นที่จังหวัดสกลนคร หลังจากนี้เป็นต้นไปต้นหมากเม่าก็จะได้รับแสงแดดเพื่อสังเคราะห์แสงเป็นเวลากลางวันยาวขึ้นเรื่อยๆ และจะมีวันที่ได้รับแสงแดดยาวนานที่สุดถึง 13 ชั่วโมงในช่วงเดือนมิถุนายน ผลหมากเม่าก็จะเจริญเติบโตผลเป็นสีเขียว เนื่องมาจากได้รับสารอาหารจากต้นหมากเม่าที่เร่งผลิตในช่วงตอนกลางวันที่มีแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ ผลหมากเม่าจะเริ่มแก่เปลี่ยนจากผลสีเขียวเป็นผลสีแดงในเดือนกรกฎาคม โลกจะเคลื่อนไปทำมุมตั้งฉาก 90 องศากับดวงอาทิตย์ในเขตพื้นที่จังหวัดสกลนครอีกครั้ง ในช่วงเดือนสิงหาคม ผลหมากเม่าก็จะเริ่มสุกเป็นผลสีดำในเดือนสิงหาคมนี้ และเวลากลางวันกับกลางคืนจะเท่ากันเวลาจำนวน 12 ชั่วโมงอีกครั้งในช่วงกันยายน ซึ่งเป็นผลหมากเม่าสุกพร้อมเก็บเกี่ยว จากปัจจัยทางภูมิศาสตร์ดังกล่าวของจังหวัดสกลนคร ส่งผลให้หมากเม่าที่เกิดขึ้นในจังหวัดสกลนครเป็นหมากเม่าที่มีคุณภาพ และถือเป็นหมากเม่าที่ดีในประเทศไทย

ประวัติความเป็นมา

หมากเม่า มะเม่าหรือเม่า มีปรากฏหลักฐานเป็นลายลักษณ์เก่าที่สุดในสมัยอยุธยาตอนปลายในวรรณคดีเรื่อง กาพย์ห่อโคลงนิราศธารทองแดง ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร (เจ้าฟ้ากุ้ง) เป็นพรรณไม้ป่าที่ขึ้นอยู่บริเวณเทือกเขาแถบพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ในจังหวัดสกลนคร มีการค้นพบต้นหมากเม่าที่มีอายุเก่าแก่มากกว่า 200 ปี มีการบริโภคมานาน ส่วนใหญ่จะบริโภคผลสด หรือผสมอาหารเพื่อให้รสเปรี้ยว หมากเม่าเป็นไม้ผลท้องถิ่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบมากบริเวณเทือกเขาภูพานและในจังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นแหล่งความหลากหลายทางพันธุกรรมของต้นหมากเม่าดั้งเดิม เป็นเวลาเกินกว่า 100 ปี ที่บรรพชนบนเทือกเขาภูพานแห่งนี้ใช้ชีวิตอยู่กับการหาของป่าล่าสัตว์ ซึ่งต้องเดินเท้าในระยะทางไกล จึงต้องพักอาศัยอยู่ในป่าคราวละหลายๆ วัน นอกจากเสบียงอาหารที่ต้องเตรียมไปแล้ว ยังมีสิ่งสำคัญอีกชนิดหนึ่งนั่นคือ “น้ำหมากเม่า” ซึ่งได้จากการนำผลหมากเม่าสุกมาบีบด้วยมือแล้วกรองเอาแต่น้ำใส่ภาชนะติดตัวไปเพราะใช้เป็นยาแก้ร้อนในการถอนพิษไข้ ทั้งนี้ขอบเขตพื้นที่การผลิดหมากเม่าสกลนคร ครอบคลุมพื้นที่ของจังหวัดสกลนคร

34105148 1772038589485305 1949410244618616832 n

ยกระดับสู่พืชเศรษฐกิจ

“หมากเม่า” ได้รับการยกระดับจากพันธุ์ไม้ป่ามาเป็นพันธุ์พืชเศรษฐกิจ ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากที่ไวน์หมากเม่าของไทยไปชนะประกวดไวน์นานาชาติที่เบลเยี่ยม เป็นผลให้ราคาผลหมากเม่าสุกจากกิโลกรัมละ 15-20บาท มีราคาเพิ่มขึ้นเป็น 25-30 บาท และเมื่อถึงปลายฤดูที่ให้ผลผลิตก็จะมีราคาเพิ่มขึ้นอีก

หมากเม่า ปลูกแค่ 3-4 ปี ก็สามารถให้ผลผลิตได้ต้นละประมาณ 10 กิโลกรัม พันธุ์หมากเม่าที่เกษตรกรเพาะขยายพันธุ์ออกมาขายแถบสกลนคร ต้นขนาด 1-2 คืบขายกันต้นละ 3 บาท ถ้าส่งเข้าไปขายในภาคกลาง ก็จะมีราเพิ่มขึ้นเป็นต้นละ 5 บาท

และในอนาคตมีแนวโน้มหมากเม่า จะได้รับการตอบรับจากตลาดมากขึ้น เนื่องจากหลายประเทศกำลังกล่าวถึงคุณค่าทางโภชนาการจากผลของหมากเม่าที่นำมาแปรรูปในรูปแบบต่างๆอย่างต่อเนื่อง นั่นเอง

49100029 no page 0005แแแ