“สับปะรดภูแลเชียงราย”GI ผลไม้อัตลักษณ์พื้นถิ่น ปลูกได้ตลอดปี

“สับปะรดภูแลเชียงราย” ( Chiangrai Phulae Pineapple ) หมายถึง สับปะรดในกลุ่มควีน ซึ่งปลูกในตำบลนางแล ตำบลท่าสุด และตำบลบ้านคู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI ) เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2548 โดยผู้ขอยื่นทะเบียน ได้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลนางแล และคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปลูกสับปะรดภูแลจังหวัดเชียงราย

pa5odu2xtFXO2zo4vE5 o

ลักษณะภูมิประเทศ

พื้นที่ตำบลนางแล ตำบลท่าสุด และตำบลบ้านคู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบ ที่ราบเชิงเขา เนินเขา และภูเขาสูง อยู่ในด้านทิศตะวันตก อันเป็นแหล่งกำเนิดลำห้วยหลายสายเป็นแหล่งน้ำที่สำที่สำคัญ พื้นที่มีความสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางเฉลี่ยประมาณ 400 เมตร ทำให้อากาศเย็นสบาย แต่มีอากาศหนาวในฤดูหนาว ประกอบกับสภาพพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่มีความลาดเอียง ทำให้การปลูกสับปะรดในพื้นที่ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับโรครากเน่า ลักษณะของดินระบายน้ำได้ดี การซึมซับของน้ำอยู่ในระดับปานกลาง การไหลบ่าของน้ำผิวดินอยู่ในระดับปานกลางถึงเร็ว ระดับน้ำใต้ดินไม่ลึก และดินมีแร่ธาตุต่างๆ เช่น ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม คาร์บอน ในโตรเจน ลักษณะภูมิอากาศ มีอณหภูมิเฉลี่ย 24 องศาเซลเซียส ปริมาณฝนตกโดยเฉลี่ย 1757.4 มิลลิเมตรต่อปี จำนวนวันฝนตกเฉลี่ย 140 วันในหนึ่งปี ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยร้อยละ 76

ประวัติความเป็นมา

เมื่อปี พ.ศ. 2520 นายเอนก ประทีป ณ ถลาง อาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย ได้นำหน่อพันธุ์สับปะรดภูเก็ต ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มสายพันธุ์ควีนจากจังหวัดภูเก็ต มาปลูกครั้งแรกที่ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นแหล่งภูมิศาสตร์ของสับปะรดที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคเป็นอย่างดีคือ สับปะรดนางแล แต่ด้วยปัจจัยทางธรรมชาติและปัจจัยจากมนุษย์ ทำให้สับปะรดที่ปลูกได้ในแหล่งภูมิศาสตร์นี้มีลักษณะที่แตกต่างจากสับปะรดภูเก็ต คือขนาดผลเล็ก รูปร่างทรงกลม จุกใหญ่ ตั้งตรง รับประทานได้ทั้งเนื้อและแกน ซึ่งต่อมาได้เรียกชื่อสับปะรดดังกล่าวว่า”สับปะรดภูแล ” โดยการนำเอาชื่อ “ภูเก็ด ” ซึ่งเป็นแหล่งปลูกเติมมาผสมคำกับแหล่งปลูกใหม่คือ ” นางแล ” และขยายพื้นที่การปลูกครอบคลุมสามตำบล คือ ตำบลนางแล ตำบลท่าสุด และตำบลบ้านคู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

การปลูก

(1) ปลูกได้ตลอดปี การปลูกใช้ได้ทั้งระบบการปลูกแบบแถวเดี่ยวและแถวคู่

-แถวเดี่ยว ระหว่างต้น 25 เซนติเมตร ระหว่างแถว 100 เซนติเมตร

-แถวคู่ ระหว่างต้น 30 เซนดิเมตร ระหว่างแถว 50 เซนติเมตร ระหว่างแถวคู่ 100 เซนติเมดร

(2) การเตรียมพันธุ์-ใช้หน่อพันธุ์และจุกพันธุ์ที่เกิดในพื้นที่ตำบลนางแล ตำบลท่าสุดและตำบลบ้านคู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงรายเท่านั้น

-หน่อพันธุ์ (Aerial sucker) หรือหน่อข้าง เลือกหน่อที่มีขนาดใกล้เคียงกัน ความยาวหน่อประมาณ 30 เซนติเมตร น้ำหนักหน่อประมาณ 250 กรัม

-จุกพันธุ์ (Crown) เป็นส่วนที่ติดกับผลสับปะรด เลือกจุกที่มีขนาดใกล้เคียงกัน เพื่อให้ออกดอกได้ผลพร้อมกัน


12.19100012 page 0004