“สับปะรดท่าอุเทน” (Tha Uthen Pineaple) หมายถึง สับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย ที่มีเนื้อละเอียด แน่นสีเหลืองเข้ม ตาตื้น รสชาติหวานฉ่ำ หอม ไม่กัดลิ้น แกนหวาน กรอบ รับประทานได้ ซึ่งปลูกในเขตพื้นที่อำเภอท่าอุเทนและอำเภอโพนสวรรค์ ของจังหวัดนครพนม กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI) “สับปะรดท่าอุเทน” เมื่อ 25 มิ.ย. 2556 โดยผู้ขอยื่นจดทะเบียนได้แก่จังหวัดนครพนม
ลักษณะภูมิประเทศ
จังหวัดนครพนมเป็นจังหวัดชายแดน ตั้งอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่เลียบยาวตามแนวชายฝั่งของแม่น้ำโขงประมาณ 174 กิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง ความสูงของพื้นที่โดยเฉลี่ยสูงกว่าระดับน้ำทะเล 140 เมตร โดยอำเภอท่าอุเทนและอำเภอโพนสวรรรค์ ของจังหวัดนครพนม มีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย สภาพความเป็นกรดต่าง (PH) อยู่ในช่วง 5.5 – 6 มีฝนดกกระจายสม่ำเสมอตลอดปี เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุม อิทธิพลจากป่าไม้และเทือกเขาจาก
สาธารณรัฐประชาธิปไดยประชาชนลาว รวมทั้งพายุจากทะเลจีนใต้ที่เคลื่อนผ่านหรือเคลื่อนเข้าใกล้ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,800-2,000 มิลลิเมตรต่อปี จากลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศดังกล่าว ทำให้เหมาะแก่การปลูกสับปะรด
ประวัติความเป็นมา
จังหวัดนครพนมเดิมมีการปลูกสับปะรดซึ่งเป็นพันธุ์พื้นเมือง ผลเล็ก ใบมีลักษณะเป็นหนามแหลม รสชาติหวานหอม ในปี พ.ศ. 2518 กรมส่งเสริมการเกษตรมีการดำเนินการโครงการแปลงสาธิดการปลูกสับปะรด สำนักงานเกษตรอำเภอท่าอุเทน จึงจัดทำแปลงสาธิดเป็นจุดแรกจำนวน 1 แปลง โดยกำนันตำบลท่าจำปาเป็นผู้จัดทำแปลงสาธิด ต่อมามีคณะกำนันและผู้ใหญ่บ้านดำบลโนนตาลได้ไปศึกษาดูงาน ณ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เห็นว่า สับปะรดจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์น่าจะปลูกได้ผลดีในพื้นที่อำเภอท่าอุเทนจึงได้ร่วมกันสั่งซื้อสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 30,000 หน่อ เป็นเงิน 3,000 บาทซึ่งถือว่ามีราคาสูงมากในขณะนั้น มาปลูกที่อำเภอท่าอุเทน
ด้วยสภาพพื้นที่ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศที่เป็นลูกคลื่น ลอนตื้น ลักษณะดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย มีฝนตกสม่ำเสมอตลอดปี ส่งผลต่อสับปะรดแม้จะไม่มีการรดน้ำเพิ่มเติม ผลผลิตที่ได้ก็ยังมีความหวานฉ่ำผนวกกับประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการปลูกของเกษดรกรที่ดำเนินการผลิตมายาวนาน รวมถึงภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีการนำเอาเศษหญ้าแห้ง ฟางแห้ง มาปิดคลุมผลสับปะรดในช่วงเจริญเติบโต เพื่อปกป้องผลผลิตไม่ให้โดนแดดจัด ทำให้สับปะรดที่ได้มีรสชาติหวานฉ่ำหอม แตกต่างไปจากพันธุ์เดิม ทำให้เป็นที่รู้จักและเป็นที่ต้องการของตลาด และได้มีการเรียกชื่อตามอำเภอที่ปลูก คือ สับปะรดท่าอุเทน ต่อมาได้มีการขยายการปลูกไปยังอำเภอใกล้เคียง คือ อำเภอโพนสวรรค์ ซึ่งมีภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศที่เหมือนกับอำเภอท่าอุเทน ผลผลิตที่ได้จึงมีรสชาติหวานฉ่า หอมเหมือนกัน และจากการประกวดสับปะรดระดับประเทศ ของกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สับปะรดท่าอุเทนได้รับรางวัลอันดับ 1 เป็นเวลา 2 ปีซ้อน เมื่อปี พ.ศ.2548 และ พ.ศ. 2549
ทั้งนี้พื้นที่การผลิตสับปะรดท่าอุเทน ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอท่าอุเทนและอำเภอโพนสวรรค์ของจังหวัดนครพนม