“ถั่วลายเสือแม่ฮ่องสอน” สินค้า GI กินเพลินจนหยุดไม่ได้

ATB 4103 1536x1024 1

ผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อของจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่ผู้มาเยือนต่างก็ต้องมาซื้อกลับไปเป็นของฝาก แต่ด้วยความอร่อย ทำให้หลายคนมักจะกินหมดก่อนที่จะออกพ้นเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอนเสียด้วยซ้ำ

ATB 4138 1536x1025 1

นี่คือนิยามที่น่าจะเหมาะสมที่สุดในการบรรยายถึงความอร่อยของถั่วลายเสือแม่ฮ่องสอน  ของฝากขึ้นชื่อของแม่ฮ่องสอนที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นสินค้า GI (Geographical Indications คือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์) ประจำจังหวัดไปเป็นที่เรียบร้อย ด้วยจุดเด่นที่รสชาติหวานมัน เมล็ดใหญ่ เนื้อแน่น มีลายสีม่วงคล้ายลายของเสือโคร่งชัดเจนจนเป็นที่มาของชื่อถั่วลายเสือ และมีสารอาหารและแร่ธาตุมากกว่าถั่วลิสง แหล่งผลิตถั่วลายเสือที่สำคัญอยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน รวมไปถึงอำเภอปางมะผ้า ขุนยวม และปาย

49209902 300846867204448 5076202725947998208 n

การปลูก

(1) ฤดูกาลปลูกที่เหมาะสม ได้แก่ ต้นฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน ปลายฤดูฝนระหว่างเดือนสิงหาคม – กันยายน และฤดูหนาวระหว่างเดือนธันวาคม – มกราคม

(2) เมล็ดพันธุ์ใช้เมล็ดถั่วลิสงพันธุ์กาฬสินธุ์ 2 ที่ได้จากอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน อำเภอปางมะผ้า อำเภอขุนยวม หรืออำเภอปาย ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน หรือเมล็ดพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร หรือสำนักงานเกษตรที่เชื่อถือได้ โดยเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสมควรเป็นเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ไม่มีโรคและแมลงทำลาย

(3) ดินที่เหมาะสมในการปลูกควรเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย หรือดินเหนียว มีค่า pH 5.5.5-6.8 โดยให้ขุดหรือไถเพื่อให้ดินร่วนซุยและตากดินทิ้งไว้ 7-10 วันก่อนปลูก กรณีเป็นพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงต้องทำการยกร่องเพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง และไม่ให้เกิดเชื้อรา

(4) ขุดหลุมปลูกให้ลึก 3.5 เซนติเมตร หยอดเมล็ดถั่วลงหลุม 2-3 เมล็ดต่อหลุม โดยปลูกเป็นแถวยาว เว้นระยะห่างระหว่างต้นในช่วง 25 x 35 เซนติเมตร หรือตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่

การดูแลรักษา

(1) กรณีปลูกนอกฤดูฝน ควรมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ

(2) ป้องกันและกำจัดวัชพืช รวมถึงใส่ปุ๋ยตามสภาพดินตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่

การเก็บเกี่ยว

(1) ฤดูกาลเก็บเกี่ยว

-ครั้งที่ 1 ต้นฤดูฝน ช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน

-ครั้งที่ 2 ปลายฤดูฝน ช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม

-ครั้งที่ 3 หลังฤดูการทำนา ช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม

(2) อายุการเก็บเกี่ยว

(2.1) เก็บเกี่ยวตามอายุ อยู่ในช่วง 100-120 วัน นับจากวันเพาะปลูก
(2.2) เก็บเกี่ยวจากการสุ่มตัวอย่าง โดยสังเกตุความแก่ของฝัก ดังนี้

-สีเปลือกของฝักจะมีสีน้ำตาลหรือบีบฝักจะแน่น

-ลายของฝักเห็นชัดเจน

-เมื่อแกะฝักจะเห็นสีลายขีดบนเมล็ดสีเข้ม

-ขั้วฝักไม่เหนียว

46063173 279531756002626 5879327529734504448 n

(3) วิธีการเก็บเกี่ยว

(3.1) ถอนต้นถั่วที่แก่พร้อมเก็บเกี่ยว แล้วนำไปปลิดฝักถั่วออกจากต้น

(3.2) นำไปตาก 7-15 วันให้แห้ง บนลานตากที่รองด้วยวัสดุที่เหมาะสม

(3.3) เก็บเมล็ดถั่วลิสงที่แห้งแล้วในบรรจุภัณฑ์และสถานที่ที่เหมาะสม เพื่อรอจำหน่ายหรือรอการกะเทาะเปลือก ก่อนนำเมล็ดถั่วเข้าสู่กระบวนการแปรรูปต่อไป

กระบวนการแปรรูป

(1) ถั่วลายเสือคั่วเกลือ

(1.1) นำเมล็ดถั่วลิสงที่ผ่านการกะเทาะเปลือกแล้ว คัดเฉพาะเมล็ดที่สมบูรณ์ นำไปคั่วกับเกลือในอัตราส่วนที่เหมาะสม เช่น เกลือ 3 กิโลกรัม ต่อเมล็ดถั่วลิสง 1.5 กิโลกรัม เป็นต้น

(1.2) ทำการคั่วเมล็ดถั่วสิสงโดยใช้ความร้อนในช่วง 140-150 องศาเซลเซียส ใช้เวลาคั่ว 3 นาที หรือตามความเหมาะสม

(1.3) นำเมล็ดถั่วลิสงที่ผ่านการคั่วแล้ว เทลงในภาชนะเพื่อลดอุณหภูมิ คัดถั่วลิสงที่ไหม้ออกก่อนบรรจุหีบห่อ


(2) ถั่วลายเสือนึ่งแล้วคั่วเกลือ (ถั่วลายเสือสามหมอก หรือ ถั่วเสือซ่อนลาย)

(2.1) นำเมล็ดถั่วลิสงที่ผ่านการกะเทาะเปลือกแล้ว คัดเฉพาะเมล็ดที่สมบูรณ์ นำมานึ่งโดยใช้เมล็ดถั่วลิสง 13 กิโลกรัม โรยเกลือ 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 12-15 กรัม ใช้เวลานึ่ง 20 นาที หรือตามความเหมาะสม

(2.2) นำเมล็ดถั่วลิสงที่ผ่านการนึ่งแล้ว วางบนวัสดุที่เหมาะสมนำไปตากแดด 1 วัน ก่อนนำไปคั่วเกลือ

(2.3) คั่วเกลือโดยใช้อัตราส่วนที่เหมาะสม เช่น เกลือ 3 กิโลกรัม ต่อเมล็ดถั่วลิสง 1.5 กิโลกรัม ใช้ความร้อนในช่วง 100-120 องศาเซลเซียส ใช้เวลาคั่ว 7 นาที เป็นต้น

(2.4) นำเมล็ดถั่วลิสงที่ผ่านการคั่วแล้ว เทลงในภาชนะเพื่อลดอุณหภูมิ ก่อนบรรจุหีบห่อ