“ปลาแรดลุ่มน้ำสะแกกรังอุทัยธานี” GI สินค้าอัตลักษณ์พื้นถิ่น

“ปลาแรดลุ่มน้ำสะแกกรังอุทัยธานี”(Pla Rad Lumnam Sakae Krang Uthai Thani) หมายถึง ปลาแรดที่มีเกร็ดหนา หน้างุ้ม เนื้อนุ่มแน่นเป็นเส้นใย มีรสหวานไม่มีกลิ่นโคลนหรือกลิ่นสาบ เป็นปลาแรดที่เลี้ยงในกระชัง บริเวณลุ่มน้ำสะแกกรังเริ่มตั้งแต่บ้านจักษาจนไปบรรจบที่แม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลทำซุง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ตำบลละแกกรัง ตำบลอุทัยใหม่ ตำบลน้ำซึม และตำบลท่าซุง ของอำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี และกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI ) “ปลาแรดลุ่มน้ำสะแกกรังอุทัยธานี” เมื่อ 23 ส.ค. 2555 ตามที่จังหวัดอุทัยธานียื่นคำขอ

1200px Osphronemus Gourami better


จังหวัดอุทัยธานีเป็นทิวเขาสูงสลับซับซ้อน 2 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งจังหวัดเป็นป่าและภูเขาสูง มีลักษณะลาดเทจากทิศตะวันตกลงมาทางทิศตะวันออก พื้นที่ราบทางการเกษตรมีประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมดุ

4 1 1024x576 1

ลักษณะภูมิอากาศ คล้ายคลึงกับภาคกลางแต่ในฤดูร้อนจะร้อนจัดและในฤดูหนาวจะหนาวจัด ความแตกต่างของอุณหภูมิตั้งแด่ 6 – 43 องศาเซลเซียส ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ถดูหนาวเริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ และฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม

แม่น้ำสะแกกรังเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่คอยหล่อเลี้ยงชีวิตชาวอุทัยธานีมาตั้งแต่โบราณ มีหลายชื่อตามท้องถิ่นที่แม่น้ำไหลผ่าน อาทิ แม่น้ำวังม้า แม่น้ำตากแดด เป็นต้น ชุมชนชาวบ้านแพแม่น้ำสะแกกรัง มีวิถีชีวิตผูกพันกับสายน้ำ ซึ่งมีอาชีพทำการประมงและเลี้ยงปลาในกระชัง โดยเฉพาะปลาแรดในกระชังที่มีชื่อเสียงมาก เพราะเนื้อแน่นนุ่มและหวาน น้ำในแม่น้ำสะแกกรังยังคงสะอาดอยู่มาก เพราะในแถบนี้เป็นพื้นที่ปลอดจากโรงงานอุตสาหกรรม บางคนกล่าวว่า เป็นเพราะน้ำที่นี่มีการไหลเวียนดีและมีสายแร่ที่มีประโยชน์ต่อการเจริญเดิบโตด ปลาแรดจึงมีเนื้อนุ่ม และเป็นปลาประจำจังหวัดอุทัยธานี

ประวัติความเป็นมา

ในสมัยก่อนปลาแรดที่อาศัยในแหล่งน้ำธรรมชาติกินรากหญ้า รากผัก เป็นอาหาร ทำให้มีกลิ่นเหม็น ไม่เป็นที่นิยมบริโภค ต่อมานายสมโภชน์ ส่องศรี มีอาชีพทำการประมงน้ำจืด และมีความสนใจปลาแรดมากเป็นพิเศษ เพราะเห็นว่าเนื้อของปลาแรดมีความแดกต่างจากเนื้อปลาอื่น คือ เนื้อแน่น และมีรสหวาน จึงได้นำปลาแรดมาทดลองเลี้ยงในกระชังรวมกับปลาชนิดอื่น ให้กินผักผลไม้ ข้าว และรำ ทำให้ปลาแรดมีรสชาติที่ดีขึ้น และไม่มีกลิ่นเหม็น หลังจากนั้นจึงได้นำมาแจกจ่ายให้บุคคลที่มาเยี่ยมเยียนบริโภค จนปลาแรดใน
กระชังเริ่มมีคนนิยมบริโภคเพิ่มขึ้น จนกระทั่ง มีการก่อตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชัง และจดทะเบียนเป็นกลุ่มเกษตรกร เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2517 โดยใช้ชื่อกลุ่มว่า “กลุ่มเกษดรกรเลี้ยงสัตว์น้ำอุทัยใหม่” ซึ่งเป็นกลุ่มเลี้ยงปลาในกระชังกลุ่มแรกในประเทศไทย ทำให้ปลาแรดในกระชังมีชื่อเสียงมากยิ่งขึ้นจนเป็นที่รู้จักของคนไทยและต่างชาติ ดังคำขวัญจังหวัดอุทัยธานี คือ เมืองพระชนกจักรี ปลาแรดรสดี ประเพณีเทโว ส้มโอบ้านน้ำตก มรดกโลกห้วยขาแข้ง แหล่งต้นน้ำสะแกกรัง ตลาดนัดดังโคกระบือ ทำให้ปลาแรด
กลายมาเป็นปลาประจำจังหวัดอุทัยธานี และมีเทศกาล “กินปลาแรด อุทัยธานี รสดีที่สุดในโลก” ซึ่งจัดในช่วงเดือนกรกฎาคมของทุกปี

การเพาะและขยายพันธุ์ปลาแรด

(1) การวางไข่ ปลาแรดจะสร้างรังวางไข่คล้ายรังนกคว่ำอยู่ในน้ำ โดยใช้วัสดุ คือ แหน สาหร่าย ผักบุ้ง จอก ไข่น้ำ ต้นเจียก ฟางข้าว กาบมะพร้าว หญ้าต่างๆ รากไม้ รากหญ้า ที่มีลักษณะอ่อนนุ่ม ไข่ปลาแรดมีลักษณะเหลืองกลม ไขมันมาก ลอยน้ำ ปลาแรดจะวางไข่มากช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – สิงหาคม

(2) การคัดเลือกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์

  • เพศผู้ ที่โคนครีบหูจะมีสีขาวและมีนอสีแดง ที่หัวโหนกขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
  • เพศเมีย ที่โดนครีบหูจะมีสีดำ ถ้าแม่ปลาพร้อมวางไข่สังเกตได้ว่าท้องอูมและนิ่ม
    การเตรียมบ่อเพาะพันธุ์
    (1) บ่อดิน เป็นบ่อรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดตั้งแต่ 400 – 1,600 ดารางเมตร หรือตามความเหมาะสมของพื้นที่ ถ้าเป็นบ่อเก่าควรสูบน้ำให้แห้งแล้วสาดปูนขาวและตากบ่อทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน จึงสูบน้ำเข้าบ่อ หลังจากนั้นคัดพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ที่สมบูรณ์ลงบ่อ โดยวัสดุที่ใช้กระตุ้นให้ปลาแรดสร้างรังวางไข่ ได้แก่ หญ้าต่างๆ ต้นเจียก กาบมะพร้าว ฟางข้าว หรือผักบุ้งตัดเป็นกอๆขนาดประมาณ 1 ตารางเมตร วางไว้ใกล้ขอบบ่อ กระจายให้ทั่วและใช้ไม้รวกปักยึดไว้ใกล้ฝั่ง รอให้ปลามาทำรังวางไข่
    (2) บ่อซีเมนด์ มีลักษณะเป็นสีเหลี่ยมผืนผ้า วงรีหรือวงกลม มีความลึกประมาณ 1 เมตร โดยคัดเลือก พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่สมบูรณ์ แล้วกระตุ้นให้ปลาสร้างรังไข่ โดยใช้กอผักบุ้ง ขนาด 1 ตารางเมตร ผูกไว้ขอบบ่อ และมุมบ่อ รอให้ปลามาสร้างรังไข่
    การฟักไข่และอนุบาลลูกปลา
    (1) ไข่ปลาแรดมีลักษณะกลมสีเหลือง มีไขมันมาก ลอยน้ำ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 – 2มิลลิเมตร หลังจากเก็บรังปลาแรดแล้วนำไข่ปลาแรดมาใส่วงปูนซีเมนต์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 เซนติเมดร แล้วทำการคัดไข่เสียออก โดยระหว่างที่มีการฟักไข่จะให้ออกซิเจนเบาๆ ตลอดเวลา ใส่วัชพืชน้ำ เช่น รากผักบุ้ง เพื่อช่วยดูดขับไขมัน และให้ลูกปลาได้ยึดเกาะ ไข่ที่รับการผสมแล้วจะฟักเป็นตัวภายใน 24-36 ชั่วโมง
    (2) การอนุบาลปลาแรดแบ่งออกเป็น 3 ระยะ
    ระยะที่ 1 : อายุ 1 – 7 วัน
    ระยะที่ 2 : อายุ 8 – 22 วัน ระยะนี้เริ่มให้อาหารได้ โดยอาหารที่ให้จะให้เป็นไรแดง วันละ 2 ครั้ง
    ระยะที่ 3 : อายุ 22 – 75 วัน ย้ายลูกปลาลงอนุบาลบ่อดิน ช่วง 10 วันแรกที่ลงบ่อดินให้ไรแดง และรำผสมปลาปัน ต่อมาจึงให้เฉพาะรำผสมปลาปัน และและเมื่อลูกปลาเริ่มโตขึ้นผสมอาหารเม็ดลอยน้ำ (ให้อาหารวันละ 2 ครั้งทุกวัน เช้า-บ่าย) อนุบาลจนกระทั่งลูกปลามีขนาด 3 – 5 เซนติเมตรพร้อมที่จะนำไปปล่อยเลี้ยงในกระชัง
    การเลี้ยงในกระชัง
    (1) ลักษณะกระชังปลา จะใช้ไม้เนื้อแข็งสร้างเป็นโครงกระชัง และใช้ไม้ไผ่มัดรวมกันเป็นหุ่นลอยเว้นตรงกลางเป็นที่ผูกอวน บางกระชังจะใช้เหล็กต่อเป็นรูปโครงกระชังและใช้ถังน้ำมันหรือถังพลาสติกเป็นหุ่นลอยขนาดของกระชังมีตั้งแต่ 10 – 36 ดารางเมตร เนื้ออวนที่ใช้ผูกกระชังจะใช้วัสดุจำพวกไนล่อนหรือโพลีเอทิลีน ระยะห่างตาอวน 2 – 3 เซนติเมตร ขนาดลูกปลาที่ลงเลี้ยงในกระชัง 3 – 5 เซนดิเมตร อัตราการ ปล่อย 200 – 1,800 ตัว//กระชัง
    (2) อาหารที่ใช้เลี้ยง มีทั้งให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปลอยน้ำ เช่น ช่วงที่ลูกปลามีขนาดเล็กจะอนุบาลด้วยอาหารลูกกบ หลังจากนั้นจะเลี้ยงด้วยอาหารปลาดุก และเสริมด้วยอาหารจำพวกพืชผัก และผลไม้ต่างๆ
    ตามฤดูกาล เช่น จอก แหน ผักบุ้ง ผักกาดขาว ตำลึง ขนุนสุก
    (3) ระยะเวลาการเลี้ยง ประมาณ 1.5 – 2 หรือ ประมาณ 2 – 3 ปี ขึ้นอยู่กับอาหารที่ใช้เลี้ยงปลา
    (4) การเก็บเกี่ยว มีขนาด 800 – 1,200 กรัม/ตัว