มะขามหวาน เป็นพืชเอกลักษณ์และพืชเศรษฐกิจของจังหวัดเพชรบูรณ์มาแต่ดั้งเดิมจนได้ชื่อว่า เมืองมะขามหวาน เมื่อเอ่ยถึงเมืองมะขามหวานประชาชนโดยทั่วไปก็เข้าใจเป็นอย่างเดียวกันว่าหมายถึง เมืองเพชรบูรณ์ มะขามหวานของจังหวัดมีหลายพันธุ์ เช่น พันธุ์หมื่นจง พันธุ์สีทอง (พันธุ์นายหยัด) พันธุ์อินทผาลัม พันธุ์สีชมภู พันธุ์ปากดุก พันธุ์นายเบื้อง พันธุ์หลังแตก พันธุ์น้ำผึ้ง พันธุ์โป่งตูม พันธุ์ผู้ใหญ่มา เป็นต้น
มะขามหวานเพชรบูรณ์ ได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์กับกรมทรัพย์สินทางปัญญาตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2548 เป็นสินค้า GI ของจังหวัดเพชรบูรณ์
นอกจาก “มะขามหวานเพชรบูรณ์” ขึ้นทะเบียน GI ในไทยแล้ว ในต่างประเทศ สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ ประเทศเวียดนาม ประกาศรับจดทะเบียน GI “มะขามหวานเพชรบูรณ์” เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาคการส่งออกของไทย ทำให้ผู้บริโภคต่างชาติมั่นใจในคุณภาพสินค้า GI ไทย และช่วยสร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการชุมชนท้องถิ่นได้เพิ่มขึ้น
คุณค่า
ในมะขามมีสารอาหารที่ให้ประโยชน์คือ
– คาร์โบไฮเดรท (น้ำตาล) ร้อยละ ๔๒
– วิตามินซี
– เกลือแร่ แคลเซี่ยม
– สารให้รสเปรี้ยว คือ กรดทาทาริค
ประโยชน์
– มะขาม เป็นพืชที่ให้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ได้แก่
– ใบอ่อน นำไปประกอบอาหารปรุงรสเปรี้ยว
-ใบแก่ เป็นสมุนไพรนำไปต้มน้ำอาบทำให้ผิวหนังสะอาดสดชื่น
– ลำต้น กิ่ง นำไปทำเขียง เผาถ่าน
– ดอก นำไปประกอบอาหาร
– เนื้อ เป็นอาหาร, เครื่องดื่ม,ขัดผิวกาย,ขัดโลหะ
-เมล็ด บดเป็นแป้งนำไปประกอบอาหารได้
– รกหุ้มเนื้อมะขาม นำไปขัดโลหะให้เป็นเงางาม
– เนื้อมะขามเปรี้ยว นำไปปรุงรสอาหารได้รสเปรี้ยว