1.หลักการและเหตุผล
สถาบันพระปกเกล้า เป็นสถาบันวิชาการชั้นนำด้านการพัฒนาประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล และสันติวิธี มุ่งนำความรู้สู่สังคม เพื่อประโยชน์ส่วนรวม และมีพันธกิจสำคัญในการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ สนับสนุนความรู้ความเข้าใจและการใช้สิทธิหน้าที่ของพลเมืองตามรัฐธรรมนูญ ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาประชาชนให้มีจิตสำนึกความเป็นพลเมือง รู้สิทธิหน้าที่และรับผิดชอบต่อบ้านเมือง ซึ่งบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ปี 2560 หมวดที่ 4 มาตรา 50 ระบุว่า ให้ปวงชนชาวไทยมีหน้าที่ในการพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รักษาผลประโยชน์ของชาติและสาธารณะสมบัติ เคารพและไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น รวมทั้งกำหนดหน้าที่อื่น ๆ ไว้รวม 10 ประการ
สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า ได้ขับเคลื่อนพันธกิจส่งเสริมความเป็นพลเมืองดังกล่าว โดยการอบรมให้ความรู้ส่งเสริมให้เกิดทักษะ บ่มเพาะทัศนคติและส่งเสริมให้ยึดมั่นในคุณค่าประชาธิปไตยให้กับประชาชนทุกช่วงวัย โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนในปัจจุบันที่เติบโตดำเนินชีวิตและเรียนรู้ อยู่ท่ามกลางพลวัตรทางสังคม การเมือง วัฒนธรรม และเทคโนโลยีซึ่งนับเป็นทั้งวิกฤตและโอกาสของงานส่งเสริมความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของสำนักที่ต้องทันการณ์ต่อการเปลี่ยนแปลง ต้องมุ่งส่งเสริมให้เยาวชนเป็นพลเมืองที่ยึดมั่นในความเป็นตัวตนและชุมชน และสามารถเติบโตอย่างเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อความเป็นประชาธิปไตยของชาติมีความตระหนักรู้ในการเป็นพลเมืองที่มีจิตสำนึกส่วนรวม เป็นกำลังสำคัญของประเทศ และเข้าใจความเป็นมาของสังคมวัฒนธรรมและรากเหง้าวิถีชีวิต
สถาบันพระปกเกล้า เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาเยาวชนดังกล่าว จึงพัฒนาโครงการผู้นำเยาวชนพลเมืองดีขึ้น เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการผ่านการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมส่งเสริมให้เยาวชนนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ในการศึกษาชุมชน พื้นที่ สามารถจัดทำโครงการส่งเสริมความเป็นพลเมือง และส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายเยาวชนที่มีความเข้าใจต่อสถาบัน ชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์อย่างถูกต้องอันจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเยาวชนในพื้นที่ต่าง ๆ ได้มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป
2.วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประวัติศาสตร์ และ วัฒนธรรม อันเป็นรากฐานการพัฒนาทางการเมืองการปกครองของไทย
2.2 เพื่อให้เยาวชนมีทักษะในการพัฒนาความเป็นผู้นำสู่การพัฒนาท้องถิ่นของตนอย่างมีพื้นฐานความรู้ความเข้าใจทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ยึดมั่นหลักปฏิบัติอย่างมีธรรมาภิบาลและจริยธรรม และเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมทั้งระดับประเทศและระดับโลก
2.3 เพื่อให้เยาวชนได้สานเครือข่ายผู้นำรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพและมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสามารถสร้างผลผลิต กิจกรรม และโครงการเพื่อพัฒนากลไกทางสังคม และมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมอันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน
3.รูปแบบการจัดการศึกษาอบรม
รูปแบบการเรียนการสอนในโครงการ ประกอบด้วย การบรรยาย การบรรยายอย่างมีส่วนร่วม การอภิปราย การศึกษาดูงานนอกสถานที่ (field trip) การพัฒนาและนำเสนอโครงการส่งเสริมความเป็นพลเมือง และการฝึกภาคปฏิบัติ
4.โครงสร้างหลักสูตร
โครงการนี้ใช้เวลาในการศึกษาอบรม ดังนี้
4.1 การเรียนการสอนในห้องอบรม จำนวน 10 ชั่วโมง แบ่งเป็น
4.1.1 วิชาที่ 1 พลเมืองดี วิถีประชาธิปไตย (1 ชั่วโมง)
4.1.2 วิชาที่ 2 ประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (3 ชั่วโมง)
4.1.3 วิชาที่ 3 ดิจิทัลกับการพัฒนาสังคมและมรดกทางวัฒนธรรม (3 ชั่วโมง)
4.1.4 วิชาที่ 4 วัฒนธรรมและเส้นทางวัฒนธรรม (1.5 ชั่วโมง)
4.1.5 วิชาที่ 4 การพัฒนาโครงการและขยายผลความเป็นพลเมือง (1.5 ชั่วโมง)
4.2 การเสริมสร้างกระบวนทัศน์เยาวชนแกนนำจำนวน 15.5 ชั่วโมง แบ่งเป็น
4.2.1 การศึกษาดูงานนอกสถานที่ (field trip) (6 ชั่วโมง)
4.2.2 การจัดทำโครงการและการสานเครือข่ายผู้น าเยาวชนพลเมือง (8 ชั่วโมง)
4.2.3 การถอดบทเรียนจากใบงานและการศึกษาดูงาน (1.5 ชั่วโมง)
4.3 การเสริมสร้างประสบการณ์เยาวชนพลเมืองแกนน าเชิงประจักษ์
4.3.1 การดำเนินโครงการในพื้นที่ชุมชน
โดยมีวัตถุประสงค์ ขอบเขตเนื้อหาของรายวิชาดังนี้
วิชาที่ 1 พลเมืองดี วิถีประชาธิปไตย (1 ชั่วโมง)
เพื่อเรียนรู้ความหมาย ประเภท และคุณลักษณะของความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยตระหนักถึงประโยชน์ส่วนรวม ยึดคุณค่าประชาธิปไตยและหลักธรรมาภิบาลเป็นแนวทางในการทำงานและการดำรงตน
วิชาที่ 2 ประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (3 ชั่วโมง)
เพื่อให้เข้าใจความสำคัญของประวัติศาสตร์องค์ประกอบสำคัญของรูปแบบการปกครองความเป็นมาและบทบาทของพระมหากษัตริย์ที่มีต่อการพัฒนาการเมืองการปกครองและสังคมของไทย
วิชาที่ 3 ดิจิทัลกับการพัฒนาสังคมและมรดกทางวัฒนธรรม (3 ชั่วโมง)
เพื่อให้รู้และเท่าทันการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี รู้ประโยชน์และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการอนุรักษ์ ต่อยอด ส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรม และการพัฒนาสังคมอย่างมีระบบและสร้างสรรค์
วิชาที่ 4 วัฒนธรรมและเส้นทางวัฒนธรรม (1.5 ชั่วโมง)
เพื่อให้รู้ความหมายและประเภทของวัฒนธรรม เรียนรู้ประวัติศาสตร์และที่มาของเส้นทางวัฒนธรรมไทย สามารถระบุวัฒนธรรมในชุมชนของตน และแยกแยะความแตกต่างทางวัฒนธรรมในพื้นที่ชุมชนและภูมิภาคต่าง ๆ
วิชาที่ 5 การพัฒนาโครงการและขยายผลความเป็นพลเมือง (1.5 ชั่วโมง)
เพื่อให้รู้องค์ประกอบ ขั้นตอน วิธีการ การจัดทำโครงการและแนวทางการวางแผนงานเพื่อขยายผลองค์ความรู้ด้านการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประวัติศาสตร์ การอนุรักษ์ต่อยอดมรดกทางวัฒนธรรม และความเป็นพลเมืองสู่พื้นที่ชุมชน
การศึกษาดูงานนอกสถานที่ (field trip) (6 ชั่วโมง)
เพื่อเรียนรู้ศึกษาข้อมูลประวัติศาสตร์ของพื้นที่ ความสัมพันธ์ของพัฒนาการทางการเมือง กับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ในพื้นที่ ที่มาและพัฒนาการของวัฒนธรรม หรือ ศิลปะในพื้นที่กับวิถีชีวิตปัจจุบัน รวมทั้งเพื่อศึกษาและค้นหาข้อมูลการพัฒนาพื้นที่จากชุมชน
การจัดทำโครงการและการสานเครือข่ายผู้นำเยาวชนพลเมือง (8 ชั่วโมง)
เพื่อเพิ่มทักษะกระบวนการในการจัดทำโครงการส่งเสริมความเป็นพลเมืองและเพื่อสาธารณะประโยชน์ที่เกิดจากความต้องการที่แท้จริงของชุมชน โดยมีการวิเคราะห์โครงการกำหนดงบประมาณตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งสามารถสานเครือข่ายผู้นำเยาวชนพลเมืองเพื่อเสริมพลังในการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
การถอดบทเรียนจากใบงานและการศึกษาดูงาน (1.5 ชั่วโมง)
เพื่อเพิ่มทักษะการสังเกต การจดบันทึก การเก็บประเด็นสำคัญและสรุปความ การสะท้อนบทเรียนและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการศึกษาดูงาน การดำเนินโครงการในพื้นที่เป้าหมายเพื่อเยาวชนพลเมือง แกนนำสามารถนำแนวคิด โครงการ และแผนงานสู่การปฏิบัติได้จริงสามารถติดตามผลรายงานผลและนำเสนอผลการทำงานเชิงประจักษ์ได้อย่างเป็นระบบและเพื่อได้เรียนรู้และตระหนักถึงความร่วมมือของภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานพัฒนาด้านต่าง ๆ รายละเอียด ดังนี้
คุณลักษณะของโครงการขยายผลหลังผ่านการฝึกอบรม
1.เป็นโครงการนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการไปต่อยอดขยายผล โดยมีผู้เกี่ยวข้อง ดังนี้
1.1 งานกิจการนักเรียน เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ
1.2 หัวหน้างานกิจการนักเรียนหรือผู้แทน เป็นที่ปรึกษาโครงการ
1.3 ทีมคณะกรรมการนักเรียน (ผู้นำเยาวชน) เป็นผู้ดำเนินโครงการ
1.4 ผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นผู้ลงนามเสนอโครงการ
2.เป็นโครงการที่สามารถดำเนินการสำเร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด
3.เป็นโครงการที่มุ่งเสริมสร้างภาคีความร่วมมือระหว่างนักเรียนและภาคส่วนต่าง ๆ โดยที่ทีมผู้นำเยาวชนจะต้องดำเนินโครงการร่วมกับโรงเรียนและ/หรือภาคส่วนอื่น ๆ ในพื้นที่
4.เป็นโครงการที่ส่งเสริมความเป็นพลเมืองด้วยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และเกิดความยั่งยืน
5.เป็นโครงการที่สะท้อนถึงการมีจิตสาธารณะของผู้นำเยาวชนที่มีต่อพื้นที่ชุมชน
ประเภทโครงการที่เกี่ยวข้อง
1.การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2.การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของท้องถิ่น
3.การอนุรักษ์ต่อยอดมรดกทางวัฒนธรรม
4.การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.อื่น ๆ
รูปแบบการสนับสนุน
โรงเรียนที่ส่งผู้นำเยาวชนเข้าร่วมโครงการและสามารถจัดทำโครงการให้เสร็จภายในระยะเวลาที่สถาบันพระปกเกล้ากำหนดจะได้รับการสนับสนุนงบประมาณสูงสุดไม่เกินโรงเรียนละ 8,000 บาท ทั้งนี้สถาบันฯ จะพิจารณาการให้ทุนฯ ตามระเบียบและหลักเกณฑ์ของสถาบันฯ
5.กลุ่มเป้าหมาย
5.1 คุณสมบัติของผู้นำเยาวชนผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมและดำเนินโครงการส่งเสริมความเป็นพลเมือง
5.1.1 กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6
5.1.2 เป็นประธานนักเรียนและกรรมการนักเรียน
5.2 จำนวนเยาวชนผู้เข้าร่วมฝึกอบรมรวม 60 คน จาก 10 โรงเรียน ๆ ละ 6 คน ประกอบด้วย
5.2.1 ประธานนักเรียน 1 คน
5.2.2 กรรมการนักเรียน 5 คน
หมายเหตุ ผู้อำนวยการโรงเรียนโปรดอนุมัติครูที่ปรึกษาโครงการ ร่วมสังเกตการณ์ตลอดระยะเวลาการฝึกอบรม ณ สถานที่ฝึกอบรม (โรงเรียนละ 1 คน)
6.ระยะเวลาดำเนินโครงการ
6 .1 จัดฝึกอบรมระยะเวลา ระหว่างวันที่ 10 – 12 มกราคม 2567 พักค้าง ณ โรงแรมสยาม ไทรแองเกิ้ล อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ได้ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2567 หลังเที่ยง รวมจำนวน 2 คืน โทรศัพท์โรงแรมฯ (053) 65111-17
6.2 ผู้ผ่านการอบรมดำเนินโครงการขยายผล ตามแผนที่กำหนดไว้ และภายในระยะเวลาที่สถาบันพระปกเกล้ากำหนด
7.เงื่อนไขการสำเร็จการศึกษาอบรม
7.1 มีเวลาเข้าเรียนและเข้าร่วมกิจกรรมตลอดโครงการ
7.2 จัดทำและนำเสนอโครงการเพื่อพัฒนาและขยายผลความเป็นพลเมืองในพื้นที่ชุมชน
8.ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมการฝึกอบรม
สถาบันพระปกเกล้า รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมการฝึกอบรม ได้แก่ ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าเอกสารประกอบการฝึกอบรมและค่าเดินทาง
9.ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
วันที่ 10 – 12 ม.ค. 67 – ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงาน (จัดกิจกรรม onsite)
-ผู้นำเยาวชนเสนอโครงการและแผนการขยายผลความเป็นพลเมือง
วันที่ 13 – 25 ม.ค. 67 ทีมผู้นำเยาวชนปรับแก้ไขข้อเสนอโครงการ (ฉบับสมบูรณ์) ตามความเห็นของสถาบันและจัดส่งข้อเสนอโครงการให้กับสถาบันฯ เพื่อใช้ในการขออนุมัติงบประมาณสนับสนุน (สูงสุดไม่เกิน 8,000 บาท/โครงการ/โรงเรียน)
วันที่ 26 ม.ค. – 5 ก.พ. 67 สถาบันฯ ดำเนินการขออนุมัติโครงการและงบประมาณในการดำเนินงานให้แก่ผู้นำเยาวชนและส่งมอบงบประมาณดำเนินการ
วันที่ 6 ก.พ. – 6 มี.ค. 67 ผู้นำเยาวชนดำเนินโครงการ
วันที่ 29 มี.ค. 67 โรงเรียนส่งหลักฐานทางการเงิน และรายงานผลการดำเนินโครงการฉบับสมบูรณ์
10.ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ
1.เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข วิถีชุมชน ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
2.เยาวชนมีทักษะในการพัฒนาความเป็นผู้นำสู่การพัฒนาชุมชนท้องถิ่น
3.เกิดเครือข่ายผู้นำเยาวชนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพและมีความรับผิดชอบต่อสังคม
4.โครงการเพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองและวิถีชุมชน และแผนดำเนินการขยายผลในพื้นที่
5.เยาวชนและประชาชนในพื้นที่ได้รับความรู้ และเป็นแนวร่วมขับเคลื่อนพัฒนาชุมชนจากการขยายผลโครงการของเยาวชนแกนนำผู้ผ่านการฝึกอบรม
11.ผู้รับผิดชอบโครงการ
สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า
นางสาวรุ่งนภา รุ่งรอด (โทร. 08 0599 6563)
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ อาคาร B ชั้น 5 (โซนทิศใต้)
เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทร. 02 141- 9524 – 30