“สับปะรดภูเก็ต” (Phuket Pineapple) หมายถึง สับปะรดที่อยู่ในกลุ่มสายพันธุ์ควีน (Queen) ซึ่งปลูกในอำเภอเมืองภูเก็ต อำเภอกะทู้ และอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา ประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI) “สับปะรดภูเก็ต”เมื่อ 13 ก.ค.2552 โดยผู้ขอยื่นจดทะเบียน ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต
ภูเก็ดมีลักษณะเป็นเกาะริมทวีป คือเป็นเกาะที่ตั้งอยู่ตามชายฝั่งทะเลหรือไม่ไกลแผ่นดินมากนัก จึงมีลักษณะทางธรณีวิทยาคล้ายคลึงกับแผ่นดินใหญ่ที่อยู่ใกล้เคียง พื้นที่เกาะประกอบด้วยพื้นที่ลาดชันแบบภูเขา ที่ราบเชิงเขา และที่ราบต่ำ พื้นที่ร้อยละ 70 เป็นภูเขาทอดยาวดามแนวเหนือใต้ ภูเขาส่วนมากอยู่ทางด้านตะวันดก ทำให้ที่ราบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกแคบ ทางด้านเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือเป็นที่ราบสูง มีคลองสายสั้นๆ ไหลลงทางตอนใต้และดะวันออกพื้นที่ร้อยละ 30 เป็นพื้นที่ราบ ส่วนใหญ่อยู่บริเวณตอนกลาง ตะวันออก และชายฝั่งตะวันตก ลักษณะของดินเป็นดินลึก เนื้อดินเป็นดินร่วน ดินร่วนปนดินเหนียว ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียวปนทราย ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียว ดินร่วนเหนียวปนทราย ดินเหนียวปนทราย หน้าดินค่อนข้างเป็นทราย ดินมีความอุดมสมบรณ์ต่ำถึงปานกลาง ระบายน้ำได้ดี ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ประมาณ 4.5.5.5 เป็นดินดินที่มีความเหมาะสมในการปลูกสับปะรดมาก
นอกจากนี้จังหวัดภูเก็ตยังได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ตั้งแต่เดือนเมษายน – เดือนกันยายน และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่เดือนตุลาคม-เดือนพฤศจิกายน ทำให้มีฝนตกชุกโดยฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-เดือนตุลาคมและฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – เมษายน จนเป็นเรียกขานกันว่า “ฝนแปด แดดสี่”
ประวัติความเป็นมา
ภูเก็ต เป็นแหล่งปลูกสับปะรดที่มีชื่อเสียงมานาน เนื่องจากสับปะรดที่ปลกในภูเก็ตมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวคือ เนื้อจะหวานกรอบ กลิ่นหอม มีเยื่อใยน้อย เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมาก ความมีชื่อเสียงนี้ทำให้คนทั่วไปเรียกสับปะรดที่มาจากจังหวัดภูเก็ตว่า สับปะรดภูเก็ต ตามชื่อแหล่งปลูก การปลูกสับปะรดบนเกาะภูเก็ตสามารถปลูกได้ตลอดปี โดยเกษตรกรนิยมปลูกแซมในสวนยางพาราตั้งแต่เริ่มปลูกจนกระทั่งต้นยางอายุได้ 3 ปี ทำให้มีรายได้ก่อนที่จะได้รับผลผลิตจากยางพารา สับปะรดภูเก็ตจัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดภูเก็ต
พื้นที่การปลูกสับปะรดภูเก็ด อยู่ในเขดพื้นที่อำเภอถลาง อำเภอกะทู้ และอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต