“สารโพแทสเซียมคลอเรต”เก็บอย่างไรให้ปลอดภัย

เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ข่าวที่ถือว่าสร้างความตื่นตระหนกให้กับชาวสวนลำไยและเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันในวงการเกษตรอย่างกว้างขวางคือเหตุการณ์ “สารโพแทสเซียมคลอเรต” ระเบิดที่จังหวัดเชียงใหม่ เหตุการณ์ครั้งนั้นสร้างความเสียหายให้กับทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนบ้านเรือนได้รับความเสียหายหลายร้อยหลังคาเรือน รวมทั้งประชาชนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

เวลาผ่านไป 20 ปี เหตุการณ์ดังกล่าวได้เกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อ 20 มีนาคม 62 ที่บ้านหลังหนึ่งในหมู่บ้านโรงวัว หมู่ 5 ตำบลแม่สอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ แรงระเบิดทำให้บ้านเสียหายทั้งหลัง และมีผู้บาดเจ็บ

278858074 321489936796894 8801191353349611431 n
สารโพแทสเซียมคลอเรต

“สารโพแทสเซียมคลอเรต”เป็นสารที่เกษตรกรนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในการผลิตลำไยทั้งในและนอกฤดู เนื่องจากมีคุณสมบัติสามารถชักนำให้ลำไยออกดอกและติดผลได้โดยไม่ต้องพึ่งอากาศหนาวเย็น ทำให้การผลิตลำไยนอกฤดูประสบความสำเร็จ

มีการส่งออกลำไยนอกฤดูปีละประมาณ 1.5–2 แสนตันหรือประมาณ 20–30 เปอร์เซ็นต์ ของผลผลิตลำไยทั้งหมด หรือแม้แต่การผลิตลำไยในฤดูเกษตรกรก็นิยมใช้ “สารโพแทสเซียมคลอเรต”

“สารโพแทสเซียมคลอเรต” เป็นสารไม่ไวไฟแต่ช่วยให้ไฟติด เป็นสารเติมออกซิเจน (Oxidizing agent) สามารถทำปฏิกิริยารุนแรงกับสารรับรองออกซิเจน(Reducing agent)และสารอินทรีย์ทุกชนิด

“สารโพแทสเซียมคลอเรต”สามารถเกิดระเบิดได้เองเมื่ออุณหภูมิสูงกว่าจุดเดือด รวมทั้งเป็นสารที่มีพิษต่อสิ่งมีชีวิต

278939044 321490023463552 4219904718429784799 n
ใช้กระตุ้นการออกดอกของลำไย

ประโยชน์ของ “โพแทสเซียมคลอเรต”

สารนี้เป็นสารที่มีลักษณะเป็นผลึกใสหรือผงสีขาว ไม่มีกลิ่น เป็นตัวออกซิไดซ์ที่รุนแรง สำหรับการใช้ประโยชน์จากสารนี้มีหลายประเภท ได้แก่ ใช้กระตุ้นการออกดอกของลำไย เป็นวัตถุดิบในการทำหัวไม้ขีดไฟ พลุดินปืน วัตถุระเบิด และใช้ในการพิมพ์ และย้อมผ้า

“สารโพแทสเซียมคลอเรต” อยู่ภายใต้การควบคุมของกองควบคุมยุทธภัณฑ์ กรมการอุตสาหกรรมทหาร กระทรวงกลาโหม ตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ.2530 ซึ่งการมีไว้ในครอบครองผู้ผลิตหรือนำเข้าต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงกลาโหม

สำหรับ “สารโพแทสเซียมคลอเรต “ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมวิชาการเกษตร ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ.2550 นั้น ต้องเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่มีเนื้อ“สารโพแทสเซียมคลอเรต”ไม่เกิน 15 เปอร์เซ็นต์และต้องผสมสารหน่วงปฏิกิริยาโดยต้องระบุชนิดและปริมาณของสารหน่วงปฏิกิริยาซึ่งเป็นไปตามการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายซึ่งกรมวิชาการเกษตรเป็นผู้รับผิดชอบและควบคุมให้เป็นไปตามเงื่อนไขพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535

โดยที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันยังไม่มีผู้ประกอบการรายใดมาขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายในการผลิต“สารโพแทสเซียมคลอเรต”ที่มีสารออกฤทธิ์ไม่เกิน 15 เปอร์เซ็นต์

สำหรับการนำ “สารโพแทสเซียมคลอเรต”ที่มีสารออกฤทธิ์เกิน 90 เปอร์เซ็นต์ไปใช้ในการเกษตรโดยไม่ให้เกิดการระเบิดหรือเกิดอันตรายนั้น เกษตรกรต้องใช้สารอย่างระมัด ระวังและใช้ให้ถูกวิธีตามคำแนะนำ

  1. ซื้อสาร “โพแทสเซียมคลอเรต” มาให้พอดีกับที่ต้องการใช้เท่านั้น
  2. ต้องเก็บสารไว้ในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด ห่างจากอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยยูเรีย หรือถ่าน
  3. สถานที่เก็บต้องเย็นและแห้ง มีอากาศถ่ายเทดี และมีพื้นที่ว่างเหลือโดยรอบ
  4. ไม่ควรนำ “โพแทสเซียมคลอเรต”ไปผสมกับสารอื่น เช่น กำมะถันผง ผงถ่าน ขี้เลื่อย ปุ๋ยยูเรีย และสารฆ่าแมลง
  5. ห้ามตำสารหรือกระแทก หรือทำให้เกิดประกายไฟ และระหว่างเตรียมการใช้สารห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่นั้นโดยเด็ดขาด
  6. รอบสถานที่เก็บบนพื้นดินต้องปราศจากวัชพืช วัสดุที่ติดไฟได้ในระยะ 50 ฟุต
    การเก็บรักษาของร้านค้าที่มีการจำหน่ายสารโพแทสเซียมคลอเรต”
    1.ต้องจัดวางสารฯให้ห่างจากปุ๋ยเคมี และวัตถุอันตรายทางการเกษตรที่อาจเป็นวัตถุไวไฟและเกิดการระเบิดได้
    2.ภาชนะบรรจุสารฯต้องมีฝาปิดมิดชิด
    3.เก็บไว้ในอาคารที่มีการถ่ายเทอากาศที่ดีและต้องมีพื้นที่ว่างเหลือไว้
  7. สถานที่เก็บห้ามสูบบุหรี่
    -ให้ระมัดระวังการหยิบยกขนย้าย หรือการขนส่ง ให้หลีกเลี่ยงการหยิบ,จับ,โยน อันก่อให้เกิดแรงกระแทก เสียดสี
    – ห้ามนำไฟ หรือห้ามสูบบุหรี่หรือนำอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดประกายไฟ หรือเศษผ้าเปื้อนน้ำมันเข้าไปในสถานที่เก็บรักษา
  8. มีแผนการดับเพลิง ต้องมีเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์ดับเพลิงไว้ให้พร้อมใช้งาน ควรมีระบบป้องกันฟ้าผ่า
  9. รอบสถานที่เก็บบนพื้นดินต้องปราศวัชพืช วัสดุที่ติดไฟได้ในระยะ 50 ฟุต