“สับปะรดบ้านคา” GI ผลไม้ขึ้นชื่อจังหวัดราชบุรี

สับประ

“สับปะรดบ้านคา” (Bankha Pineapple) หมายถึง สับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย รสหวานฉ่ำหอม เนื้อละเอียด หนานิ่ม มีตาผลค่อนข้างตื้น เมื่อปอกเปลือกแล้วตาผลจะติดออกไปกับลูก ปลูกในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอจอจอมบึง อำเภอปากท่อ อำเภอสวนผึ้ง และอำเภอบ้านดา จังหวัดราชบุรี กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI ) “สับปะรดบ้านคา” เมื่อ 28เมษายน 2558 โดยผู้ขอขึ้นทะเบียน คือ จังหวัดราชบุรี

การปลูก

(1) มีทั้งปลูกแบบพืชเชิงเดี่ยวและปลูกเป็นพืชแซมในสวนยางพารา เนื่องจากสับปะรดไม่ต้องการน้ำในการเจริญเติบโตมากนัก ปลูกได้ตลอดทั้งปี การปลูกในฤดูฝน ต้องฝังหน่อให้เอียง 45 องศา เพื่อป้องกันน้ำขังในยอด แต่ถ้าปลูกในฤดูแล้งฝังหน่อให้ตั้งตรง การปลูกส่วนใหญ่ใช้ระบบแถวคู่ ระยะปลูกแตกต่างกันไปตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่

(2) ลับปะรดบ้านคา เป็นพืชหลายฤดู จึงต้องเตรียมพื้นที่ปลูกอย่างดีให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตโดยพื้นที่ที่เคยปลูกสับปะรดให้สับใบและต้นสับปะรดแล้วตากทิ้งไว้ 2 – 3 เดือน หลังจากนั้นไถดิน ตากดินทิ้งไว้ 7 – 10 วัน แล้วพรวนดินอีก 1 ครั้ง แล้วคราดเศษรากเง้า ตอเก่าสับปะรดและวัชพืชทุกชนิดที่เหลือออกไปทำลายนอกแปลง ทำแนวปลูกหรือยกแนวให้สูงประมาณ 15 เซนติเมตร เพื่อป้องกันการชะล้างของหน้าดิน

(3) การเตรียมพันธุ์ มีการคัดขนาดหน่อพันธุ์และจุกพันธุ์ก่อนปลูก โดยใช้หน่อพันธุ์และ/หรือจุกพันธุ์ที่มีขนาดสม่ำเสมอ หรือใกล้เคียงกัน อัตราการปลูก 7,000 – 10,000 หน่อ/ไร่

(4) การให้น้ำ โดยใช้น้ำฝนที่ตกสม่ำเสมอทั้งปี หากในช่วงฤดูแล้งหรือฝนทิ้งช่วง มีการให้น้ำต้นสับปะรดที่กำลังเจริญเติบโด และหยุดให้น้ำก่อนการเก็บเกี่ยว 15 วัน

การเก็บเกี่ยว

-สับปะรดจะเริ่มให้ผลผลิตเมื่อต้นมีอายุ 8 เดือน – 1 ปี ขึ้นไป และจะให้ผลผลิตได้ 3 – 4 ปี จะเก็บเกี่ยวหลังออกดอก 150 วัน หรืออาจมากน้อยกว่านี้ขึ้นอยู่กับฤดูกาล

ลักษณะภูมิประเทศ

อำเภอบ้านคา อำเภอสวนผึ้ง อำเภอจอมบึง และอำเภอปากท่อ เป็น 4 อำเภอในจังหวัดราชบุรี ที่มีลักษณะภูมิประเทศใกล้เคียงกัน จัดอยู่ในพื้นที่ภูเขาสูงและพื้นที่ราบสูง ความพื้นที่โดยเฉลี่ยสูงกว่าระดับน้ำทะเล 200 – 1,400 เมตร ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ แต่เนื่องจากมีเทือกเขาตะนาวศรีกั้นอยู่จึงทำให้ได้รับลมมรสุมจากอินเดียและทะเลอันดามันไม่เต็มที่ ส่วนใหญ่เป็นฝนช่วงปลายฤดูฝนที่มาพร้อมกับร่องความกดอากาศต่ำ ทำให้มีฝนตกชุกในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,000 – 1,250 มิลลิเมตรต่อปี อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 13 -38 องศาเซลเซียส แต่ในฤดูหนาวบริเวณเชิงเขาหรือหุบเขาจะมีสภาพอากาศหนาวมาก อุณหภูมิเฉลี่ย 8 – 15 องศาเซียส ลักษณะดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี ความเป็นกรด-ด่าง จากสภาพภูมิศาสตร์และสภาพภูมิอากาศดังกล่าวส่งผลให้การปลูกสับปะรดได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ รสชาติที่เป็นเอกลักษณ์จึงทำให้”สับปะรดบ้านคา“มีความแตกด่างจากสับปะรดในแหล่งอื่น

ประวัติความเป็นมา

การปลูกสับปะรดบ้านคา เริ่มจากเกษตรกรจากอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้ย้ายการตั้งถิ่นฐานและขยายพื้นที่ปลูกสับปะรด โดยนำหน่อพันธุ์สับปะรดปัตตาเวียจากอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มาปลูกในเขตพื้นที่อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี (ซึ่งครอบคลุมพื้นที่อำเภอสวนผึ้งและอำเภอบ้านคาในปัจจุบัน) ในช่วงนั้นจึงนิยมเรียกว่า “สับปะรดสวนผึ้ง” แต่เนื่องจากอำเภอสวนผึ้งมึอาณาเขตกว้างขวางและมีประชากรมาก กระทรวงมหาดไทยจึงได้แบ่งท้องที่อำเภอสวนผึ้งตั้งเป็นกิ่งอำเภอบ้านคาและยกฐานะเป็นอำเภอบ้านคาตามลำดับ พื้นที่ผลิตสับปะรดส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอบ้านคาทำให้เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า “สับปะรดบ้านคา” คือ ของดีของจังหวัตราชบุรี จัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดราชบุรี รองจากข้าว และอ้อย ด้วยคุณภาพ รสชาติ และเอกลักษณ์เฉพาะตัวทำให้ “สับปะรดบ้านคา” เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคจำนวนมาก

86. 59100086 page 0005